คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิในเงินบำเหน็จ กรณีลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องสหภาพและพ้นสภาพกรรมการ
กรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 45 วรรคสอง หรือเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ตามมาตรา 46 วรรคสอง ล้วนแต่จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 48 ทั้งสิ้น เมื่อลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการของจำเลยมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างแล้วโจทก์จึงมิใช่กรรมการลูกจ้างอีกต่อไปและมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 52 อีก สหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้มีการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานดังกล่าวและจำเลย 4 ครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน ท. จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง จนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ซึ่งสหภาพแรงงานท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ จำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานท. แจ้งต่อจำเลยจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป โจทก์จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31 ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์มีสถิติการลามากเป็นพฤติการณ์ที่ส่อชี้ถึงความตั้งใจของโจทก์ว่ามุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้งานเพียงใด และเมื่อจำเลยเตือนให้โจทก์ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในเรื่องการขาด ลา มาสาย โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวอันเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ขวนขวายในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และท้ายที่สุดโจทก์ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้ลาไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โจทก์ก็ยังฝืนไปและไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอีก จำเลยจึงเลิกจ้าง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ใช้เวลาไปทำกิจกรรมหลายประเภทแม้กิจกรรมดังกล่าวบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและกิจการบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอื่นบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวโจทก์เองด้วยทั้งสิ้น โจทก์มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างโดยสม่ำเสมอ และไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้นายจ้างได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ โจทก์อาจไปทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองในขอบเขตและระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรโดยการตกลงยินยอมของจำเลยหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยเมื่อโจทก์มีจำนวนวันที่ไปทำงานให้แก่จำเลยน้อยย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยต้องเสียหายจากการกระทำของโจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยแต่อย่างใดเพราะจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานก็ต่อเมื่อพนักงานได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยหรือเสียชีวิตในขณะเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยเท่านั้น หาได้ยกเรื่องที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดขึ้นต่อสู้ด้วยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดหรือไม่ การที่ศาลแรงงานหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเองและวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือลาออกมีเงื่อนไขบังคับก่อน การเลิกจ้าง และสิทธิลูกจ้าง
หนังสือที่โจทก์มีไปถึงบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อความว่า เนื่องด้วยกระผมจะขอลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของบริษัทและจากมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัทระบุว่าทางบริษัทจะทำการซื้อหุ้นในส่วนของกระผมคืน ซึ่งกระผมก็ไม่ขัดข้อง สำหรับราคาค่าหุ้นจะมีมูลค่าเท่าไร ทางคณะกรรมการบริหารบริษัทได้มอบหมาย ว.เป็นผู้ทำการตกลงกับกระผมในอันดับต่อไป กระผมขอแจ้งให้ท่านทราบว่ากำหนดการลาออกของกระผมในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไปและในฐานะผู้ถือหุ้น คือวันที่กระผมได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของกระผมในราคาที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย ข้อความดังกล่าวให้ความหมายว่าโจทก์จะลาออกก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของโจทก์ในราคาที่ตกลงกันแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้การลาออกซึ่งเป็นนิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อมีการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันระหว่าง ว. กับโจทก์ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข และจะมีผลเป็นการลาออกจากงานก็ต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวสำเร็จลงโดยโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันเงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขที่กำหนดให้นิติกรรมการลาออกจากการเป็นลูกจ้างมีผลนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานในฐานะลูกจ้างหรือไม่ ก็ได้ เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกัน การลาออกของโจทก์จึงยังไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964-1965/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุ แม้ไม่ได้ร้องทุกข์ก่อนฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดที่บังคับว่าเมื่อมีข้อโต้แย้งว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำปีหรือไม่ โจทก์จะต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์เสียก่อนฟังคดี สำหรับมาตรา 18(2)ที่บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของ รัฐวิสาหกิจนั้นมีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์นั้นได้แต่ไม่ได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 ที่กำหนดให้พนักงานซึ่งเกษียณอายุคือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นเพียงบทกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใด ตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบฯ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มิได้มีบทบัญญัติในมาตราใดที่บังคับว่าโจทก์จะต้องร้องทุกข์ในเรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อคณะกรรมการการสัมพันธ์พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเสียก่อนแล้วจึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จึงถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ลาหยุดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และต้องจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 หาได้มีบทบัญญัติกำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ในเรื่องการจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีกับรัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจำต้องยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ เพื่อให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาก่อน บทบัญญัติในมาตรา 18 เป็นบทที่กำหนดถึงอำนาจหน้าที่คณะของกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องการพิจารณาข้อร้องทุกข์ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจประสงค์จะให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์พิจารณาเท่านั้นแม้โจทก์ทั้งสี่จะมิได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ เมื่อโจทก์ทั้งสี่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสียอมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากตำแหน่งนั้นมีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีเมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุโดยโจทก์ไม่มีความผิดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 46 การเลิกจ้างเช่นนี้จำเลยต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับตามข้อ 8 และข้อ 20 ดังที่ข้อ 21 ของระเบียบดังกล่าวไว้ด้วย และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นเรื่องการจ่ายค่าชดเชยหรือการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามที่กำหนดไว้ในข้อ 45 และข้อ 47 ของระเบียบที่กล่าวข้างต้นแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิดตามข้อ 46ของระเบียบดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง: สิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์และให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจคนใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างก็ต้องดำเนินการให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่นว่านั้นพ้นจากตำแหน่งซึ่งเรียกกันว่าให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ทั้งยี่สิบสาม ซึ่งการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งซึ่งได้ให้ความหมายของการเลิกจ้างไว้ว่าหมายถึงการที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน โดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสาม พ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุโดยที่โจทก์ทั้งสี่สิบสามไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 56 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 จึงเป็นการเลิกจ้าง ส่วนที่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐาน ของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 กำหนดว่าพนักงานที่ต้องต้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจ จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างนั้น ก็เป็นเพียงข้อกำหนด ให้พนักงานที่เกษียณอายุไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยโดยให้ได้รับเงิน เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน หากปฏิบัติงานก่อนครบเกษียณมาครบห้าปีขึ้นไป มิใช่เป็นข้อกำหนดว่าการที่รัฐวิสาหกิจให้พนักงานออกจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่เป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไม่ชอบ และสิทธิค่าจ้างช่วงพักงานยังคงมีอยู่
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างเหตุว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์เช่นนี้ เป็นการขัดกับคำสั่งพักงานเดิม และขัดกับคำพิพากษาในคดีอาญา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้นโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องมาจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างจึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละสาขาของสถานประกอบกิจการ และการคุ้มครองกรรมการลูกจ้างจากการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคแรก บัญญัติว่าในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้ และประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้ จำนวนกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือในหน่วยงานหรือสาขาในแต่ละจังหวัด ให้กำหนดโดยถือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ฉะนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว แต่จำเลยมีโรงงานอีกแห่งหนึ่งคือที่จังหวัดนครราชสีมา ทางสหภาพ ฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีก
โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด
นายจ้างมีสถานประกอบกิจการโรงงาน 2 แห่ง แต่ละแห่งอยู่คนละจังหวัดกัน เมื่อสหภาพแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในจังหวัดหนึ่งแล้ว ก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในอีกจังหวัดหนึ่งได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: คำสั่งธนาคารกำหนดนิยามค่าชดเชยต่างจากประกาศกระทรวงฯ จึงเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับ
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของจำเลย เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้างตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทนให้แก่พนักงานนั้น รวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วย ซึ่งแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อโจทก์เกษียณอายุโดยมิได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
of 17