คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าสูญหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งหลายทอด: ผู้ขนส่งร่วมรับผิดชอบความเสียหายจากการสูญหายของสินค้า
การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองซานโจอันประเทศปัวโตริโก้ โดยจำเลยที่ 1 จัดหารถบรรทุกไปขนสินค้าจากโรงงานของผู้ว่าจ้างไปยังสนามบินกรุงเทพ แล้วว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนส่งสินค้านั้นทางอากาศต่อไปอีกทอดหนึ่งเพื่อส่งมอบแก่บริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด เมืองนิวยอร์ก และบริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด รับสินค้าและดำเนินการให้บริษัทอเมริกันแอร์ไลน์ จำกัด ขนส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง ดังนี้ถือเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด เมื่อสินค้าสูญหายไปในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, สลักหลังใบตราส่ง, สินค้าสูญหาย, รับช่วงสิทธิ, กฎหมายไทยบังคับ
จำเลยให้การเพียงว่าการที่ผู้ส่งเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งออกใบตราส่งให้กับยึดถือใบตราส่งนั้นไว้เป็นหลักฐานโดยไม่คัดค้านและนำใบตราส่งนั้นมาแสดงต่อธนาคารเพื่อรับเงินค่าสินค้า เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่า ผู้ส่งยอมรับรู้ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ระบุไว้หลังใบตราส่งฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ส่งยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างหากยอมรับไว้ล่วงหน้าถึงบรรดาข้อจำกัดความรับผิดต่าง ๆที่จำเลยระบุไว้ในใบตราส่งในขณะรับขน จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
การที่ผู้ส่งลงนามและประทับตรากับแจ้งภูมิลำเนาไว้หลังใบตราส่งนั้นเป็นการสลักหลังใบตราส่งเมื่อได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคารแล้วเพื่อส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้าและให้ผู้สั่งซื้อสินค้าชำระเงินผ่านธนาคารก่อนที่จะไปรับสินค้าและจัดส่งใบตราส่งคืนจำเลยผู้รับขนเพื่อปล่อยสินค้าต่อไป จึงมิใช่กรณีที่ผู้ส่งตกลงลงนามยอมรับเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าไว้หลังใบตราส่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625
คำว่า 'ของมีค่าอย่างอื่น ๆ ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรานี้สินค้าทังสเตนคาร์ไบด์ไม่เป็นสิ่งของมีค่าพิเศษในลักษณะดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าซึ่งหากจำเลยผู้ขนส่งมิได้รับบอกราคาของไว้ในขณะส่งมอบแก่ตนแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 357/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้า การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการสูญหายของสินค้า
จำเลยให้การเพียงว่าการที่ผู้ส่งเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งออกใบตราส่งให้กับยึดถือใบตราส่งนั้นไว้เป็นหลักฐานโดยไม่คัดค้านและนำใบตราส่งนั้นมาแสดงต่อธนาคารเพื่อรับเงินค่าสินค้า เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่า ผู้ส่งยอมรับรู้ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ระบุไว้หลังใบตราส่งฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ส่งยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างหากยอมรับไว้ล่วงหน้าถึงบรรดาข้อจำกัดความรับผิดต่าง ๆที่จำเลยระบุไว้ในใบตราส่งในขณะรับขน จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
การที่ผู้ส่งลงนามและประทับตรากับแจ้งภูมิลำเนาไว้หลังใบตราส่งนั้นเป็นการสลักหลังใบตราส่งเมื่อได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคารแล้วเพื่อส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้าและให้ผู้สั่งซื้อสินค้าชำระเงินผ่านธนาคารก่อนที่จะไปรับสินค้าและจัดส่งใบตราส่งคืนจำเลยผู้รับขนเพื่อปล่อยสินค้าต่อไป จึงมิใช่กรณีที่ผู้ส่งตกลงลงนามยอมรับเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าไว้หลังใบตราส่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625
คำว่า 'ของมีค่าอย่างอื่น ๆ ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 หมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรานี้สินค้าทังสเตนคาร์ไบด์ไม่เป็นสิ่งของมีค่าพิเศษในลักษณะดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าซึ่งหากจำเลยผู้ขนส่งมิได้รับบอกราคาของไว้ในขณะส่งมอบแก่ตนแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิด.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่357/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิด
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไปไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส.อันจะต้องรับผิดต่อบริษัทส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617,618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616,625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอด กรณีสินค้าสูญหาย และข้อยกเว้นความรับผิดที่ไม่ชัดเจน
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่า ทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้าแจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือจำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบ แทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่าผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตก เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าสูญหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่ง
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือ จำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม
การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่า ผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์: ผู้ส่งบรรจุและนับ (Shipper's Load and Count) ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดหากสินค้าสูญหายระหว่างที่ตู้สภาพเรียบร้อย
การขนส่งทางทะเลซึ่งมีลักษณะการส่งของเป็นตู้คอนเทนเนอร์และภายในบรรจุสินค้าไว้และใบตราส่งระบุข้อความว่า 'ผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและนับ'(SHIPPER'SLOADANDCOUNT)นั้น หากว่าตู้คอนเทนเนอร์มาถึงจุดหมายปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่ามีการเปิดในระหว่างทางมาก่อน แม้สินค้าจะขาดหายไปผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่ง(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสินค้าสูญหาย: การลงทะเบียนไม่ประกัน, การแจ้งราคา, และผู้รับขน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงใน ใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่ง เอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่1 แล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876-2877/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้าสูญหาย ผู้รับขนต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าตามสัญญา แม้จะอ้างว่าไม่ได้ตรวจสอบ
ในกรณีรับขน สิทธิของผู้ส่งจะตกเป็นของผู้รับตราส่งต่อเมื่อสินค้าไปถึงตำบลที่กำหนดไว้และผู้รับตราส่งเรียกให้ส่งมอบแล้ว กรณีที่สินค้าสูญหายระหว่างการรับขน ส่งสินค้า โจทก์ได้มอบสินค้าให้จำเลยส่งไปให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นในใบตราส่ง ก็ได้ระบุข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับการ ส่งสินค้าตลอดจนค่าขนส่งฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์อย่างใด แม้จะกล่าวในตอนท้ายว่าการกระทำละเมิดของจำเลยทำให้โจทก์ ไม่ได้รับเงินจากลูกค้าก็เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์มุ่งประสงค์จะให้จำเลย รับผิดตามสัญญารับขน
สินค้าที่จำเลยรับขนคือพลอยหาใช่หีบห่อหรือกล่องที่ใส่พลอยไม่ เมื่อส่งไปถึงผู้รับตราส่งคงมีแต่หีบห่อหรือกล่องเปล่าย่อมจะถือว่า ของส่งถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้ว ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 หา ได้ไม่
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยได้ส่งมอบสินค้าหรือวันที่ควรจะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งแต่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลยในฐานะผู้ขนส่งฎีกาของจำเลยจึงแตกต่างไปจากที่จำเลยเคยให้การต่อสู้คดีไว้หาใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่สามารถขนส่งสินค้า ของโจทก์ไปให้ลูกค้าได้ตามสัญญาเพราะสินค้าสูญหาย ไปค่าเสียหาย ที่โจทก์เรียกร้องมาในคำฟ้องก็คือราคาสินค้าตามที่กำหนดไว้ใน ใบกำกับสินค้าหากจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์เรียกร้องสูงเกินไป จำเลยก็อาจให้การต่อสู้คดีและนำสืบให้เห็นเช่นนั้นได้โจทก์หาจำต้องระบุรายละเอียดมาในคำฟ้องว่าราคาสินค้าที่เรียกร้องเป็นราคาต้นทุนเท่าใด กำไรเท่าใดไม่ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามใบตราส่งที่จำเลยออกให้โจทก์เห็นได้ว่า จำเลยรับขนส่งสินค้า ซึ่งระบุว่าเป็นพลอย เป็นสินค้ามีค่าได้กำหนดราคาสินค้าและเสีย ค่าขนส่งพิเศษสำหรับสินค้ามีค่าจำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งพลอย ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งไปให้ผู้รับตราส่งตามที่ได้สัญญาไว้แก่โจทก์ หน้าที่ของจำเลยมิใช่มีเพียงแต่ขนส่งกล่องสินค้าโดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าในกล่องจะมีอยู่หรือไม่ เมื่อสินค้าสูญหายไปไม่ถึงผู้รับตราส่ง จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 616 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะอ้างว่าจำเลยรับสินค้ามาในสภาพที่อยู่ในหีบห่อเรียบร้อยจำเลย มิได้รู้เห็นในการบรรจุสินค้า จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ ทั้งข้ออ้างดังกล่าวก็ขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยซึ่งยอมรับว่าได้ทำสัญญารับขนพลอย ตามรายการที่โจทก์ฟ้องแต่อ้างว่าได้ส่งสินค้าไปถึงจุดหมายปลายทาง โดยไม่มีการสูญหายแล้ว
