พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจรและสิทธิในเงินจากการขายของกลาง ศาลตัดสินสิทธิในเงินของผู้ขายและผู้เสียหาย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรอาวุธปืนถูกจับได้พร้อมทั้งเงินที่ขายปืนได้ 17,895 บาท. จำเลยให้การว่าเงินขายปืนได้มีเพียง 5,800 บาท เงินที่เหลือเป็นเงินส่วนตัวของจำเลย เฉพาะเงิน 5,800 บาท. นี้จำเลยไม่ติดใจโต้แย้ง. ดังนี้ แม้จะฟังได้ว่าเงินของกลางเป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายปืนก็ตาม. จะถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของเงินของกลางทั้งหมดไม่ได้. เพราะมิใช่ทรัพย์สิน.ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป. และจำเลยรับไว้โดยรู้ว่าเป็นเงินที่ได้จากการกระทำผิด แต่เป็นเงินของผู้ที่ซื้อปืนไปจากจำเลย ให้จำเลยเป็นการชำระราคาปืน. ฉะนั้น จึงต้องคืนเงินของกลางให้แก่ผู้เสียหาย 5,800บาท เท่าจำนวนที่จำเลยพอใจคืนให้แก่ผู้เสียหาย ส่วนที่เหลือต้องคืนให้แก่จำเลย. ต่อจากนั้นโจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาปืนที่ยังไม่ได้คืน.แก่ผู้เสียหายต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อที่ดินร่วมกัน สิทธิในทรัพย์สิน และข้อจำกัดการฟ้องแทนบุตร
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันออกเงินเช่าซื้อที่ดินในนามจำเลยจนได้กรรมสิทธิ์ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนเช่าซื้อที่ดิน (ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือ) จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนประโยชน์ให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเมื่อโจทก์เรียกร้อง จำเลยจะยกเอาเหตุการณ์ตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือขึ้นอ้างหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 262/2493)
หนังสือซึ่งไม่มีข้อความแสดงถึงการระงับข้อพิพาท ไม่อาจถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดี (ในฐานะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ) ไม่ได้
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแล้ว จะฟ้องบิดาซึ่งเป็นผู้บุพพการีมิได้ เป็นคดีอุทลุมต้องห้าม แม้บุตรยังเป็นผู้เยาว์และมีผู้แทนโดยชอบธรรมผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีอำนาจฟ้องแทนดุจเดียวกัน
แม้โจทก์จะไม่มีหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนเช่าซื้อที่ดิน (ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือ) จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนประโยชน์ให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเมื่อโจทก์เรียกร้อง จำเลยจะยกเอาเหตุการณ์ตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือขึ้นอ้างหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 262/2493)
หนังสือซึ่งไม่มีข้อความแสดงถึงการระงับข้อพิพาท ไม่อาจถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดี (ในฐานะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ) ไม่ได้
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแล้ว จะฟ้องบิดาซึ่งเป็นผู้บุพพการีมิได้ เป็นคดีอุทลุมต้องห้าม แม้บุตรยังเป็นผู้เยาว์และมีผู้แทนโดยชอบธรรมผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีอำนาจฟ้องแทนดุจเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370-371/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดตึกที่สร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิในทรัพย์สินระหว่างสัญญาเช่ายังไม่ครบอายุ
ผู้ร้องทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกแถวที่โจทก์นำยึดมีกำหนด 15 ปีโดยจดทะเบียนการเช่ามีข้อสัญญาว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า 3 ครั้งติดๆ กันยอมยกสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีนำยึดตึกแถวพิพาทจำเลยยังไม่ผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยยังไม่ผิดสัญญาตึกพิพาทยังเป็นของผู้ร้องผู้ให้เช่าอยู่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมายหรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
จำเลยปลูกสร้างตึกพิพาทลงในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 15 ปีจึงจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบอายุตึกพิพาทยังไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน
จำเลยปลูกสร้างตึกพิพาทลงในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 15 ปีจึงจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบอายุตึกพิพาทยังไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับตามคำพิพากษาขับไล่: ครอบคลุมถึงบริวารจำเลย แม้สิทธิในทรัพย์สินเปลี่ยนมือ
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทแล้วคำพิพากษานี้ย่อมมีผลบังคับถึงบริวารจำเลยด้วย แม้ห้องแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทจะหลุดเป็นสิทธิของบุคคลอื่นก็ตาม บริวารจำเลยก็ยังมีหน้าที่ออกไปจากที่พิพาท และโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับให้บริวารจำเลยออกจากที่พิพาทตามคำพิพากษาของศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงบริวาร: แม้สิทธิในทรัพย์สินเปลี่ยนมือ บริวารยังต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาขับไล่
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทแล้ว. คำพิพากษานี้ย่อมมีผลบังคับถึงบริวารจำเลยด้วย. แม้ห้องแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทจะหลุดเป็นสิทธิของบุคคลอื่นก็ตาม. บริวารจำเลยก็ยังมีหน้าที่ออกไปจากที่พิพาท และโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับให้บริวารจำเลยออกจากที่พิพาทตามคำพิพากษาของศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้อยู่กินร่วมกัน และการฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-900/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส มิฉะนั้นสิทธิในทรัพย์สินส่วนที่เกินส่วนของตนจะตกแก่คู่สมรส
ที่ว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 นั้น แม้ทรัพย์สินตามพินัยกรรมจะมีค่าไม่เกินสินบริคณห์ส่วนของตนก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ได้มีการแบ่งทรัพย์สินบริคณห์ระหว่างกัน ทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็ยังเป็นสินสมรสซึ่งสามีหรือภริยายังมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรค 2 พินัยกรรมนั้นก็มีผลให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมเพียงตามส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินพิพาทกรณีครอบครองร่วมและไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของร่วม ศาลฎีกาวินิจฉัยยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากกนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของคู่ความมาลอย ๆ โดยมิได้อ้างเหตุก็ตาม คู่ความก็ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินพิพาทระหว่างผู้ครอบครองกับผู้มีสิทธิตามกฎหมาย การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของคู่ความมาลอยๆ โดยมิได้อ้างเหตุก็ตาม คู่ความก็ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, พินัยกรรม, การครอบครอง และการเพิกถอนพินัยกรรม: สิทธิในทรัพย์สินหลังการสมรส
สามีภริยาซึ่งทำการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สินสมรสของภริยามีอยู่ 1 ใน3 และของสามีมีอยู่ 2 ใน 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาท ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกาผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาท ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกาผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้