คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเรียกคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนที่ดินเวนคืนเพื่อกิจการรถไฟ แม้ยังมิได้ใช้ประโยชน์ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกคืนได้ตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32 กำหนดให้เจ้าของเดิมหรือทายาทหรือผู้รับโอนมีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนได้เฉพาะแต่ในกรณีที่เวนคืนมาเพื่อการสาธารณูปโภคหรือการเหมืองแร่แต่ถ้าเวนคืนมาเพื่อใช้ในกิจการของรถไฟ และที่ดินที่เวนคืนได้ตกเป็นของรถไฟโดยโดยชอบแล้ว แม้รถไฟจะมิได้เคยใช้หรือกำลังใช้ในกิจการของรถไฟ เจ้าของหรือทายาทหรือผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามมาตรา 32 นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อายุความ: สิทธิเรียกคืนเงินจากการชำระหนี้ซ้ำจากการฟ้องเรียกหนี้ซ้อน
คดีก่อน จำเลยฟ้อง ม. ให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่ง ม. ได้กู้จากจำเลยไปแทนโจทก์ซึ่งศาลได้พิพากษาถึงที่สุดให้ ม. แพ้คดีโดยเหตุที่ไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานการชำระเงินได้แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินที่จำเลยได้หักเงินรายได้โรงเรียนของโจทก์ตามหนี้เงินกู้รายเดียวกันนี้ไว้คืนฐานลาภมิควรได้โดยเหตุที่จำเลยกลับนำสัญญากู้รายเดียวกันนี้ไปฟ้อง ม. จนศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ชำระหนี้เงินกู้รายเดียวกันนี้แก่จำเลย ดังนี้ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์จำเลยตกลงกู้ยืมเงินกันโดยโจทก์ให้ ม. ทำสัญญากู้ไว้แทนโจทก์ โดยมีข้อตกลงให้จำเลยหักเงินรายได้โรงเรียนของโจทก์ชำระหนี้เงินกู้นี้แต่จำเลยได้นำสัญญากู้รายเดียวกันนี้ไปฟ้อง ม. จนศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ม. ชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยได้หักชำระหนี้รายเดียวกันนี้คืนฐานลาภมิควรได้ดังนี้ ต้องถือว่าสิทธิของโจทก์ที่ฟ้องเรียกลาภมิควรได้นี้เกิดขึ้นต่อเมื่อคดีที่จำเลยฟ้อง ม. ถึงที่สุดเสียก่อนและก่อนคดีดังกล่าวถึงที่สุดจะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิที่จะเรียกเงินคืนตามมูลฐานดังกล่าวมิได้ เมื่อนับจากวันที่โจทก์ได้ทราบเรื่องซึ่งเป็นเวลาภายหลังได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังอยู่ภายในระยะเวลา 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ที่ดินเพื่อสร้างสถานศึกษา การปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ทำให้สิทธิเรียกคืนที่ดินระงับ
สัญญาให้ที่ดินมีความว่า ผู้ให้ยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับ โดยความรักเสน่หา เพื่อวัตถุประสงค์ให้จัดทำเป็นอาคารและสถานศึกษา. ถ้าผู้รับไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์.ผู้ให้มีสิทธิเรียกที่ดินคืนได้ ดังนี้ การที่ผู้รับดำเนินกิจการโรงเรียนตั้งแต่ได้รับให้เป็นต้นมาจนผู้ให้ถึงแก่กรรมนั้น. เป็นการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของสัญญาให้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงพิพาทแล้ว.โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหามีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินแปลงพิพาทไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องแย้งไม่เป็นเงื่อนไข – สิทธิเรียกคืนเงินและค่าเสียหายควบคู่กับสิทธิเรียกร้องการจดทะเบียนเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าซึ่งโจทก์รับโอนกรรมสิทธิมาจากผู้ให้เช่าเดิม จำเลยให้การต่อสู้ว่า ผู้ให้เช่าเดิมให้จำเลยเช่า เป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยจำเลยยอมให้ผู้ให้เช่าเดิมหักหนี้ 100,000 บาท กับจำเลยได้ซ่อมแซมห้องเช่าอีก 5,000 บาท