คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิโจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีต้องวางเงินชำระหนี้ทั้งหมด รวมถึงค่าธรรมเนียมการบังคับคดี มิฉะนั้นโจทก์ยังคงมีสิทธิบังคับคดีต่อได้
จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และดำเนินการบังคับคดีแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงขอชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่ค้างชำระทั้งหมดพร้อมค่าฤชา-ธรรมเนียมแห่งคดีเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งถอนการบังคับคดี เป็นการขอถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 295 (1) ซึ่งลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องวางเงินต่อศาลเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีให้ครบถ้วนเสียก่อน แต่จำเลยที่ 1 นำเงินมาวางศาลเฉพาะที่ค้างชำระหนี้โจทก์และค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีเท่านั้น โดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย อันเป็นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้ด้วย ซึ่งหากศาลชั้นต้นสั่งให้หักเงินค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายจากเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาวางชำระหนี้ต่อศาล จะทำให้เงินที่วางไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา ฉะนั้นเมื่อวางเงินไม่ครบถ้วน การที่ศาลชั้นต้นสั่งถอนการบังคับคดีจึงไม่ถูกต้อง โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6333/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ - ศาลอนุญาตแล้วจำเลยคัดค้านไม่ได้
ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ก่อนจำเลยยื่นคำให้การโจทก์มีสิทธิถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล และศาลไม่จำต้องฟังหรือสอบถามจำเลยก่อน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยจะมาคัดค้านภายหลังโดยอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ: โจทก์ใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องสุจริต
ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคหนึ่งก่อนจำเลยยื่นคำให้การโจทก์มีสิทธิถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลและศาลไม่จำต้องฟังหรือสอบถามจำเลยก่อนเมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยจะมาคัดค้านภายหลังโดยอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, สิทธิของโจทก์, การผูกนิติสัมพันธ์, หลักฐานหนี้, คำให้การไม่ชัดเจน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ที่ทำขึ้นก่อนที่จำเลยผูกนิติสัมพันธ์กับโจทก์ซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีล่วงหน้าก็มีผลใช้ได้ โจทก์มอบอำนาจให้ย. มีอำนาจทำกิจการต่างๆตามที่ระบุไว้รวมทั้งฟ้องคดีเรียกร้องหนี้สินเนื้อหาในหนังสือมอบอำนาจจึงมิใช่เป็นกรณีที่ย. ซึ่งเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ย่อมสมบูรณ์มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตที่โจทก์มอบให้ไปใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่างๆโจทก์ได้แจ้งรายการใช้บัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายแทนไปให้จำเลยตามกำหนดในแต่ละเดือนจำเลยไม่นำเงินมาหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นเวลาหลายเดือนจำเลยเป็นหนี้โจทก์294,702.43บาทจำเลยให้การปฏิเสธแต่เพียงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะก่อภาระหนี้โดยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ภาระหนี้ที่โจทก์อ้างเกิดขึ้นจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นผู้ทำขึ้นจำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์และไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์คำให้การของจำเลยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นไว้ในคำให้การว่าจำเลยมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์และไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เพราะเหตุใดจึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดซึ่งเหตุแห่งการนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีผลต่อสิทธิโจทก์และเจตนาจำเลย
ปัญหาที่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาพิพาทไม่มีทางที่จะสับสนหลงผิดว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์ และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะลักษณะและสีของฉลาก การใช้ตัวอักษรของยากับลักษณะของเม็ดยาเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเนื่องจากยาของโจทก์มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์กำกับทุกเม็ดส่วนของจำเลยไม่มี เมื่อจำเลยทราบว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายของโจทก์ จำเลยเลิกผลิตยาในชื่อเดิมทันที การที่ชื่อยาพิพาทมีความใกล้เคียงกันเป็นเหตุบังเอิญหาใช่จำเลยมีเจตนาทุจริตไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า กรมทะเบียนการค้าโดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงต้องถือว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ถูกต้องมาแต่แรก โจทก์ไม่มีสิทธิอ้างเครื่องหมายการค้านี้แต่ผู้เดียว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์นั้น แม้จะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลังจากจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เพิ่งปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
เหตุที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อนโยบายแห่งรัฐในอันที่จะต้องให้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก ดังนั้น การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงหากระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ในการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนที่จะถูกเพิกถอนไม่และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการละเมิดมาแต่เดิมกลายเป็นไม่ละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้จะมีทางออกอื่น โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้เปิดทาง
แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นที่ได้แบ่งแยกจากที่ดินของ ถ.เช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้แต่เมื่อทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบกพร่องคำให้การเรื่องอายุความมรดก ทำให้ไม่เกิดประเด็น และไม่ตัดสิทธิโจทก์
จำเลยให้การว่า บิดาโจทก์และจำเลยยืมเงินจำเลยไปใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ต่อมาไม่มีเงินที่จะใช้คืนแก่จำเลยจึงตกลงเอาที่ดินพิพาทตีใช้หนี้จำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยตั้งแต่ปี 2520 และได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจึงได้สิทธิครอบครองและคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวของจำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใดเป็นคำให้การที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องคดีของโจทก์ขาดอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองต้องฟ้องผู้รับโอนทรัพย์สิน ผู้รับโอนไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิยึด
ผู้ร้องเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ การที่โจทก์เพียงแต่บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 โดยมิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยนั้น จึงไม่ใช่เป็นการบังคับจำนองที่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 728 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินของผู้ร้องได้ เพราะการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 278 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าทรัพย์ที่จะบังคับคดีเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์รับว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเช่นนี้ จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทที่ยึดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวันนัดพยานโดยมิชอบ โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนคำสั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์ในตอนแรกว่า นัดสืบพยานโจทก์ตามขอ ซึ่งหมายถึงวันที่ 16 มีนาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา ดังนั้นการที่ศาลหรือเจ้าพนักงานศาลมาเปลี่ยนวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่เป็นวันที่ 2มีนาคม 2533 เวลา 9 นาฬิกา เป็นการกำหนดหรือปฏิบัติผิดไปจากคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วโดยชัดแจ้ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวหรือได้มีการออกหรือส่งหมายนัดดังกล่าวไปให้โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและไม่มีพยานมาสืบให้ยกฟ้องโจทก์และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงยังไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยไม่ชอบธรรมหลังเจ้าของมรณภาพ: สิทธิของโจทก์ผู้รับมรดกและความรับผิดทางละเมิด
พระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดโจทก์ จึงเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 44 เดิม(มาตรา 37 ที่แก้ไขใหม่) เมื่อพระภิกษุมรณภาพโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินและตึกแถวพิพาทซึ่งได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นสมบัติของโจทก์ตาม มาตรา 1623 สัญญาจะซื้อขาย ผู้จะซื้อไม่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่จะซื้อจะขายโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของทรัพย์ การอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยเจ้าเจ้าไม่ยินยอมเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดต่อพระภิกษุซึ่งเป็นเจ้าของ และการมรณภาพของพระภิกษุ ไม่เป็นเหตุให้การละเมิดสิ้นสุดลง เมื่อต่อมาที่ดินและตึกแถวตกเป็นสมบัติของโจทก์ จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทต่อไป ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ส่วนสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทำละเมิดเพราะอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทขณะเป็นสมบัติของพระภิกษุก็ตกเป็นมรดกของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
of 14