พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณะต้องมีพระราชกฤษฎีกาประกาศ การครอบครองทำกินต่อเนื่องเป็นสิทธิเจ้าของ
การที่ทางราชการจะให้อำเภอหรือจังหวัดจัดหาที่ดินสงวนไว้เป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านหรือตำบลนั้นจะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินซึ่งสงวนไว้เป็นสาธารณะทั้งที่นั้นก็ต้องเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของอยู่และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 มาตรา 4,5 การที่ผู้ใหญ่บ้านได้เขียนป้ายนำไปปิดประกาศไว้ว่า เป็นที่สาธารณะ นั้นไม่ทำให้ที่ดินนั้นกลายสภาพเป็นที่สาธารณะหวงห้ามไปได้เพราะทางการยังไม่ได้ดำเนินการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามไว้เพื่อประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702-703/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินเหนือที่สาธารณะ: การรุกล้ำทำให้เดือดร้อนและเสียหายพิเศษ
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนและขุดคูบนที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกั้นหน้าที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดความสะดวกในการไปมาและใช้ทรัพย์ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้รื้อถอนโรงเรือนที่ปิดกั้นนั้นไปและไม่ให้เข้าเกี่ยวข้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020-1021/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดคลองในที่ดินส่วนตัว แม้เปิดให้ประชาชนใช้ ก็ไม่เป็นทางสาธารณะ
คลองหรือคูที่เจ้าของที่ดินขุดขึ้น เมื่อเจ้าของไม่ได้อุทิศให้เป็นสาธารณ แม้จะยอมให้ประชาชนใช้ในการสัญจรไปมาบ้างก็ไม่ทำให้กลายสภาพเป็นทางสาธารณ ฉะนั้น ถึงเจ้าของจะทำทำนบเจ้าของจะทำทำนบหรือคันดินปิดกั้น ก็ไม่มีความผิดฐานปิดทางสาธารณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020-1021/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดคลองส่วนตัวและการใช้ประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ทำให้กลายเป็นทางสาธารณะ เจ้าของมีสิทธิปิดกั้นได้
คลองหรือคูที่เจ้าของที่ดินขุดขึ้น เมื่อเจ้าของไม่ได้อุทิศให้เป็นสาธารณ แม้จะยอมให้ประชาชนใช้ในการสัญจรไปมาบ้าง ก็ไม่ทำให้กลายสภาพเป็นทางสาธารณ ฉะนั้น ถึงเจ้าของจะทำทำนบหรือคันดินปิดกั้น ก็ไม่มีความผิดฐานปิดทางสาธารณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน: การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย แม้จำเลยจะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อนหลายปีโจทก์ก็ขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดไว้ได้
การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนทั้งยังห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อของโจทก์ต่อไปนั้นโจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามคำพิพากษาโดยสมบูรณ์อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้จำเลยทำลายเครื่องหมายการค้านั้นอีก
การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนทั้งยังห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อของโจทก์ต่อไปนั้นโจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามคำพิพากษาโดยสมบูรณ์อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้จำเลยทำลายเครื่องหมายการค้านั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกาเวนคืน: สิทธิยังคงอยู่กับเจ้าของเดิมหากไม่มีกฎหมายเวนคืนฉบับใหม่
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งประกาศใช้บังคับโดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2495 เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นแล้ว โดยยังไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัยพ์ออกมาใช้บังคับอีกฉบับหนึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งกำหนดเขตไว้โดยพระราชกฤษฎีกานั้นยังหาได้ตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ไม่ ที่ดินในส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งถูกกำหนดไว้จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานั้น โดยอ้างว่ากำหนดอายุ 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ยังคงครอบครองใช้สอยที่ดินของโจทก์อยู่ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากพื้นที่ดินของโจทก์ และให้รื้อถอนโยกย้ายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ และห้ามเข้าเกี่ยวข้องโดยมิได้เรียกค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ในชั้นยื่นฟ้องย่อมเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์เสียค่าธรรมเนียมมาตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ2 ก. เป็นการถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศ: การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ได้ทำให้เป็นเจ้าของสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