ซึ่งผู้ให้เช่าเดิมสัญญาให้จำเลยเช่าตลอดชีวิต จำเลยจึงขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเดิมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม และฟ้องแย้งขอให้ศาลบังคับให้โจทก์กับผู้ให้เช่าเดิมจดทะเบียนการเช่ารายนี้ ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องก็ขอให้ศาลพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ร่วมกันคืนเงินหนึ่งแสนบาท ใช้ค่าซ่อมบ้าน 5,000 บาท กับค่าสินไหมทดแทนเดือนละ 1,870 บาท คำฟ้องแย้งนี้เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3 และมาตรา 179 วรรคท้าย และคำฟ้องแย้งนี้ไม่เป็นเงื่อนไข เพราะถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและขับไล่จำเลยตามฟ้องของโจทก์แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะเรียกเงินกินเปล่าคืน หรือได้รับค่าสินไหมทดแทนแต่ประการใด แต่ถ้าคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยฟังได้ว่า จำเลยมีสิทธิเรียกให้โจทก์จดทะเบียนการเช่าจนตลอดชีวิตของจำเลยแล้ว ก็ย่อมบังคับตามคำฟ้องแย้งของจำเลยได้
คำฟ้องแย้งที่มีคำขอว่า ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ศาลบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่า ก็ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินกินเปล่าและใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งคำฟ้องแย้งของจำเลย หากเป็นแต่เพียงคำขอในคำฟ้องแย้งอีกข้อหนึ่งในเมื่อบังคับตามคำขอข้อแรกไม่ได้ซึ่งแล้วแต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชนะคดีได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด & การบังคับจำนอง: แม้ตกลงนอกสัญญาเรื่องดอกเบี้ยสูง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน & ศาลชอบพิพากษาบังคับจำนองได้
แม้สัญญาจำนองกำหนดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด. แต่ผู้จำนองผู้รับจำนองตกลงกันนอกสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา. เมื่อผู้จำนองชำระดอกเบี้ยให้ไป ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกคืนได้. และไม่มีสิทธิจะเอาดอกเบี้ยส่วนที่ชำระเกินคิดหักชำระต้นเงิน.
ผู้รับจำนองฟ้องขอให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนอง. ผู้จำนองให้การว่า ผู้รับจำนองไม่ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง. วันชี้สองสถานคู่ความแถลงรับว่ายินดีไถ่ถอนการจำนอง เพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องจำนวนเงินที่จะไถ่ถอน. ดังนี้ถือว่า คู่ความไม่ติดใจโต้เถียงกันเรื่องการบังคับจำนอง. เมื่อศาลชี้ขาดถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระกัน ก็ชอบจะพิพากษาบังคับจำนองไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย แม้ถูกบังคับด้วยคำพิพากษา ก็มีสิทธิเรียกคืนได้
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองโจทก์ต่อสู้ว่าจำเลยนำดอกเบี้ยที่เกินอัตราตามกฎหมายมารวมกับต้นเงินด้วยศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้เงินเต็มตามสัญญาจำนอง โจทก์อุทธรณ์ และขอทุเลาการบังคับคดีแต่ก่อนศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องการทุเลาการบังคับคดี จำเลยได้ขอให้ยึดทรัพย์ของโจทก์ขายทอดตลาดเพื่อชำระต้นเงินที่โจทก์มิได้โต้แย้งโจทก์จึงได้ไถ่ถอนการจำนอง (รวมทั้งดอกเบี้ยที่อ้างว่าเกินอัตราตามกฎหมายด้วย) ต่อมาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีและให้ยกคำพิพากษาศาลแพ่งให้สืบพยานต่อไปจำเลยจึงขอถอนฟ้อศาลอนุญาต คำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเรียกดอกเบี้ยที่เกินอัตราคืนดังนี้ จะถือว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือทำการชำระดอกเบี้ยนั้นไปตามอำเภอใจดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 และ 407 บัญญัติไว้มิได้เพราะโจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไป เพราะผลบังคับของคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการบังคับของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินเป็นประกันหนี้ การแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครอง และสิทธิในการเรียกคืน
