คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: การออกโฉนดที่ดินใหม่ไม่กระทบสิทธิเดิมหากไม่มีการรุกล้ำหรือโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องว่า ที่ดินยของ อ. อยู่ติดกันโดยที่ดินของ ป. ทางด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของ อ. ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่ ป. และระบุรูปแผนที่ดินของ ป. ว่าทางด้านทิศติวันตกติดบ่อน้ำสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และมีส่วนได้เสียในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินได้ แต่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์ยังไม่เคยไปยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ต่อเจ้าพนักงานที่ดินทั้งการขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินของ ป. ก็เป็นเรื่องการแบ่งแยกโฉนดที่ดินในที่ดินของ ป. เองโดยเฉพาะ แม้การระบุอาณาเขตที่ดินในโฉนดที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจะคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่มีผลโดยตรงต่อที่ดินของ อ. กล่าวคือ มิได้ออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของ อ. หรือกระทำการอันมีลักษณะเป็นการรบกวนครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของ อ. สิทธิครอบครองที่ดินของ อ. จะมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิม และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของ อ. หากโจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ก็ต้องไปว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดิน การออกโฉนดที่ดินไป ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้อง ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องกรมที่ดินจำเลยขอให้บังคับจำเลยแก้ตำแหน่งที่ดินทางทิศตะวันตกเป็นว่าจดที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครอบครองปรปักษ์ - การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม - เจตนาครอบครอง - สิทธิเดิม - การซื้อที่ดินโดยรู้มีผู้ครอบครอง
จำเลยทั้งสิบสามคนมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งต้องถือตามราคาที่ดินในส่วนที่จำเลยสืบสิทธิมา มิใช่แยกคำนวณตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์ระบุในคำแก้ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์และตามฟ้องแย้งราคาตารางวาละ 125 บาท เท่ากับไร่ละ 50,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งในส่วนของจำเลยทุกคน จึงเกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสิบสามไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
การที่ ก. ย. และ อ. ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ย. และ อ. แสดงเจตนาจะยกเลิก จึงต้องถือว่าข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ย่อมผูกพัน ก. ย. และ อ.
ก. ย. และ อ. ได้แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า ก. ย. อ. และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทตลอดมา เมื่อ ย. อ. และจำเลยทั้งสิบสามครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ธ. และโจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครอง กรณีถือไม่ได้ว่า ธ. และโจทก์รับโอนที่ดินไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดีและการไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ หากสิทธิที่โอนมาไม่เกินสิทธิเดิม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดีเนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามคำพิพากษามาจากการขายซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกัน และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งผู้ร้องมิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก
of 5