พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร, การนำสืบหลักฐาน, สัญญาเงินกู้, ความรับผิดของผู้กู้ร่วม, การฟังข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้รวม 3 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 50,000 บาท40,000 บาท และ 110,000 บาท ตามลำดับ รวมแล้วเป็นเงินต้น200,000 บาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพียง 100,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ครบตามสัญญาเพราะโจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า 6,000 บาทเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่าได้รับเงินจริงจากโจทก์เพียง 94,000 บาทจึงนำสืบไม่ได้ คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้และจำนอง: ข้อตกลงดอกเบี้ยเป็นสาระสำคัญ ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงตามสัญญา
สัญญากู้เงินเป็นหนี้ประธาน ส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เพียงใด ต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ 12.75ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ
แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงิน ถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยได้
เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ 12.75ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ
แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงิน ถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาและมีเหตุผลรองรับ
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 2,000,000 บาท บอกกล่าวแก่จำเลยหรือไม่ก็ตาม และจะชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 180 เดือนนับตั้งแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 27,000 บาท ทั้งจะเริ่มผ่อนชำระตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535และทุก ๆ วันสิ้นเดือนของเดือนต่อ ๆ ไปไม่ให้ขาดระยะจนกว่าจะชำระเสร็จหากผิดนัดชำระต้นเงินคืนและหรือดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามกำหนดดังกล่าวไม่ว่าเดือนหนึ่งเดือนใดยอมให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้เดือนละ 27,000 บาท ให้แก่โจทก์ ตามกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยย่อมได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตามข้อตกลงในสัญญากู้เงิน
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลแก้เป็นคิดดอกเบี้ย 19% ต่อปี
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เพราะมิได้นำสืบไว้ โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.4 เป็นเบี้ยปรับหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฎว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้และจำนอง: กลฉ้อฉล, ความรับผิด, และอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และการฉ้อฉล หากศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาสั่งให้สืบพยานเพิ่มเติมและพิพากษาใหม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นฉ้อฉล สัญญาเงินกู้ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้สืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การผิดนัดชำระหนี้รายเดือนไม่ตัดสิทธิผู้ให้กู้ในการเรียกร้องหนี้ทั้งหมดก่อนกำหนด
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนแต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่าไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมดยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์ จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลง ต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่าย ผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกิน 15%, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 21ต่อปี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อสัญญากู้เงินได้มีการตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 และยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 1 ปีทบเข้ากับต้นเงินและให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงในสัญญากู้เงินต่อไปด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและคิดดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 1 ปี ทบต้นได้ต่อไปจนกว่าจะชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้นการที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นดอกเบี้ยที่ทบนั้นจึงกลายเป็นเงินต้นไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเงินกู้: สำเนาถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีอากรแสตมป์
สำเนาสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาลเพื่อให้จำเลยรับไปจากเจ้าพนักงานศาลมีข้อความอย่างเดียวกับต้นฉบับกู้เงินเอกสารหมาย จ.2 และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง จึงเป็นสำเนาเอกสารที่โจทก์ยื่นโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่งที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้สำเนาสัญญากู้เงินจะไม่มีสำเนาอากรแสตมป์ติดอยู่ก็ไม่ทำให้เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ส่งสำเนาสัญญากู้เงินโดยชอบแล้วศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.2 เป็นพยานหลักฐานได้