กู้เงิน ทำหนังสือกู้กันเองตกลงให้ผู้ให้กู้ ครอบครองที่นาไว้เป็นประกัน และทำต่างดอกเบี้ย การที่ผู้ให้กู้เอาที่นานั้นแจ้งการครอบครองแบบ ส.ค. 1 ว่าเป็นของตนเสียนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
ผู้ให้กู้รับมอบนาพิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เบี้ยประกันหนี้และทำต่างดอกเบี้ยโดยตกลงกันเองมิได้ทำให้ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการประกันด้วยทรัพย์ ย่อมไม่มีผลทำให้เกิดทรัพย์สิทธิเหนือนาพิพาทอันจะทำให้มีอำนาจยึดหน่วงนาพิพาทตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์มาตรา 241 วรรค 2 ผู้ให้กู้ต้องคืนนาพิพาทให้ผู้กู้
ผู้กู้เป็นโจทก์ฟ้องผู้ให้กู้ขอให้รับชำระหนี้ 280 บาทและคืนที่นาที่มอบไว้เป็นประกันและทำต่างดอกเบี้ยตามสัญญาที่ทำกันเอง ผู้ให้กู้ให้การว่า หนี้จำนวน 1,000 บาท แต่ไม่ได้ฟ้องแย้งเข้ามา ศาลคงบังคับให้ผู้กู้ชำระหนี้เท่าที่กล่าวในฟ้อง ส่วนจำนวนหนี้ยังค้างอยู่เป็นเรื่องที่ผู้ให้กู้จะต้องไปว่ากล่าวเอากับผู้กู้เพื่อให้ชำระจนสิ้นเชิงในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 214 เป็นอีกเรื่องต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ไม่มีสิทธิ แม้มีการฟ้องร้องเรื่องเดียวกันไปแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นพี่สาวและน้องสาวของเจ้ามรดก จำเลยเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ที่ดิน 3 แปลงท้ายฟ้อง เป็นสินเดิมของเจ้ามรดก ที่ดิน 3 แปลงท้ายฟ้องเป็นสินเดิมของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตายทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาท จำเลยไม่ใช่ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายวจึงไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยส่งมอบทรัพย์มรดกให้แล้ว จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ส่งมอบทรัพย์มรดกให้แล้ว จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ส่งมอบทรัพย์มรดกเป็นคดีหนึ่งแล้ว บัดนี้ ยังมีทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอีก 3 แปลง ขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นสินเดิมของเจ้ามรดก โจทก์และทายาทเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกทรัพย์นี้ ให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ให้ ดังนี้ เป็นการฟ้องแต่ ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีอำนาจยึดถือไว้ และเป็นที่ดินต่างแปลง เป็นทรัพย์คนละอย่างกับทรัพย์ในคดีก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ไม่มีอำนาจ แม้ฟ้องคดีก่อนหน้านี้แล้ว
ทายาทของเจ้ามรดก ฟ้องเรียกที่ดินของเจ้ามรดกจากภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นคดีหนึ่งแล้วบัดนี้ยังมีที่ดินมรดกอีกทายาทจึงฟ้องเรียกจากภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นอีกดังนี้ ไม่ใช่เป็นการฟ้องแบ่งมรดกแต่เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีอำนาจยึดถือไว้และเป็นที่ดินต่างแปลงกับในคดีก่อนทายาทจึงมีสิทธิฟ้องเรียกได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเบียดบังเงิน เจ้ามรดก/ผู้รับมรดก มีสิทธิเรียกคืนได้ภายใน 10 ปีนับจากวันที่จำเลยเบียดบัง
โจทก์เป็นผู้รับมรดก ฟ้องเรียกเงินของเจ้ามรดกที่มอบให้จำเลยเป็นผู้ไปรับแทนคดีเช่นนี้มีอายุความ 10 ปีนับตั้งแต่จำเลยเบียดบังเงินไว้แต่ละคราวเป็นตอนๆ มา
of 7