คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเจ้าหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินทั้งหมดหลังผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีทรัพย์จำนอง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมตกลงชำระหนี้ 11,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนไว้ถ้าผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีรวมทั้งบังคับเงินจำนวนดังกล่าวได้ด้วย และตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้กล่าวไว้ว่า โจทก์จะบังคับเอาชำระหนี้ได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ได้จำนองกันไว้ ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากทรัพย์ใด ๆ ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยลูกหนี้ที่ยอมรับผิดชดใช้เงินกู้จนครบ ต่อมาเจ้าหนี้ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยลูกหนี้ยอมชำระเงินให้เจ้าหนี้ 311,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยและศาลพิพากษาตามยอม ก็หมายความได้แต่เพียงว่า ยังไม่ขอบังคับตามสัญญาจำนองเท่านั้น มิใช่เป็นการปลดจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) ฉะนั้น เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ มีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมบังคับเอาจากทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้ หาได้หมายความหรือเป็นการยกเลิกลบล้างข้อเรียกร้องตามคำขอท้ายฟ้องให้หมดไป และโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เพียงทรัพย์ที่จำนองเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อใด: การประเมินภาษีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507- 2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่า ผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขาย สินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตาม มูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้อง ชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์พิพาท: การโต้แย้งสิทธิและการใช้สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องไม่เกินขอบเขต
จำเลยโต้แย้งสิทธิในทรัพย์พิพาทอันเป็นของโจทก์ โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในทรัพย์พิพาทนั้นได้
จำเลยให้การลอย ๆ ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่เคลือบคลุมตรงไหน อย่างไรไม่ปรากฏ ไม่แสดงเหตุผลคำให้การจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเหนือทรัพย์สิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่น
จำเลยจำนองที่ดินมือเปล่าพร้อมด้วยโรงเรือนไว้กับโจทก์เป็นการประกันหนี้ ต่อโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกร้องให้ชำระหนี้และให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินไปชำระหนี้ ในที่สุดทำยอมความโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ ครั้นผิดนัดโจทก์จึงนำยึดทรัพย์จำนองเพื่อบังคับคดี ดังนี้ แม้ภายหลังการจำนองและก่อนโจทก์ฟ้องจำเลย จำเลยจะได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ให้แก่ผู้ร้อง และได้สละสิทธิ์ให้ผู้ร้องยึดถือไว้แล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้สิทธิได้รับชำระหนี้ของโจทก์จากทรัพย์พิพาทหมดไป ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเหนือทรัพย์สิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่น สิทธิในการได้รับชำระหนี้ยังคงอยู่
จำเลยจำนองที่ดินมือเปล่าพร้อมด้วยโรงเรือนไว้กับโจทก์เป็นประกันหนี้ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกร้องให้ชำระหนี้และให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ในที่สุดทำยอมความโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ครั้นผิดนัดโจทก์จึงนำยึดทรัพย์จำนองเพื่อบังคับคดีดังนี้ แม้ภายหลังการจำนองและก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยจำเลยจะได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ให้แก่ผู้ร้องและได้สละสิทธิให้ผู้ร้องยึดถือไว้แล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้สิทธิได้รับชำระหนี้ของโจทก์จากทรัพย์พิพาทหมดไป ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703-1704/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกคดีล้มละลายไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องคดีใหม่ สิทธิเรียกร้องยังคงมีอยู่
คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (1) หรือ (2) ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด ตามมาตรา 136 คำว่า "หนี้สิน" มิได้หมายความเฉพาะหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ไว้ในคดีล้มละลายแล้วเท่านั้น ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ จะมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีล้มละลายที่ยกเลิกนั้น ตามมาตรา 27 และตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้สินนั้นเป็นคดีล้มละลายคดีใหม่หรือคดีแพ่งธรรมดาอีกได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอแบ่งสินบริคณห์ แม้ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิขอแบ่งสินบริคณห์เพื่อชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินบริคณห์ขอให้แยกสินบริคณห์ซึ่งถูกศาลยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดแยกเป็นส่วนของสามี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หากแต่เป็นการขอแบ่งแยกสินบริคณห์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2503)
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือ การขอให้ได้รับชำระหนี้โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยแล้ว แม้เจ้าหนี้นั้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในชั้นขอเฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามคำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลเหนือกว่าสิทธิเจ้าหนี้ แม้มีการยึดทรัพย์ก่อน
ตราบใดยังไม่มีคำพิพากษาแสดงว่าการยอมความและคำพิพากษาท้ายยอมนั้นไม่ถูกต้อง สิทธิตามคำพิพากษานั้นก็ยังคงอยู่
เดิมผู้ร้องพิพาทกับจำเลย ที่สุดได้ประนีประนอมยอมความกันโดยผู้ร้องยอมชำระเงินแก่จำเลย 6,000 บาท จำเลยยอมให้โอนใส่ชื่อผู้ร้องในโฉนดรายพิพาทและศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว ดังนี้แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์และนำโฉนดให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันแต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนไว้ และแม้ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยใช้หนี้โจทก์แล้วก็ตามโจทก์หามีสิทธิในที่พิพาทดีไปกว่าผู้ร้องอย่างไรไม่เพราะสิทธิในการจดทะเบียนกรรมสิทธิที่รายพิพาทตามคำพิพากษาตามยอมยังคงเป็นของผู้ร้องอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการตัวแทน สิทธิของเจ้าหนี้ต่อตัวแทนเมื่อบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว
โจทย์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากห้องเช่าของโจทก์จำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เช่าตามหนังสือสัญญาเช่าความจริง จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการเช่าห้องรายนี้ แต่มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 มาก่อน กรณีจึงเข้าลักษณะตัวการตัวแทนตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 806 ฉะนั้นเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 เสร็จไปแล้ว จำเลยที่ 2 จะมาอ้างเพื่อให้เสื่อมเสียสิทธิของโจทก์อันเขามีแก่จำเลยที่ 1หาได้ไม่ จึงไม่จำต้องสืบพยานตามข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้ต่อทรัพย์สินที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วม: เจ้าของร่วมคนอื่นไม่มีสิทธิขอถอนการยึด
โจทก์ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยกับผู้อื่นได้ เจ้าของร่วมคนอื่นจะมาขอให้ถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่
of 8