พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหลังการเลิกจ้าง โดยหักวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 1 และ 16 ของเดือน วันทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 แม้วันที่ 16 พฤศจิกายน 2529 จะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์และมีการจ่ายสินจ้างในวันที่ 17 ก็ตาม การเลิกจ้างก็ย่อมมีผลในวันที่ 16 ธันวาคม 2529 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปและต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถึงงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2529 รวมเป็น 29 วัน แต่โดยที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 4 วัน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 25 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและการรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน
จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนให้โจทก์เดือนละ 2 ครั้งในวันที่ 16 และวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนซึ่งเป็นวันสิ้นเดือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 ซึ่งเป็นวันสิ้นเดือนโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือถึงวันที่ 16 มีนาคม 2531
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินค้าแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ แม้จำเลยจะมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่โจทก์ขอก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ขอมา ศาลแรงงานก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิได้
จำเลยนำสืบพยานเอกสารโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานสามวัน แต่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงหาขัดต่อประมวลกฎมหายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรกไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินค้าแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ แม้จำเลยจะมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่โจทก์ขอก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ขอมา ศาลแรงงานก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิได้
จำเลยนำสืบพยานเอกสารโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานสามวัน แต่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงหาขัดต่อประมวลกฎมหายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างบังคับลูกจ้างทำทัณฑ์บนไม่ได้ ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ทัณฑ์บนเป็นหนังสือที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายทำให้แก่นายจ้างไว้เองด้วยความสมัครใจ โดยมีคำรับรองว่าลูกจ้างจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก นายจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะบังคับลูกจ้างให้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่ตนได้ การที่นายจ้างทำหนังสือทัณฑ์บนขึ้น แต่ลูกจ้างไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่อง/ขาดช่วง, การเลิกจ้าง, สิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์คงจ้าง ต่อมาอีก กรณีต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ต่อไปใหม่ โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีปัญหาด้านการเงินดังนี้เป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด และไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างขาดช่วงไม่ต่อเนื่องกันต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาการจ้างของสัญญาแต่ละฉบับ ปัญหาว่าสัญญาจ้างเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยเท็จและการเลิกจ้าง: นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้
ลูกจ้างเป็นลูกจ้างประจำรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างยื่นใบลาป่วย 1 วันเป็นเท็จ และนายจ้างไม่อนุมัติให้ลานั้น ถือว่าลูกจ้างขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ซึ่งนายจ้างมีสิทธิตัดค่าจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานแต่เมื่อนายจ้างมิได้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นกรณีนายจ้างไม่ใช้สิทธิของตนเอง จะอ้างว่าลูกจ้างแสวงหาประโยชน์จากค่าจ้างซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือฉ้อโกงและไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ แต่การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้างละทิ้งการงานไปเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรม แม้การบอกกล่าวไม่ถูกต้อง การจ่ายเงินชดเชยถือเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่อยู่ที่วิธีการบอกกล่าวเลิกจ้าง ถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยมีเหตุเพียงพอแล้ว แม้วิธีการบอกกล่าวเลิกจ้างจะมิชอบ ก็หาทำให้กลายเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิได้บอกกล่าวล่วงหน้า แต่ได้จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้อีก 1 เดือน เงินจำนวนนี้ เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างและโจทก์ไม่ได้ทำงาน กับจำเลยแล้วจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ถือได้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นการ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง 13 วัน แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 1 เดือน และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยกเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยพ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การที่ได้มี พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2528ใช้บังคับ ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยเลิกกิจการเพื่อสะสาง กิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลไปเท่านั้น มาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวให้พึงถือว่าจำเลยยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นต้องชำระบัญชี หามีผลทำให้ลูกจ้างของลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างไปในทันทีไม่ จำเลยจึงต้องบอกเลิกจ้างลูกจ้างและอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 582.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไป ใหม่ได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไปใหม่ได้ตามมาตรา41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสินจ้างพิเศษจากกำไร: สินจ้างชนิดอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 มีอายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นลูกจ้างบริษัทจำเลย เรียกร้องเอาเงินตอบแทนพิเศษจากกำไรสุทธิทางบัญชีตามสัญญาจากจำเลย จึงเป็นการเรียกร้องเอาสินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(8) มีอายุความ 2 ปี หาใช่อายุความ 10 ปีไม่.