แม้ราคาสินค้าที่โจทก์เรียกจากจำเลยจะรวมกำไรค่าประกันภัย และค่าขนส่งด้วยแต่ก็เป็นราคาสินค้าที่โจทก์ขายให้แก่ผู้ซื้อซึ่งโจทก์ มีสิทธิได้รับหากมีการ ขนส่งถึงมือผู้ซื้อและราคาจำนวนนี้ได้ระบุไว้ ในใบตราส่งซึ่งถือเสมือนสัญญารับขนระหว่างโจทก์จำเลยทั้งจำเลย ก็มิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์มิได้เสียหายตามจำนวนดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายตามจำนวนที่เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876-2877/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิและความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อสินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง และอายุความการฟ้องร้อง
ในกรณีรับขน สิทธิของผู้ส่งจะตกเป็นของผู้รับตราส่งต่อเมื่อสินค้าไปถึงตำบลที่กำหนดไว้และผู้รับตราส่งเรียกให้ส่งมอบแล้ว กรณีที่สินค้าสูญหายระหว่างการรับขนสิทธิของผู้ส่งหาตกเป็นของ ผู้รับตราส่งไม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประกอบธุรกิจขนส่งสินค้า โจทก์ได้มอบสินค้า ให้จำเลยส่งไปให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นในใบตราส่ง ก็ได้ระบุข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับการ ส่งสินค้าตลอดจน ค่าขนส่งฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์อย่างใด แม้จะกล่าวในตอนท้ายว่าการกระทำละเมิดของจำเลยทำให้โจทก์ ไม่ได้รับเงินจากลูกค้าก็เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์มุ่งประสงค์จะให้จำเลย รับผิดตามสัญญารับขน สินค้าที่จำเลยรับขนคือพลอยหาใช่หีบห่อหรือกล่องที่ใส่พลอยไม่ เมื่อส่งไปถึงผู้รับตราส่งคงมีแต่หีบห่อหรือกล่องเปล่าย่อมจะถือว่า ของส่งถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 หา ได้ไม่ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยได้ส่งมอบสินค้าหรือวันที่ควรจะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งแต่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลยในฐานะผู้ขนส่งฎีกาของจำเลยจึงแตกต่างไปจากที่จำเลยเคยให้การต่อสู้คดีไว้หาใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่สามารถขนส่งสินค้า ของโจทก์ไปให้ลูกค้าได้ตามสัญญาเพราะสินค้าสูญหาย ไปค่าเสียหาย ที่โจทก์เรียกร้องมาในคำฟ้องก็คือราคาสินค้าตามที่กำหนดไว้ใน ใบกำกับสินค้าหากจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์เรียกร้องสูงเกินไป จำเลยก็อาจให้การต่อสู้คดีและนำสืบให้เห็นเช่นนั้นได้โจทก์หาจำต้องระบุรายละเอียดมาในคำฟ้องว่าราคาสินค้าที่เรียกร้องเป็นราคาต้นทุนเท่าใด กำไรเท่าใดไม่ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามใบตราส่งที่จำเลยออกให้โจทก์เห็นได้ว่า จำเลยรับขนส่งสินค้า ซึ่งระบุว่าเป็นพลอย เป็นสินค้ามีค่าได้กำหนดราคาสินค้าและเสีย ค่าขนส่งพิเศษสำหรับสินค้ามีค่าจำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งพลอย ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งไปให้ผู้รับตราส่งตามที่ได้สัญญาไว้แก่โจทก์ หน้าที่ของจำเลยมิใช่มีเพียงแต่ขนส่งกล่องสินค้าโดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าในกล่องจะมีอยู่หรือไม่ เมื่อสินค้าสูญหายไปไม่ถึงผู้รับตราส่ง จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา616 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะอ้างว่าจำเลยรับสินค้ามาในสภาพที่อยู่ในหีบห่อเรียบร้อยจำเลย มิได้รู้เห็นในการบรรจุสินค้า จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ ทั้งข้ออ้างดังกล่าวก็ขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยซึ่งยอมรับว่าได้ทำสัญญารับขนพลอย ตามรายการที่โจทก์ฟ้องแต่อ้างว่าได้ส่งสินค้าไปถึงจุดหมายปลายทาง โดยไม่มีการสูญหายแล้ว แม้ราคาสินค้าที่โจทก์เรียกจากจำเลยจะรวมกำไรค่าประกันภัย และค่าขนส่งด้วยแต่ก็เป็นราคาสินค้าที่โจทก์ขายให้แก่ผู้ซื้อซึ่งโจทก์ มีสิทธิได้รับหากมีการ ขนส่งถึงมือผู้ซื้อและราคาจำนวนนี้ได้ระบุไว้ ในใบตราส่งซึ่งถือเสมือนสัญญารับขนระหว่างโจทก์จำเลยทั้งจำเลย ก็มิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์มิได้เสียหายตามจำนวนดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายตามจำนวนที่เรียกร้อง
of 8