คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ่งปลูกสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น การรับผิดของผู้ขายและสิทธิของผู้ซื้อ
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476
จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้ว ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไป พร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น ผู้ซื้อทราบข้อเท็จจริงก่อนทำสัญญา ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
หนังสือที่จำเลยที่1มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่1ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อมีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าการตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่2พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่1ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วเพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่1ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่2ในที่ดินที่ซื้อแล้วแม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา461และ462และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา475แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่2อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรเครื่องชั่งและค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา476 จำเลยที่2รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุขย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่1ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคารเครื่องจักรและเครื่องชั่งของจำเลยที่2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่1ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินจำเลยที่2จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่2รื้อถอนไปภายใน15วันและจำเลยที่2ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่26พฤษภาคม2533จำเลยที่2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่27พฤษภาคม2533เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การตีความข้อตกลงเรื่องสิ่งปลูกสร้างก่อนและหลังสัญญา
ข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าที่ดินว่าเมื่อสิ้นอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่าต้องรื้อออกจากที่ดินของผู้ให้เช่าทันทีโดยไม่เรียกร้องค่ารื้อถอนหรือค่าเสียหายใดจากผู้ให้เช่าส่วนสิ่งที่ได้ปลูกสร้างลงไว้ในที่ดินของผู้ให้เช่าผู้เช่ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นนั้นเป็นข้อความที่ระบุถึงสิ่งก่อสร้างไว้เป็นสองตอนตอนแรกระบุให้ผู้เช่าต้องรื้อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงตอนหลังระบุถึงสิ่งที่ผู้เช่าปลูกสร้างว่าผู้เช่าต้องยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าข้อความทั้งสองตอนมีความหมายที่แตกต่างกันคือข้อความตอนแรกไม่ได้กล่าวถึงการปลูกสร้างแต่กล่าวถึงการรื้อถอนเลยแสดงว่าขณะทำสัญญาเช่าที่ดินในที่พิพาทมีสิ่งปลูกสร้างของผู้เช่าอยู่ก่อนแล้วซึ่งก็คือบ้านพิพาทเลขที่354และ356ของจำเลยเพราะบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวจำเลยปลูกสร้างก่อนทำสัญญาเช่าที่ดินสำหรับข้อความในตอนหลังคู่สัญญาน่าจะหมายถึงสิ่งที่จะปลูกสร้างหลังจากทำสัญญาเช่าที่ดินแล้วดังนั้นบ้านพิพาททั้งสองหลังจึงยังไม่เป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าที่ดินโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะหารายได้จากบ้านพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในความเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างบกพร่อง และการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเสาโครงเหล็กและตาข่ายสนามฝึกกอล์ฟซึ่งจำเลยที่ 2 ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ออกแบบโครงสร้างได้ออกแบบผิดพลาดมาตั้งแต่แรกและไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาที่จะรับแรงปะทะจากพายุธรรมดาได้ ทั้งก่อนเกิดเหตุได้มีสัญญาณบอกเหตุว่าโครงเหล็กบางส่วนล้มลง แม้ผู้รับเหมาก่อสร้างได้เสริมเหล็กค้ำยันโครงเหล็กก็กระทำเพียงบางส่วน แต่โครงสร้างยังเหมือนเดิม เมื่อปรากฏว่าพายุฝนในวันเกิดเหตุเป็นพายุฝนที่เกิดขึ้นตามธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ ทำให้โครงเหล็กและตาข่ายซึ่งก่อสร้างไว้บกพร่องล้มลงทับคลังสินค้า ซึ่งมีสต็อกสินค้าของบริษัทล.ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 434 วรรคหนึ่ง
