พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ชายหญิงสมรสกันโดยไม่สนใจเรื่องจดทะเบียนสมรสชายจะฟ้องเรียกสินสอดของหมั้นคืนไม่ได้ เพราะฝ่ายชายสืบไม่สมฟ้องว่า หญิงผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย (ฎีกาที่ 659/2487) และจะเรียกค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(2)ก็ไม่ได้ เพราะหญิงมิได้กระทำผิดสัญญาหมั้น
ส่วนเงินกองทุนที่ชายเอามากองทุนในการแต่งงานนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินของชาย เมื่อไม่มีข้อสัญญาผูกพันให้หญิงยึดเอาไว้ได้ ชายก็มีสิทธิเรียกคืนได้
ส่วนเงินกองทุนที่ชายเอามากองทุนในการแต่งงานนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินของชาย เมื่อไม่มีข้อสัญญาผูกพันให้หญิงยึดเอาไว้ได้ ชายก็มีสิทธิเรียกคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายหมั้นและการพิสูจน์สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาหมั้นที่ไม่เป็นไปตามสัญญา
ค่าหมากพลูและค่าขนมวันหมั้น, ค่ารถไปหมั้นและค่าเลี้ยงแขกวันไปหมั้น ไม่เข้าอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดของ ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1439,
ฟ้องข้อใดที่จำเลยให้การปฏิเสธ และโจทก์ไม่นำสืบจะบังคับไม่ได้ ให้ยกฟ้อง
ฟ้องข้อใดที่จำเลยให้การปฏิเสธ และโจทก์ไม่นำสืบจะบังคับไม่ได้ ให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายหมั้นและการพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีผิดสัญญาหมั้น
ค่าหมากพลูและค่าขนมวันหมั้น ค่ารถไปหมั้นและค่าเลี้ยงแขกวันไปหมั้น ไม่เข้าอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439
ฟ้องข้อใดที่จำเลยให้การปฏิเสธ และโจทก์ไม่นำสืบ จะบังคับให้ไม่ได้ให้ยกฟ้อง
ฟ้องข้อใดที่จำเลยให้การปฏิเสธ และโจทก์ไม่นำสืบ จะบังคับให้ไม่ได้ให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้/หมั้นที่ยังไม่สมบูรณ์: ข้อกำหนดเรื่องการสมรสตามกฎหมายและการไม่เป็นไปตามเจตนาเดิม
พ่อแม่ฝ่ายชายทำสัญญายกที่นา 10 ไร่โดยแบ่งออกจากนาแปลงใหญ่ + ให้เป็นของหมั้นแก่หญิงต่อมาหญิงชายได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันที่บ้านชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้นตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1436 หญิงจะฟ้องเรียกนา 10 ไร่นี้ในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นสัญญาให้ที่มีการตอบแทน จุดประสงค์ของผู้ให้เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้สรอยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ เมื่อหญิงกับชายไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตาม ก.ม.แล้วและบัดนี้ยังแยกไม่ได้อยู่กินด้วยกันอีก ก็นับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่หญิงจะเรียกร้องเอานานี้ได้ส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนสินสอด ไม่ใช่ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1444
การฟ้องเรียกเงินสินสอดคืน ไม่ใช่เป็นการเรียกค่าทดแทนตามความหมายแห่ง ป.พ.พ มาตรา 1444 เพราะฉะนั้นจะยกอายุความ 6 เดือนตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ชายคู่หมั้น การหมั้นสมบูรณ์เมื่อสมรสแล้ว
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชายเฉยๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นต้องมีการมอบเพื่อให้เกิดสัญญาหมั้น หากชายตายก่อนสมรส หญิงได้แต่เก็บของหมั้นที่มอบไว้แล้ว
การที่จะเกิดเป็นสัญญาหมั้นได้นั้น จำต้องมีของหมั้นเป็นหลักฐาน.
(อ้างฎีกา 676/2487)
ของหมั้นนั้น ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 วรรคแรก จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่า จะสมรสกับหญิงนั้น จึงจำต้องมีการมอบกัน.
ฝ่ายหญิงได้ตกลงเรียกทองหมั้นหนัก 12 บาท ฝ่ายชายได้มอบทองหนัก 6 บาทไว้ก่อน ส่วนอีก 6 บาทได้มอบโฉนดซึ่งมีเนื้อที่ 108 ไร่ ให้ยึดไว้แทน โดยตีราคาเนื้อที่นาในโฉนดนี้เพียง 50 ไร่ เท่ากับทอง 6 บาท เมื่อชายตายโดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงก็ได้แต่เก็บเอาทองหมั้น 6 บาทที่ได้มอบไว้แล้วนั้น (มาตรา 1440) ส่วนทองอีก 6 บาทที่ยังไม่ได้มอบหาใช่ของหมั้นไม่ หญิงจึงจะเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ที่หญิง จะเรียกเอาก็ไม่ได้เพราะสัญญาหมั้นเลิกกันเพราะความตายของชายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใด ให้หญิงเรียกได้ เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่หญิงจะเรียกร้องต่อไป โฉนดที่ฝ่ายชายวางไว้เป็นประกัน จึงไม่มีหนี้จะประกัน หญิงก็ยึดโฉนดไว้ไม่ได้.