สั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศไทยในฐานะเป็นตัวแทนช่วงขายสินค้านั้น แล้วจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของสินค้านั้นไว้ที่กรมทะเบียนการค้า ดังนี้ ไม่ทำให้ผู้จดทะเบียนได้สิทธิเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นเพราะตนไม่ใช่ผู้ประดิษฐ์
ฉะนั้น การที่ผู้อื่นสั่งสินค้าชนิดเดียวกันนั้นเข้ามาขายในประเทศไทยบ้างจึงเป็นการค้าแข่งขัน ไม่เป็นการละเมิด
ฉะนั้น การที่ผู้อื่นสั่งสินค้าชนิดเดียวกันนั้นเข้ามาขายในประเทศไทยบ้างจึงเป็นการค้าแข่งขัน ไม่เป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินตัดกิ่งไม้ล้ำแนวเขตและการพิจารณาเจตนาในความผิดอาญา
ในทางแพ่ง ถ้าจำเลยได้บอกกล่าวโจทก์เสียก่อนและให้เวลาพอสมควรแล้ว จำเลยก็อาจตัดกิ่งไม้ของโจทก์ที่ยื่นล้ำที่ของจำเลยเข้าไปนั้นได้
ส่วนในทางอาญา ต้องพิจารณาเจตนาของจำเลยเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าตามพฤติการณ์ที่ปรากฎเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาทำผิดทางอาญา แม้จำเลยไม่ได้บอกกล่าวโจทก์เสียก่อน จำเลยก็ตัดกิ่งไม้ที่ยื่นรุกล้ำเข้ามาในที่ของตนได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยเพียงแต่กระทำการป้องกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้โดยทั่ว ๆ ไป หากแต่จำเลยมิได้ปฏิบัติการให้ครบถ้วน ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1347 เท่านั้น.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2501)
ส่วนในทางอาญา ต้องพิจารณาเจตนาของจำเลยเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าตามพฤติการณ์ที่ปรากฎเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาทำผิดทางอาญา แม้จำเลยไม่ได้บอกกล่าวโจทก์เสียก่อน จำเลยก็ตัดกิ่งไม้ที่ยื่นรุกล้ำเข้ามาในที่ของตนได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยเพียงแต่กระทำการป้องกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้โดยทั่ว ๆ ไป หากแต่จำเลยมิได้ปฏิบัติการให้ครบถ้วน ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1347 เท่านั้น.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินตัดกิ่งไม้รุกล้ำ และเจตนาทางอาญาของผู้กระทำ
ในทางแพ่ง ถ้าจำเลยได้บอกกล่าวโจทก์เสียก่อนและให้เวลาพอสมควรแล้ว จำเลยก็อาจตัดกิ่งไม้ของโจทก์ที่ยื่นล้ำที่ของจำเลยเข้าไปนั้นได้
ส่วนในทางอาญา ต้องพิจารณาเจตนาของจำเลยเป็นเรื่องๆไป ถ้าตามพฤติการณ์ที่ปรากฏเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาทำผิดทางอาญา แม้จำเลยไม่ได้บอกกล่าวโจทก์เสียก่อน จำเลยก็ตัดกิ่งไม้ที่ยื่นรุกล้ำเข้ามาในที่ของตนได้ เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยเพียงแต่กระทำการป้องกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้โดยทั่วๆ ไป หากแต่จำเลยมิได้ปฏิบัติการให้ครบถ้วนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 เท่านั้น(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2501)
ส่วนในทางอาญา ต้องพิจารณาเจตนาของจำเลยเป็นเรื่องๆไป ถ้าตามพฤติการณ์ที่ปรากฏเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาทำผิดทางอาญา แม้จำเลยไม่ได้บอกกล่าวโจทก์เสียก่อน จำเลยก็ตัดกิ่งไม้ที่ยื่นรุกล้ำเข้ามาในที่ของตนได้ เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยเพียงแต่กระทำการป้องกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้โดยทั่วๆ ไป หากแต่จำเลยมิได้ปฏิบัติการให้ครบถ้วนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 เท่านั้น(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: สัญญาทางวาจาไม่อาจใช้โต้แย้งสิทธิเจ้าของได้ หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่นา ขอให้ห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้อง จำเลยต่อสู้โดยมิได้กล่าวอ้างถึงสิทธิทางทะเบียน คงอ้างสิทธิโดยข้อสัญญาประการเดียวว่าโจทก์กู้เงินจำเลยไป 5,000 บาท และยอมให้นาพิพาททำต่างดอกเบี้ย
แม้จะฟังว่าข้อสัญญา(กู้)นี้มีอยู่จริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยจะยืนยันให้ศาลบังคับคดีให้แก่จำเลยตามกฎหมายอันเกี่ยวด้วยเรื่องเอกเทศสัญญาใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น ดังนี้ จึงไม่มีเหตุพิเศษอันใดตามกฎหมายที่จำเลยจะโต้แย้งไม่ยอมคืนที่นาพิพาทให้แก่โจทก์.
แม้จะฟังว่าข้อสัญญา(กู้)นี้มีอยู่จริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยจะยืนยันให้ศาลบังคับคดีให้แก่จำเลยตามกฎหมายอันเกี่ยวด้วยเรื่องเอกเทศสัญญาใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น ดังนี้ จึงไม่มีเหตุพิเศษอันใดตามกฎหมายที่จำเลยจะโต้แย้งไม่ยอมคืนที่นาพิพาทให้แก่โจทก์.