พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: การมีอยู่ของความสัมพันธ์โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นสำคัญ
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรสซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้จะระบุว่าจำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระหนี้จำนวน800,000บาทพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่ศ. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยคงมีจำเลยที่1เพียงผู้เดียวที่ลงชื่อไว้ในฐานะลูกหนี้อีกทั้งในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่1ก่อหนี้ขึ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้จำเลยที่2มิได้มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1แต่อย่างใดหนี้ที่จำเลยที่1ก่อขึ้นตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา แม้จะเคยถอนฟ้องไปก่อนแล้ว
การที่โจทก์ยอมถอนฟ้องในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ไว้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขยังอยู่กินฉันสามีภริยากับหญิงอื่นจนกระทั่งปัจจุบันจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยตลอดไปการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อน: การสมรสที่สองเป็นโมฆะเมื่อภริยาคนแรกยังคงเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2464ก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตาย เมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อน: การสมรสที่สองเป็นโมฆะเมื่อภริยาเดิมยังอยู่กินฉันสามีภริยาและไม่ถือว่าสิ้นสุด
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกันทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น3ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมืองเมียกลางนอกหรืออนุภรรยาและเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยาสำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึงหญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก2ประเภทก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยาแต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตามต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าบิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี2464ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง6คนและตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา5บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรสฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใดผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมาส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี2491ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน4คนแต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1452และมาตรา1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกันอยู่ของสามีภริยาและการขาดเจตนาที่จะอยู่ร่วมกัน
โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้อยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่ 611 แสดงว่าบ้านเลขที่ 611 ดังกล่าวเป็นบ้านที่โจทก์และจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยกินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยา ซึ่งต่อมาก็มีบุตรด้วยกัน 1 คนแม้ในระหว่างอยู่กินด้วยกันโจทก์ต้องเดินทางไปรับราชการในต่างจังหวัดและบางครั้งโจทก์และจำเลยได้ทะเลาะกันก็ตาม โจทก์ก็ต้องกลับมากินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยเช่นปกติที่สามีภริยาพึงต้องปฏิบัติต่อกัน แต่โจทก์กลับไปมีภริยาใหม่และไปอยู่กับภริยาใหม่ ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ การที่โจทก์ได้ส่งเงินให้บุตรและจำเลยไม่ได้ไปมาหาสู่ร่วมอยู่กินหลับนอนกับโจทก์ฉันสามีภริยามิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีที่สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัด: พฤติการณ์แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะอยู่กินเป็นสามีภริยา ทำให้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
พยานโจทก์และพยานจำเลยเบิกความยันกันแต่จากพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังประสงค์จะอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ส่วนโจทก์กลับไม่ประสงค์เช่นนั้นจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์อันจะเป็นการผิดสัญญาหมั้นดังฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาและบิดามารดา: ความสามารถและฐานะเป็นปัจจัยสำคัญ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง สามีและภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและตามฐานะของตน ก่อนจำเลยที่ 1 จะได้รับมรดกจากมารดา จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนเพียงเดือนละ1,800 บาท ต่อมาต้องคดีถูกออกจากราชการ ตามฐานะย่อมไม่อาจจะให้ความอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะตั้งบริษัทรักษาความปลอดภัยก็เป็นเงินทุนของจำเลยที่ 2 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับมรดกจากมารดา ฐานะของจำเลยที่ 1 ดีขึ้น สามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ได้ จึงต้องรับผิดให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์นับแต่ได้รับมรดกจนถึงวันฟ้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคแรก บัญญัติว่า บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์เห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้คำนึงถึงความสามารถและฐานะดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ฉะนั้นไม่ว่าจะตกอยู่ในฐานะอย่างไร บิดามารดาก็จำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมอ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคแรก บัญญัติว่า บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์เห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้คำนึงถึงความสามารถและฐานะดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ฉะนั้นไม่ว่าจะตกอยู่ในฐานะอย่างไร บิดามารดาก็จำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาและบุตร: พิจารณาตามความสามารถและฐานะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1461วรรคสองสามีและภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและตามฐานะของตนก่อนจำเลยที่1จะได้รับมรดกจากมารดาจำเลยที่1ได้รับเงินเดือนเพียงเดือนละ1,800บาทต่อมาต้องคดีถูกออกจากราชการตามฐานะย่อมไม่อาจจะให้ความอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ได้แม้จำเลยที่1จะตั้งบริษัทรักษาความปลอดภัยก็เป็นเงินทุนของจำเลยที่2แต่เมื่อจำเลยที่1ได้รับมรดกจากมารดาฐานะของจำเลยที่1ดีขึ้นสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ได้จึงต้องรับผิดให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์นับแต่ได้รับมรดกจนถึงวันฟ้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1564วรรคแรกบัญญัติว่าบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์เห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้คำนึงถึงความสามารถและฐานะดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาฉะนั้นไม่ว่าจะตกอยู่ในฐานะอย่างไรบิดามารดาก็จำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้และให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่สมรสก่อน พ.ร.บ. 2519 และการสืบสันดานรับมรดก
ห. กับ จ.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกันบุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้ ห. ถึงแก่ความตายในปี2532เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตามการแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายได้2ส่วนหญิงได้1ส่วนจะแบ่งคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7473/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปกครองดูแลบุตรเกิดจากสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน: สิทธิเกิดเฉพาะบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
โจทก์จำเลยซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ตกลงแยกกันอยู่และร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงผลัดกันดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์ซึ่งมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นบิดาของบุตรผู้เยาว์ ข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มี จึงไม่อาจทำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ได้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้