(อ้างฎีกา 676/2487)
ของหมั้นนั้น ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 วรรคแรก จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่า จะสมรสกับหญิงนั้น จึงจำต้องมีการมอบกัน.
ฝ่ายหญิงได้ตกลงเรียกทองหมั้นหนัก 12 บาท ฝ่ายชายได้มอบทองหนัก 6 บาทไว้ก่อน ส่วนอีก 6 บาทได้มอบโฉนดซึ่งมีเนื้อที่ 108 ไร่ ให้ยึดไว้แทน โดยตีราคาเนื้อที่นาในโฉนดนี้เพียง 50 ไร่ เท่ากับทอง 6 บาท เมื่อชายตายโดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงก็ได้แต่เก็บเอาทองหมั้น 6 บาทที่ได้มอบไว้แล้วนั้น (มาตรา 1440) ส่วนทองอีก 6 บาทที่ยังไม่ได้มอบหาใช่ของหมั้นไม่ หญิงจึงจะเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ที่หญิง จะเรียกเอาก็ไม่ได้เพราะสัญญาหมั้นเลิกกันเพราะความตายของชายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใด ให้หญิงเรียกได้ เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่หญิงจะเรียกร้องต่อไป โฉนดที่ฝ่ายชายวางไว้เป็นประกัน จึงไม่มีหนี้จะประกัน หญิงก็ยึดโฉนดไว้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่มอบให้แล้ว สัญญาหมั้นเลิกด้วยความตาย ไม่เกิดสิทธิเรียกร้อง
การที่จะเกิดเป็นสัญญาหมั้นได้นั้น จำต้องมีของหมั้นเป็นหลักฐาน(อ้างฎีกา 676/2487)
ของหมั้นนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436วรรคแรกจะต้องเป็นทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่า จะสมรสกับหญิงนั้น จึงจำต้องมีการมอบกัน
ฝ่ายหญิงได้ตกลงเรียกทองหมั้นหนัก 12 บาท ฝ่ายชายได้มอบทองหนัก 6 บาทไว้ก่อน ส่วนอีก 6 บาทได้มอบโฉนดซึ่งมีเนื้อที่ 108 ไร่ ให้ยึดไว้แทน โดยตีราคาเนื้อที่นาในโฉนดนี้เพียง 50 ไร่ เท่ากับทอง 6 บาทเมื่อชายตายโดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงก็ได้แต่เก็บเอาทองหมั้น 6 บาทที่ได้มอบไว้แล้วนั้น (มาตรา 1440)ส่วนทองอีก 6 บาทที่ยังไม่ได้มอบหาใช่ของหมั้นไม่หญิงจึงจะเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ที่หญิงจะเรียกเอาก็ไม่ได้เพราะสัญญาหมั้นเลิกกันเพราะความตายของชายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใด ให้หญิงเรียกได้ เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่หญิงจะเรียกร้องต่อไปโฉนดที่ฝ่ายชายวางไว้เป็นประกัน จึงไม่มีหนี้จะประกัน หญิงก็ยึดโฉนดไว้ไม่ได้
ของหมั้นนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436วรรคแรกจะต้องเป็นทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่า จะสมรสกับหญิงนั้น จึงจำต้องมีการมอบกัน
ฝ่ายหญิงได้ตกลงเรียกทองหมั้นหนัก 12 บาท ฝ่ายชายได้มอบทองหนัก 6 บาทไว้ก่อน ส่วนอีก 6 บาทได้มอบโฉนดซึ่งมีเนื้อที่ 108 ไร่ ให้ยึดไว้แทน โดยตีราคาเนื้อที่นาในโฉนดนี้เพียง 50 ไร่ เท่ากับทอง 6 บาทเมื่อชายตายโดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงก็ได้แต่เก็บเอาทองหมั้น 6 บาทที่ได้มอบไว้แล้วนั้น (มาตรา 1440)ส่วนทองอีก 6 บาทที่ยังไม่ได้มอบหาใช่ของหมั้นไม่หญิงจึงจะเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ที่หญิงจะเรียกเอาก็ไม่ได้เพราะสัญญาหมั้นเลิกกันเพราะความตายของชายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใด ให้หญิงเรียกได้ เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่หญิงจะเรียกร้องต่อไปโฉนดที่ฝ่ายชายวางไว้เป็นประกัน จึงไม่มีหนี้จะประกัน หญิงก็ยึดโฉนดไว้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นต้องมีของหมั้น จึงจะเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาได้
เพียงแต่สัญญาจะทำการสมรส แต่ไม่มีของหมั้นจะฟ้องเรียกค่าทดแทนถานผิดสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นและการผิดสัญญาเรือนหอ: สิทธิในการเรียกร้องทองหมั้นและการคืนค่าใช้จ่าย
ฝ่ายหญิงรับทองหมั้นของชายไว้แล้วไม่แต่งงานจะยึดทองหมั้นของเขาไว้ไม่ได้ เมื่อจคืนทองหมั้นไม่ได้ต้องคืนเงิน แต่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ลักษณพะยาน กะประเด็นข้อแพ้ชนะให้ศาลสืบ