คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ้นผล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขังผู้ต้องหาคดีปลงพระชนม์ และการสิ้นผลของคำร้องเมื่อถูกฟ้องดำเนินคดีแล้ว
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีที่ต้องหาว่าปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พ.ศ. 2491 เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ ต่อมาพนักงานอัยยการได้ฟ้องผู้ต้องหาเป็นจำเลยในความผิดที่+ศาลสั่งขังในระหว่างสอบสวนนั้น และศาลสั่งริบประทับฟ้องไว้แล้ว ดังนี้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์หรือผลแก่คดีของผู้ต้องหาอย่างใด ที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างเป็นโมฆะหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมราคาและการสิ้นผลของคำสั่งทางปกครอง: คำสั่งควบคุมราคาสิ้นสุดลงไม่ได้ทำให้ความผิดในอดีตสิ้นไปด้วย
เดิมมีประกาศควบคุมราคาขายปลีกไม้ขีดไฟจำเลยทำผิดประกาศนั้น แล้วต่อมามีประกาศให้ยกเลิกประกาศเดิมดังนี้ไม่ใช่มีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเดิมจำเลยไม่พ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมสิ้นผลเพราะมิได้ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง บัญญัติว่า "...สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว"นั้น หมายความถึงกรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น กรณีตามที่โจทก์อ้างเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามยทรัพย์ ส่วนภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิจึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิประเภทเดียวกับสิทธิของบุคคลภายนอกที่ยังไม่จดทะเบียน แต่เป็นกรณีที่มีนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของผู้ขายเดิมอันเป็นสามยทรัพย์ เมื่อผู้ขายเดิมได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์แก่โจทก์แล้ว ภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ ตามป.พ.พ. มาตรา 1393 วรรคหนึ่ง ซึ่งภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภาระจำยอมหรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1397 และ 1399 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภาระจำยอมได้สิ้นไปแล้วเพราะมิได้ใช้สิบปี จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งบังคับให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ จดทะเบียนปลอดภาระจำยอมในที่ดินพิพาทได้ และโจทก์จะยกการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต เป็นข้อต่อสู้เพื่อไม่ให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทสิ้นไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6874/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหมายจับและการสิ้นผลของหมายจับเมื่อความผิดขาดอายุความ
ป.วิ.อ. มาตรา 68 บัญญัติว่า "หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน" เช่นนี้ เมื่อความผิดอาญาตามหมายจับจำเลยขาดอายุความแล้ว หมายจับย่อมสิ้นผลไปในตัวโดยไม่ต้องเพิกถอนหมายจับอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13267/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อลูกหนี้เลิกกิจการ แต่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้
ตามสัญญาค้ำประกันหนี้สินที่จำเลยทั้งสี่ทำไว้กับบริษัทเงินทุน ย. นั้น เป็นการค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท ก. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เมื่อต่อมาบริษัท ก. ลูกหนี้จดทะเบียนเลิกบริษัท อันมีผลให้ลูกหนี้สิ้นสภาพนิติบุคคล สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทั้งสี่ทำไว้จึงไม่มีลูกหนี้ที่จำเลยทั้งสี่จะต้องค้ำประกันอีกต่อไป สัญญาค้ำประกันจึงสิ้นผลไปโดยปริยาย แม้เช็คทั้ง 17 ฉบับ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คของลูกหนี้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทเงินทุน ย. ในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาวงเงินขายตั๋วลดเช็คที่เกิดขึ้นภายหลังจากลูกหนี้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้ รู้ดีว่าในวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้ง 17 ฉบับ พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น บริษัท ก. ลูกหนี้ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองยังถือโอกาสที่บริษัทเงินทุน ย. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่รู้ถึงการบอกเลิกบริษัทของตนนำเช็คที่สั่งจ่ายในนามของบริษัท ก. ไปขายลดให้แก่บริษัทเงินทุน ย. อีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมได้เงินจากการขายลดเช็ค โดยทราบดีว่าเจ้าหนี้ไม่อาจจะบังคับเอาจากบริษัท ก. ลูกหนี้ได้เพราะลูกหนี้ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปก่อนแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสี่ได้ยกขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ และจำเลยที่ 4 นำสืบในศาลชั้นต้นแล้วไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาก่อน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจนำข้อกฎหมายมาปรับวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการสิ้นสภาพบุคคลแห่งบริษัท ก. เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6891/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง และโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวต่อไป
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดพันธบัตรของจำเลยไว้ชั่วคราว ก่อนพิพากษา ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหากโจทก์ประสงค์ให้คำสั่งวิธีการชั่วคราวนั้นมีผลใช้บังคับต่อไป โจทก์จะต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษานั้นและมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปหรือไม่ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอดังที่กล่าวข้างต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวจึงเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11455/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว การขอให้บังคับคดีต่อกับผู้ที่ถูกอายัดจึงไม่เป็นประโยชน์
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 และตามคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดชั่วคราวจึงมีผลใช้บังคับต่อไปเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) แต่โจทก์เพิ่งมายื่นขอหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 เมื่อไม่ปรากฏเหตุจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น หมายอายัดตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณาย่อมยกเลิกไป การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ผู้ร้องและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง เท่ากับขอให้ดำเนินการตามคำสั่งอายัดชั่วคราวที่ยกเลิกไปแล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งห้ามชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องบังคับคดีส่งมอบรถยนต์
คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทที่ทำไว้แก่โจทก์เพื่อขอรับเอกสารไปรับสินค้ารถยนต์ที่สั่งซื้อไว้ โดยระหว่างพิจารณาโจทก์มีคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ห้ามจำเลยทั้งสองโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายรถยนต์พิพาท และให้นายทะเบียนกรมการขนส่งทางบกระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนรถยนต์คันพิพาทไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลทรัพย์สินฯ มีคำพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และคดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ในชั้นบังคับคดี ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นผู้ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยถูกต้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าว กรณีเช่นนี้ แม้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับต่อไปก็ตาม แต่ก็ให้ใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเท่านั้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์ ทั้งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าว เมื่อศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ ย่อมไม่มีเหตุจำเป็นต้องปฏิบัติตามวิธีการชั่วคราวที่ห้ามจำเลยทั้งสองโอนขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายรถยนต์ดังกล่าว เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษานี้อีกแต่อย่างใด คำสั่งในวิธีการชั่วคราวดังกล่าวเป็นอันยกเลิกไปในตัวไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวภายหลังศาลมีคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต: หนังสือมอบอำนาจสิ้นผล ทำให้การโอนไม่สมบูรณ์
ส. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ไปจดทะเบียนขายที่ดิน แต่ตราบใดที่ยังมิได้ไปจดทะเบียนขายที่ดิน การขายก็ยังไม่มีขึ้นโดยสมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย หนังสือมอบอำนาจย่อมสิ้นผล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 826 วรรคสอง การที่ ป. นำหนังสือมอบอำนาจที่สิ้นผลแล้วไปดำเนินการจดทะเบียนขายที่ดินหลังจาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่มีผลให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองมรดกของ ส. เพื่อประโยชน์ของทายาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8691/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับหลัง สัญญาเป็นอันสิ้นผลเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่ตกลง
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีความเข้าใจตรงกันและมีเจตนาที่แท้จริงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันว่า ถ้าการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิก มิได้หมายความถึงว่าต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยกเลิกสัญญารับเหมาก่อสร้างกับบริษัท ย. ก่อน จึงจะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิกดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด การที่ข้อตกลงในการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่าหากการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เป็นสินค้าของโจทก์ให้ถือว่าใบสั่งสินค้าเป็นอันยกเลิกนั้น ถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง เมื่อต่อมาการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
of 6