คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาหมดอายุ: จำหน่ายคดี ไม่ใช่ยกฟ้อง
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้ว ศาลควรจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มิใช่พิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาตามเช็คระงับเมื่อมีการประนีประนอมยอมความและชดใช้หนี้ คดีควรจำหน่ายออกจากสารบบ
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้วศาลควรจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มิใช่พิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง-สิทธิฟ้องของโจทก์-การถอนฟ้อง-ความยินยอม
จำเลยฎีกาว่า ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225จำเลยจึงยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้
แม้โจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลย และภายหลังโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง แต่โจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ร่วมเจรจาตกลงกับจำเลยด้วย และโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้แถลงว่าไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และมิได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลย ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญาตามความผิดฐานฉ้อโกงมาฟ้องจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6801/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความกับคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ และแม้ในสัญญาจะระบุเป็นข้อยกเว้นว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับถือว่ามีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายโดยชัดแจ้งตกเป็นโมฆะ และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความทางแพ่งไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 352 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยที่ศาลแรงงานเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นงวด ๆ หากจำเลยผิดนัดชำระงวดใด งวดหนึ่ง ยอมให้ผู้เสียหายบังคับคดีได้ทันที และผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดจากจำเลยอีก สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา และการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยที่ศาลแรงงานเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหาย ซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นงวด ๆ หากจำเลยผิดนัดชำระงวดใด งวดหนึ่ง ยอมให้ผู้เสียหายบังคับคดีได้ทันที และผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดจากจำเลยอีก สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อการดำเนินคดีอาญาฐานเช็ค
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับโจทก์ยังมีอำนาจฟ้องและการกระทำของจำเลยตามฟ้องก็เป็นความผิดเมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปภายหลังและความปรากฏขึ้นในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับไปโดยไม่ต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คแล้วกลับปฏิเสธการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระหว่างพิจารณา จำเลยและโจทก์ร่วมแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าคดีตกลงกันได้ โดยจำเลยจะชำระเงินตามเช็คพิพาท โดยชำระงวดแรกจำนวน 100,000 บาท งวดต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยชำระไม่ต่ำกว่างวดละ 50,000 บาท และต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันชำระงวดแรก โดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยยอมรับผิดตามฟ้อง และคดีไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป แต่จำเลยและโจทก์ร่วมตกลงให้ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปเพื่อให้โอกาสจำเลยมีเวลาหาเงินมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยยังคงรับผิดในหนี้ตามเช็คทุกฉบับ รวมตลอดถึงโทษทางอาญาที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาในวันนัดที่เลื่อนไป จึงไม่มีการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย ไม่มีการผ่อนผันลดจำนวนหนี้ลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของมูลหนี้ ต่อมาโจทก์ร่วมไม่ยอมรับเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) ที่จำเลยนำมามอบให้ และขอให้จำเลยผ่อนชำระหนี้งวดละไม่น้อยกว่า 150,000 บาท จำเลยยืนยันจะชำระหนี้ตามที่แถลงไว้ โจทก์ร่วมขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพพร้อมกับให้การปฏิเสธขอสู้คดีต่อไป ซึ่งศาลชั้นต้นสืบพยานของทั้งสองฝ่ายจนจบสิ้นกระแสความ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมและจำเลยว่าไม่ประสงค์ให้รายงานกระบวนพิจารณามีผลผูกพันให้โจทก์ร่วมและจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยฝ่ายใดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นไม่ได้ รายงานกระบวนพิจารณาจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447-3448/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็ค: สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาในความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คระงับ
ในคดีแพ่งโจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามเช็คพิพาท อันเป็นผลให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)ส่วนการที่สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่มีข้อตกลงอันจะถือว่าเป็นการยอมความในคดีส่วนอาญาก็ดี และโจทก์ร่วมยังไม่ถอนคำร้องทุกข์ก็ดีก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) เท่านั้นซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกันกับคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความกันทางอาญาไม่ระงับคดี ย่อมไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิฟ้อง
คำว่า "ยอมความกัน" ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) หมายถึงการยอมความในทางอาญาเท่านั้น มิได้หมายความว่า เมื่อมีการยอมความกันไม่ว่าจะในเรื่องใดแล้ว จะทำให้คดีอาญาต้องระงับไปด้วย เมื่อยังไม่มีข้อตกลงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไป
of 57