แม้ว่าตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยได้ระบุไว้ในช่องหมายเหตุว่าการประกันภัยรายนี้ได้ขยายความคุ้มครองการสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดขึ้นจากลมพายุ ฯลฯ เปียกน้ำ ฯลฯ ตามเงื่อนไขแนบท้ายกรมธรรม์ ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากภัยพายุที่ทำให้สต็อกสินค้าของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายไม่เกี่ยวกับการกระทำของบุคคลภายนอกก็ตาม แต่พายุฝนที่เกิดขึ้นทำให้เสาโครงเหล็กและตาข่ายซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างของจำเลยที่ 2 ล้มทับคลังสินค้า เป็นเหตุให้สต็อกสินค้าของบริษัท ล.เปียกน้ำฝนได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 2 เจ้าของสิ่งก่อสร้างต้องรับผิดชอบ โจทก์ซึ่งรับประกันอัคคีภัยสต็อกสินค้าและประกันภัยความเสียหายต่อเนื่องจากบริษัทดังกล่าวและกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองจากภัยอันเกิดจากพายุและน้ำฝน จึงเป็นผลต่อเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2นั่นเอง เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ล.แล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล. ผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกเพียงนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากสิ่งปลูกสร้างบกพร่อง, การประกันภัย, และสิทธิเรียกร้องทดแทนความเสียหาย
จำเลยเป็นเจ้าของเสาโครงเหล็กและตาข่ายสนามฝึกกอล์ฟซึ่งมีการออกแบบโครงสร้างผิดพลาดและไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาที่จะรับแรงปะทะจากพายุธรรมดาได้เมื่อมีพายุฝนเป็นธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติทำให้โครงเหล็กและตาข่ายซึ่งก่อสร้างไว้บกพร่องล้มลงทับคลังสินค้าซึ่งมีสต๊อกสินค้าของบริษัทล. ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา434วรรคหนึ่ง ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยได้ระบุไว้ว่าการประกันภัยรายนี้ได้ขยายความคุ้มครองการสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดขึ้นจากลมพายุฯลฯเปียกน้ำด้วยเมื่อเกิดพายุฝนขึ้นทำให้เสาโครงเหล็กและตาข่ายของจำเลยล้มทับคลังสินค้าเป็นเหตุให้สต็อกสินค้าของบริษัทล. ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้เปียกน้ำฝนซึ่งจำเลยเจ้าของสิ่งก่อสร้างต้องรับผิดชอบเมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทล.แล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล.ซึ่งมีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดต่อความเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างบกพร่อง ทำให้สต็อกสินค้าเสียหาย โจทก์มีสิทธิรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่2เป็นเจ้าของเสาโครงเหล็กและตาข่ายสนามฝึกกอล์ฟซึ่งจำเลยที่2ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ออกแบบโครงสร้างได้ออกแบบผิดพลาดมาตั้งแต่แรกและไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาที่จะรับแรงปะทะจากพายุธรรมดาได้ทั้งก่อนเกิดเหตุได้มีสัญญาณบอกเหตุว่าโครงเหล็กบางส่วนล้มลงแม้ผู้รับเหมาก่อสร้างได้เสริมเหล็กค้ำยันโครงเหล็กก็กระทำเพียงบางส่วนแต่โครงสร้างยังเหมือนเดิมเมื่อปรากฏว่าพายุฝนในวันเกิดเหตุเป็นพายุฝนที่เกิดขึ้นตามธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติทำให้โครงเหล็กและตาข่ายซึ่งก่อสร้างไว้บกพร่องล้มลงทับคลังสินค้าซึ่งมีสต๊อกสินค้าของบริษัทล. ได้รับความเสียหายจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา434วรรคหนึ่ง แม้ว่าตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยได้ระบุไว้ในช่องหมายเหตุว่าการประกันภัยรายนี้ได้ขยายความคุ้มครองการสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดขึ้นจากลมพายุฯลฯเปียกน้ำฯลฯตามเงื่อนไขแนบท้ายกรมธรรม์ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากภัยพายุที่ทำให้สต็อกสินค้าของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายไม่เกี่ยวกับการกระทำของบุคคลภายนอกก็ตามแต่พายุฝนที่เกิดขึ้นทำให้เสาโครงเหล็กและตาข่ายซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างของจำเลยที่2ล้มทับคลังสินค้าเป็นเหตุให้สต๊อกสินค้าของบริษัทล. เปียกน้ำฝนได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยที่2เจ้าของสิ่งก่อสร้างต้องรับผิดชอบโจทก์ซึ่งรับประกันอัคคีภัยสต็อกสินค้าและประกันภัยความเสียหายต่อเนื่องจากบริษัทดังกล่าวและกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัยให้ความคุ้มครองภัยอันเกิดจากพายุและน้ำฝนจึงเป็นผลต่อเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่2นั่นเองเมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทล. แล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล. ผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อจำเลยที่2บุคคลภายนอกเพียงนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, การหักลบราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยค่าทดแทน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดิน ค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วย การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 21 วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผูกพันจำเลยแม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโดยตรง
ป.พ.พ.มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น แต่ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินก่อนที่จะมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ขณะปลูกสร้างยังไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันอย่างไรหรือไม่ หลังจากแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วจึงทราบว่าส่วนที่เป็นครัวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ก. ซึ่งที่ดินส่วนของ ก.นี้ ต่อมาได้ขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวมิได้เกิดจากการที่จำเลยเป็นผู้สร้างโรงเรือน หากแต่เกิดจากการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม กรณีตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 1312 ดังกล่าวข้างต้น
