พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จกระทบสิทธิรับมรดกของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลย ต่อมาจำเลยแจ้งแก่ น. เจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนสมรสว่า จำเลยไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนเลยอันเป็นเท็จ เพราะจำเลยกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอยด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานได้จดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับนางสาว ส. เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยกระทบกระเทือนถึงฐานะบุคคลของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดกอยู่ก่อนแต่คนดียว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับความเสียหายในกรณีที่เกิดขึ้นโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) มีอำนาจฟ้องคดีฐานแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยสุจริตแม้เป็นโมฆะ ก็มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรส ฯลฯ"ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือตัดมรดกมีผลทันทีเมื่อทำถูกต้องตามกม. แม้ทายาทถูกตัดก่อนตาย สิทธิรับมรดกแทนไม่มี
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทั่วไปนั้นถ้าไม่มีกฎหมายบังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำ ในสถานที่ราชการเท่านั้นแล้ว พนักงานผู้มีหน้าที่ก็ย่อมจะออกไปปฏิบัติราชการตามหน้าที่นอกสถานที่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการเป็นการบริการให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อระเบียบแบบแผน ก็ย่อมจะต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการโดยชอบ ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการเช่นนี้ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ปลัดอำเภอได้ออกไปจากอำเภอไปทำหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือตัดมรดกที่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยชอบ มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาโมฆะพินัยกรรมที่ขัดแย้งสิทธิรับมรดกของน้องร่วมบิดามารดา
โจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาโจทก์ซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดาของเจ้ามรดก จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะตาม มาตรา 1705 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนพินัยกรรมเมื่อมีการโอนทรัพย์สินก่อนวายชนม์ และผลกระทบต่อสิทธิการรับมรดก
การที่ผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมใด ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696 วรรคแรก บัญญัติให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่การโอนนั้นสมบูรณ์ และมิได้ถูกเพิกถอนในภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกสินเดิมของตนคือที่ดินมีโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินให้แก่ ล. ซึ่งเป็นบุตรแล้วต่อมาเจ้ามรดกได้ไปจดทะเบียนโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่ ล. ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีเจ้ามรดก ต่อมาเมื่อสามีเจ้ามรดกบอกล้างนิติกรรมการโอน และฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอน และเจ้าพนักงานได้แก้สารบาญในโฉนดใส่ชื่อเจ้ามรดกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามเดิมแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงยังมิได้ถูกเพิกถอนไป ล. ยังคงมีสิทธิที่จะรับมรดกตามพินัยกรรมในทรัพย์ดังกล่าวได้
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกสินเดิมของตนคือที่ดินมีโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินให้แก่ ล. ซึ่งเป็นบุตรแล้วต่อมาเจ้ามรดกได้ไปจดทะเบียนโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่ ล. ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีเจ้ามรดก ต่อมาเมื่อสามีเจ้ามรดกบอกล้างนิติกรรมการโอน และฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอน และเจ้าพนักงานได้แก้สารบาญในโฉนดใส่ชื่อเจ้ามรดกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามเดิมแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงยังมิได้ถูกเพิกถอนไป ล. ยังคงมีสิทธิที่จะรับมรดกตามพินัยกรรมในทรัพย์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องคำนึงถึงจำนวนทายาททั้งหมดที่มีสิทธิรับมรดก แม้บางคนไม่ได้ฟ้องขอ
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ 4 คนฟ้องขอแบ่งมรดกกับจำเลยในฐานะบุตรและผู้รับมรดกแทนที่ของบุตรเจ้ามรดกผู้ตายแต่ทางพิจารณาปรากฏว่าเจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทั้ง 4 และจำเลยมีสิทธิได้รับคนละ 1 ใน 6 ส่วนของทรัพย์มรดกโจทก์จะอ้างขอส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยถือว่าทายาทอีกคนหนึ่งมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องแบ่งตามจำนวนทายาทที่มีสิทธิ แม้บางคนมิได้ฟ้องขอ
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ 4 คนฟ้องขอแบ่งมรดกกับจำเลยในฐานะบุตรและผู้รับมรดกแทนที่ของบุตรเจ้ามรดกผู้ตาย แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าเจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทั้ง 4 และจำเลยมีสิทธิได้รับคนละ 1 ใน 6 ส่วนของทรัพย์มรดกโจทก์อ้างขอส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยถือว่าทายาทอีกคนหนึ่งมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมแปลงพินัยกรรม: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดก
โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดก โจทก์ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในเมื่อยังมีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนตนยังมีชีวิตอยู่ตาม มาตรา 1630 และทั้งนี้ต้องต่อเมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก และโจทก์ที่ 1, 2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1, 2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1, 2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1, 2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1, 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก และโจทก์ที่ 1, 2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1, 2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1, 2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1, 2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1, 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทโดยธรรมและผู้เสียหายในคดีปลอมแปลงพินัยกรรม การพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดก โจทก์ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในเมื่อยังมีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนตนยังมีชีวิตอยู่ตาม มาตรา 1630และทั้งนี้ต้องต่อเมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดกและโจทก์ที่ 1,2 เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่ 4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหายแต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1,2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1,2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1,2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1,2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดกและโจทก์ที่ 1,2 เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่ 4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหายแต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1,2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1,2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1,2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1,2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิในการรับมรดก: บันทึกแบ่งทรัพย์ที่ไม่มีลายมือชื่อเจ้ามรดก ไม่ถือเป็นพินัยกรรม
บันทึกการแบ่งทรัพย์ที่เจ้ามรดกทำขึ้นมิได้ลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก จึงไม่มีผลเป็นพินัยกรรม แม้จะถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมด้วยวาจาต่อหน้า ค.และอ. เพราะเจ้ามรดกไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ แต่ ค.และอ.ก็มิได้ไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ ตลอดจนวันเดือนปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษ บันทึกการแบ่งทรัพย์ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลเป็นพินัยกรรม จำเลยซึ่งมิได้เป็นภรรยาเจ้ามรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิอ้างเอาประโยชน์จากบันทึกนี้ได้ และไม่มีสิทธิรับมรดก
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย การให้ย่อมยังไม่สมบูรณ์
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย การให้ย่อมยังไม่สมบูรณ์