พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ที่ไม่มีมูล
สิทธิการเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ น. แม้จะปรากฏว่า น. โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวมิใช่การโอนโดยเสน่หา น. จึงสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (5) โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ น. เมื่อ น. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่มีสิทธิการเช่าตกทอดเป็นมรดกแก่โจทก์ที่ 2 ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ขาดองค์ประกอบความผิดที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนสิทธิการเช่าต่อมาจากจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 350
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลความผิดทางอาญา คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองย่อมไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลความผิดทางอาญา คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองย่อมไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสที่ดินพิพาท การซื้อขายโดยไม่สุจริตและผลของการเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 1 และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 1476(1) และเมื่อจำเลยที่ 2เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การโต้แย้งสิทธิ, เพิกถอนนิติกรรม: กรณีจำเลยขายทรัพย์สินส่วนของโจทก์โดยไม่ยินยอม
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้นเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสามไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ซึ่งหากฟังได้ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295-2296/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิภริยาในสินสมรส, ภาระหนี้สิน, และอำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก
การจัดการมรดกนั้นหาใช่ว่ามุ่งจะรับทรัพย์มรดกโดยถ่ายเดียวหาได้ไม่ หากผู้ตายมีหนี้สินก็มีหน้าที่ต้องรวบรวมทรัพย์มรดกใช้หนี้ด้วยเหลือจากการชำระหนี้เท่าใดจึงเป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งกันได้ เหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายตกลงกันไม่ได้เพราะทางฝ่ายผู้ร้องจะรับเฉพาะทรัพย์สิน ส่วนที่เป็นหนี้สินจะให้ทางฝ่ายผู้คัดค้านเป็นผู้รับไปฝ่ายเดียว ฉะนั้น หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีปัญหาในการจัดการมรดก ประการแรกคือ ผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าผู้ตายมีทรัพย์สินอะไรและอยู่ที่ใดบ้างและประการที่สองคือเจ้าหนี้ก็มุ่งที่จะทวงหนี้ต่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาร่วมรู้เห็นในการสร้างหนี้กันมาในระหว่างสมรส จึงย่อมไม่สะดวกต่อการจัดการทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านจึงสมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและผลของการขายสินสมรสโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคู่สมรส
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 29 มิถุนายน 2535ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2499ที่ใช้บังคับอยู่บัญญัติให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ก่อนเสร็จการสืบพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนแม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้ความใหม่แทนแล้วก็ตาม แต่มาตรา 18 บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และแม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2538 ใช้บังคับโดยมาตรา 3 ให้ยกเลิกมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ก็มิได้ยกเลิกมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลก่อนเสร็จการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ อ. หญิงมีสามีขายที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1462(เดิม) ให้แก่จำเลย เป็นการกระทำที่ผูกพันสินบริคณห์ตามมาตรา 38(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นซึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของ ล. สามี หากกระทำโดยมิได้รับอนุญาตก็จะตกเป็นโมฆียะ อันเป็นเรื่องความสามารถไม่ใช่แบบที่กฎหมายกำหนด แม้ไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่าง อ. กับจำเลยตกเป็นโมฆะ
การที่ อ. หญิงมีสามีขายที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1462(เดิม) ให้แก่จำเลย เป็นการกระทำที่ผูกพันสินบริคณห์ตามมาตรา 38(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นซึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของ ล. สามี หากกระทำโดยมิได้รับอนุญาตก็จะตกเป็นโมฆียะ อันเป็นเรื่องความสามารถไม่ใช่แบบที่กฎหมายกำหนด แม้ไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่าง อ. กับจำเลยตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามเดิม เนื่องจากเห็นควรให้แบ่งสินสมรสเป็นธรรม
โจทก์จำเลยเคยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาหย่าขาดกัน โจทก์และจำเลยพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 750,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 375,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์หนึ่งในสามเป็นเงิน 250,000 บาท โจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์กึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 125,000 บาท แม้ไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านพิพาท: การพิสูจน์สิทธิในสินสมรสและการแบ่งทรัพย์สิน
แม้โจทก์ จำเลย และ ย. ซึ่งเป็นบิดาของจำเลย จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1357 ว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็ตามแต่ข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดโจทก์สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อพฤติการณ์แสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยโดย ย. เพียงแต่มีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินพิพาทเพื่อการเสนอธนาคารขออนุมัติกู้เงิน ย. จึงหาได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่อย่างใดไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสกึ่งหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ให้จำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 375,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์หนึ่งในสามเป็นเงิน 250,000 บาทโจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 125,000 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ดังกล่าว และแม้ไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ให้จำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 375,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์หนึ่งในสามเป็นเงิน 250,000 บาทโจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 125,000 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ดังกล่าว และแม้ไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้บุตรนอกกฎหมาย การให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและการพิจารณาฐานะของคู่สมรส
โจทก์ฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ว. ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของ ว. โดยเสน่หาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ และทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยว่า การให้ดังกล่าวเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวอันเป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักที่ว่าทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดาว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่งว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดาว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่งว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7197/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องสินสมรส: การให้การไม่ชัดเจนทำให้ศาลไม่ถือว่าเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยให้การเพียงว่า พ.ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนเนื้อที่ 1 งานในโฉนดเลขที่ 4866 ให้แก่ ย.สามีจำเลย และที่ดินดังกล่าวต่อมาทำการแบ่งแยกเป็นที่ดินพิพาทแปลงโฉนดเลขที่ 10442 จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ย.และจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจาก พ.หรือที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ย.และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันที่จำเลยให้การว่า ย.ซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ก็ได้ความว่าย.อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยภายหลัง ป.พ.พ.บรรพ 5 ใช้บังคับ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส ย.กับจำเลยจึงไม่ใช่สามีภริยากันตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ใช่การกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากันถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ย.ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากันถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ย.ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การชำระหนี้ครบถ้วนในคดีหย่า ทำให้ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินสินสมรสได้อีก
ในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ หากแต่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับ ธ. ซึ่งเป็นสามีซื้อมาในระหว่างสมรสแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นน้อง ธ. ไว้แทนจึงเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์กับ ธ. หย่ากันจึงต้องแบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ถ้าไม่ยอมแบ่งก็ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ซึ่งในการแบ่งทรัพย์สินที่ดินแปลงนี้ก็มีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลในชั้นบังคับคดีและศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้องและ ธ. ยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ ถือได้ว่า ธ. ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่อาจที่จะร้องขอให้ขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาได้อีกต่อไป ในคดีนี้โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสในคดีเดิมให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะชนะคดีนี้ในชั้นฎีกา โจทก์ก็ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้ คดีของโจทก์จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่การจะจำหน่ายคดีไปโดยให้คงคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทคืนโจทก์กึ่งหนึ่งไว้ก็เป็นการไม่ชอบเพราะเท่ากับให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้อีก จึงเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3