ก่อนมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่างมีข้อตกลงกันให้เจ้าของรวมแต่ละคนรื้อถอนบ้านสิ่งปลูกสร้างไปปลูกในที่ดินส่วนของตน ซึ่งทั้ง ก.และส.เจ้าของรวมต่างก็ได้รื้อถอนบ้านจากที่เดิมไปปลูกในที่ดินส่วนของตนแล้ว คงเหลือแต่จำเลยเท่านั้นที่ยังไม่ได้รื้อถอนครัวที่รุกล้ำ แม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลย เพราะจำเลยมิได้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเพียงแต่มีสิทธิในที่ดินส่วนของ ท.ก็ตาม แต่การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของ ท.เจ้าของรวมคนหนึ่ง และแม้จำเลยจะปลูกสร้างโรงเรือนมาตั้งแต่ปี 2502 และครัวที่รุกล้ำปลูกสร้างมาก่อนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ก็หาทำให้ข้อตกลงในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ผูกพันจำเลยไม่ เมื่อ ก.เจ้าของที่ดินเดิมและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างยังผูกพัน แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นแต่ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินก่อนที่จะมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมขณะปลูกสร้างยังไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันอย่างไรหรือไม่หลังจากแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วจึงทราบว่าส่วนที่เป็นครัวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของก. ซึ่งที่ดินส่วนของก.นี้ต่อมาได้ขายให้แก่โจทก์จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการหากแต่เกิดจากการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมกรณีตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312ดังกล่าวข้างต้น ก่อนมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่างมีข้อตกลงกันให้เจ้าของรวมแต่ละคนรื้อถอนบ้านสิ่งปลูกสร้างไปปลูกในที่ดินส่วนของตนซึ่งทั้งก. และส. เจ้าของรวมต่างก็ได้รื้อถอนบ้านจากที่เดิมไปปลูกในที่ดินส่วนของตนแล้วคงเหลือแต่จำเลยเท่านั้นที่ยังไม่ได้รื้อถอนครัวที่รุกล้ำแม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยเพราะจำเลยมิได้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเพียงแต่มีสิทธิในที่ดินส่วนของท. ก็ตามแต่การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของท.เจ้าของรวมคนหนึ่งและแม้จำเลยจะปลูกสร้างโรงเรือนมาตั้งแต่ปี2502และครัวที่รุกล้ำปลูกสร้างมาก่อนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็หาทำให้ข้อตกลงในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ผูกพันจำเลยไม่เมื่อก.เจ้าของที่ดินเดิมและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไปจำเลยจึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้าง: การประเมินภาษีที่ดินต้องพิจารณาการใช้ประโยชน์จริง
ทรัพย์สินที่กำหนดตามมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 นั้นภาษีจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ส่วนทรัพย์สินตามมาตรา 6(2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 นั้นภาษีจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ซึ่งหลักเกณฑ์ของภาษีทั้งสองภาคนั้นกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกัน กรณีที่ดินที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่กระจัดกระจายกันไป มิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับสนามน็อกบอร์ดและมีถนนสาธารณะกั้นอยู่ระหว่างที่ว่างกับสนามดังกล่าว รวมทั้งพื้นที่ว่างนอกรั้วคลังพัสดุที่ใช้เก็บพัสดุสิ่งของต่าง ๆ มิได้ใช้เป็นที่เก็บพัสดุ หรือนำพัสดุมาตั้งไว้รอเก็บ หรือเป็นที่จอดรถยนต์เพื่อขนส่งพัสดุ อีกทั้งคลังพัสดุอยู่ห่างจากสนามเทนนิสและสนามน็อคบอร์ดประมาณ 800 เมตร ถึง 1,500 เมตรและอยู่แยกต่างหากจากโรงเรือนของโจทก์ มีถนน ทางรถไฟและคลองกั้นอยู่นั้น มิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสนามน็อกบอร์ด และคลังพัสดุอันเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ แม้โจทก์จะไม่สำแดงจำนวนเนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างไว้แต่ถ้าหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีที่ดินที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างแล้วจำเลยก็สามารถประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนนี้จากโจทก์ได้ ดังนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกับพื้นที่ของสนามน็อกบอร์ด แล้วประเมินภาษีตามภาค 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ในปีภาษี 2531-2533 และนำเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกับพื้นที่คลังพัสดุแล้วประเมินภาษีตามภาค 1 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ในปีภาษี 2534เช่นนี้ จึงเป็นการประเมินที่มิชอบด้วยกฎหมาย
of 33