คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิทางศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ การพิสูจน์บุคคลเป็นคดีมีข้อพิพาท
บุคคลใดอ้างว่า จำต้องใช้สิทธิทางศาลและมาร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทนั้น จะต้องมีกฎหมายสนับสนุนให้ร้องขอต่อศาลได้ การที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับนายสมศักดิ์ สุตธรรมนั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ผู้ร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท หากมีผู้ใดโต้แย้งว่าผู้ร้องมิใช่บุคคลคนเดียวกับนายสมศักดิ์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทตามกฎหมายอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ การพิสูจน์ตัวตนเป็นบุคคลเดียวกันเป็นคดีมีข้อพิพาท
บุคคลใดอ้างว่าจำต้องใช้สิทธิทางศาลและมาร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทนั้น จะต้องมีกฎหมายสนับสนุนให้ร้องขอต่อศาลได้ การที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุคคลคนเดียว กันกับนายสมศักดิ์สุตธรรมนั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ ผู้ร้องร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้ร้องมิใช่บุคคลคนเดียวกับนายสมศักดิ์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิ ของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องเป็น คดีมีข้อพิพาท ตามกฎหมาย อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยจากการจดทะเบียนบุตรบุญธรรม: การใช้สิทธิทางศาลและการแสดงความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่
คนต่างด้าวจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของคนไทย หารือไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าตนได้สัญชาติไทยหรือไม่ เจ้าหน้าที่ปฏิเสธ เป็นแต่แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่โต้แย้งสิทธิ และ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ไม่มีบทบัญญัติให้ใช้สิทธิทางศาล ในกรณีเช่นนี้ คนต่างด้าวฟ้องขอให้แสดงว่าตนได้สัญชาติไทยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลฟ้องหย่าและการกล่าวถึงบุคคลอื่นในคำฟ้อง ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
จำเลยฟ้องขอหย่าขาดกับสามีโดยอ้างเหตุว่าสามีไปติดพันหญิงอื่นคือโจทก์และสามีได้ไปอยู่กินกับโจทก์อย่างเปิดเผย ดังนี้ เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งจำเลยมีความจำเป็นจะต้องกล่าวในฟ้องให้สามีจำเลยเข้าใจข้อหาโดยชัดเจน ถือได้ว่าเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลของคู่ความเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน จึงไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริต จึงถือไม่ได้ด้วยว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเขตที่ดิน: การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต ไม่เป็นการละเมิด
จำเลยฟ้องโจทก์เรื่องที่ดินรุกล้ำเขตกันตามที่เชื่อว่าเป็นแนวเขตของจำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง ไม่ปรากฏว่าจงใจกลั่นแกล้งฟ้องโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต ไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวอ้างชู้ในคดีหย่าและการยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อเป็นการใช้สิทธิทางศาล
จำเลยฟ้องขอหย่าขาดกับภรรยาโดยอ้างว่าภรรยาเป็นชู้กับโจทก์ถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิทางศาลและเป็นความจำเป็นต้องระบุชายชู้เพื่อให้ฟ้องชัดเจนไม่เคลือบคลุม อันเป็นการแสดงข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินไม่บริบูรณ์เมื่อไม่จดทะเบียน การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นต้องใช้สิทธิทางศาล
โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วทำทางเท้าและคันหินบนทางเท้าล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยจำเลยตกลงยินยอม ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดิน อันเป็นทรัพสิทธิ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ครั้นต่อมาจำเลยบอกกล่าวไม่ยินยอมให้มีทางเท้าและคันหินล้ำบนที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้แต่ทางเท้าและคันหินนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาล ไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
การใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องฝ่ายเดียว เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ทำเช่นนั้นได้ มิใช่ว่าจะยื่นคำร้องฝ่ายเดียวได้ทุกกรณีไป
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาผู้วายชนม์ตามกฎหมายโดยชอบแล้ว จึงไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ต้องมายื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของบิดาผู้วายชนม์อีก
กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 พ.ศ.2497 ข้อ 8(1) เป็นเรื่องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีโฉนดแล้วโดยการครอบครองด้วยอำนาจปรปักษ์ หาได้บัญญัติถึงสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ และสิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
การใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องฝ่ายเดียว เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ทำเช่นนั้นได้. มิใช่ว่าจะยื่นคำร้องฝ่ายเดียวได้ทุกกรณีไป.
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาผู้วายชนม์ตามกฎหมายโดยชอบแล้ว. จึงไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ต้องมายื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของบิดาผู้วายชนม์อีก.
กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 พ.ศ.2497 ข้อ 8(1) เป็นเรื่องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีโฉนดแล้วโดยการครอบครองด้วยอำนาจปรปักษ์. หาได้บัญญัติถึงสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึด/อายัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลมีอำนาจยึดทรัพย์แม้มีการอายัดไว้ก่อนหน้าได้ หากเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับอายัดที่ดินไว้ ก็ไม่มีกฎหมายห้ามศาลมิให้ยึดหรืออายัดที่ดินนั้นซ้ำอีก
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นการทำละเมิด.
of 7