พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ทายาทไม่มีสิทธิเช่าต่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าหลังจากว.ถึงแก่ความตายแล้วจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว.ได้ให้จำเลยที่3ถึงที่5เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำประกอบและผลิตสินค้าโดยจำเลยที่3ถึงที่5ขออนุญาตโจทก์แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่1ถึงที่5เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่1ถึงที่5ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาททำประกอบและผลิตสินค้าเรื่อยมาโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่1ถึงที่5รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยที่1ถึงที่5เพิกเฉยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่1ถึงที่5รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่าว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดีเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจากร.มีกำหนดเวลา30ปีซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากร.ต้องยอมให้ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตามแต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าดังนั้นเมื่อว.ถึงแก่ความตายสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างว.กับร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลงและมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างว.กับจำเลยที่3เป็นอันสิ้นสุดลงด้วยจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว. จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปส่วนจำเลยที่3ถึงที่5ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจากว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้ เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้นกฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัดและให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา30ปีด้วยหรือแม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา30ปีและไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของว.หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเช่นนี้ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างร.ผู้ให้เช่ากับว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามข้อตกลงตัวแทนจำหน่าย สิ้นสุดเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า เคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่า เคอนิก (KOENIG) เป็นชื่อของจำเลยที่ 1โดยชอบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาบัญชีเดินสะพัดและการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ และเพิ่มวงเงินกู้ 2 ครั้ง รวมเป็นวงเงิน 5,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบํญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนด จำเลยที่ 1 คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไป แต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชี โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไป จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,095,820.70 บาท รายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณา ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว แม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด (บัญชีกระแสรายวัน) ของจำเลยที่ 1 แนบมาท้ายฟ้อง แต่สัญญาบัญชี-เดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 มาท้ายฟ้อง จึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์ 3 ฉบับ ตั๋วแลกเงิน 6 ฉบับ และทรัสต์รีซีท 6 ฉบับ รวม15 ฉบับ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม 3 ครั้ง ค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม 6 ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อน โดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม 6 ฉบับ ให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน คงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19 บาท โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้า ชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ เลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋ว และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้ว คำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้ว เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้น แม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้ง ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวง ป.จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใด ๆ เกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว และหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ถูกต้องตามข้อ 7 (ข) ของบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ครั้ง ในวงเงิน 5,000,000 บาท โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 2 และ 3 ใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าว ก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือน ประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัด โดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ 3 ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่25 เมษายน 2532 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 5,492,962.01 บาท หลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 อีก คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์ 3 ฉบับ ตั๋วแลกเงิน 6 ฉบับ และทรัสต์รีซีท 6 ฉบับ รวม15 ฉบับ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม 3 ครั้ง ค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม 6 ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อน โดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม 6 ฉบับ ให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน คงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19 บาท โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้า ชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ เลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋ว และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้ว คำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้ว เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้น แม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้ง ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวง ป.จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใด ๆ เกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว และหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ถูกต้องตามข้อ 7 (ข) ของบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ครั้ง ในวงเงิน 5,000,000 บาท โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 2 และ 3 ใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าว ก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือน ประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัด โดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ 3 ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่25 เมษายน 2532 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 5,492,962.01 บาท หลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 อีก คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิทธิของเจ้าของที่ดิน/ผู้เช่าในการฟ้องขับไล่
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของที่ดิน มีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาให้ใช้ประโยชน์ที่ดินแก่จำเลยแล้ว สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลงจำเลยย่อมอ้างไม่ได้ว่ามีสิทธิครอบครองที่ดินอยู่เมื่อโจทก์ร่วมทำสัญญาให้โจทก์เช่าหลังจากสัญญาดังกล่าวระงับไปแล้ว ต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพัง แต่โจทก์ก็มีสิทธิตามสัญญาเช่าที่โจทก์กับโจทก์ร่วมมีต่อกัน โจทก์จึงชอบที่จะขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้เป็นคู่กรณีทั้งหลายรวมไปเป็นคดีเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477,549 และเมื่อศาลได้เรียกเจ้าของที่ดินเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้จะมีการครอบครองต่อเนื่องหลังสัญญาหมดอายุ
ในชั้น ชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท2ประเด็นคือ1.โจทก์ให้คำมั่นจะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก6ปีหรือไม่2.โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยหรือไม่แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ประเด็นพิพาทดังกล่าวเมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้วว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไปหรือไม่ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ครอบคลุมรวมถึงประเด็นที่จำเลยประสงค์ให้กำหนดไว้แล้วทั้งสองประเด็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มเติมอีก คำมั่นจะให้เช่าที่ดินพิพาทต่อของโจทก์เป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาซึ่งอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมแม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ก็ตามแต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับผิดเป็นสำคัญจำเลยย่อมไม่อาจขอบังคับให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538 สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา20ปีนับแต่วันที่13สิงหาคม2515จึงสิ้นสุดในวันที่13สิงหาคม2535โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา564การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยภายหลังสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วเพียง4วันแสดงว่าโจทก์ทักท้วงไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญากันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานทำไม้: การสิ้นสุดสัญญาและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่มิชอบด้วยขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องพอสรุปได้ว่าการประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหายตามฟ้องอันเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ในลักษณะละเมิดและผิดสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียว กรณีไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดในป่าใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้" เนื้อความในสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัด โจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทาน โจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตาม ป.พ.พ.
การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดในป่าใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้" เนื้อความในสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัด โจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทาน โจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตาม ป.พ.พ.
การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่านาตามกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินเพื่อทำนาแล้วไม่ชำระค่าเช่านาในปี2527ถึงปี2530อ. ผู้รับมอบอำนาจผู้ให้เช่านาแจ้งบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและคชก.ตำบลแล้วตามสัญญาเช่านานั้นมีกำหนดเวลาเช่าถึงวันที่31มีนาคม2533จึงเป็นการบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาคชก.ตำบลได้ประชุมและมีมติให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไปอ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคชก.จังหวัดคชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติให้จำเลยเช่าทีนาถึงวันที่31มีนาคม2533ซึ่งสิ้นสุดตามกฎหมายโดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้างมติดังกล่าวเป็นมติที่ได้วินิจฉัยในเรื่องการบอกเลิกการเช่านาและเรื่องให้จำเลยออกจากที่นาที่เช่าด้วยมติของที่ประชุมเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของคู่กรณีดังกล่าวจำเลยเข้าร่วมประชุมและลงชื่อในบันทึกท้ายมติที่ประชุมได้ทราบเรื่องที่ประชุมตลอดจนมติที่ประชุมโดยตลอดแล้วแต่จำเลยไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมติดังกล่าวย่อมถึงที่สุดจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยผู้ให้เช่านาไม่จำต้องบอกเลิกการเช่านาอีกเมื่อครบกำหนดวันที่31มีนาคม2533จำเลยยังทำนาในที่นาที่เช่าอยู่ต่อมาเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคชก.จังหวัดที่ให้จำเลยออกจากนาโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานทำไม้: ภาระปลูกป่าทดแทนยังคงมีผลแม้สิ้นสุดสัญญา ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตาม
เงื่อนไขในสัมปทานทำไม้หวงห้ามกำหนดให้โจทก์ผู้รับสัมปทานต้องปลูกป่าและบำรุงป่าที่ได้รับสัมปทานทำไม้ด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์โดยโจทก์จะต้องนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าและบำรุงป่าในอัตราที่ทางราชการกำหนดไปฝากไว้ที่ธนาคารแล้วนำสมุดฝากเงินไปมอบให้ป่าไม้จังหวัดจำเลยที่4ยึดถือไว้ส่วนการขอรับสมุดฝากเงินทุกครั้งโจทก์ต้องเสนอแผนการปฏิบัติงานปลูกป่าให้ป่าไม้เขตจำเลยที่3ทราบเมื่อได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่3แล้วจึงจะมีสิทธิขอรับสมุดเงินฝากไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามแผนงานที่เสนอไว้และภายหลังจากเบิกเงินแล้วโจทก์ยังต้องนำสมุดฝากเงินไปมอบให้จำเลยที่4เก็บรักษาไว้ตามเดิมอีกการฝากเงินของโจทก์จึงเป็นการฝากเพื่อนำไปใช้จ่ายปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนป่าที่โจทก์ได้ทำไม้ไปแล้วและโจทก์จะถอนเงินไปได้เฉพาะเพื่อเอาไปปลูกป่าและบำรุงป่าตามที่จำเลยที่3เห็นชอบเท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนให้กรมป่าไม้จำเลยที่3จำเลยที่4ย่อมมีสิทธิที่จะรักษาสมุดฝากเงินของโจทก์ไว้ตามเงื่อนไขดังกล่าวแม้ในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานการทำไม้หวงห้ามทุกชนิดสิ้นสุดลงก็มีผลเพียงทำให้สิทธิที่โจทก์จะทำไม้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้นแต่โจทก์ยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่โจทก์ได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลงโดยเบิกค่าใช้จ่ายเงินในส่วนที่โจทก์ฝากธนาคารไว้เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานให้ครบถ้วนจำเลยที่4จึงมีสิทธิที่จะเก็บรักษาสมุดฝากเงินของโจทก์ไว้ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยที่1ไม่ต้องคืนสมุดฝากเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี – ดอกเบี้ยทบต้น – เจตนาเจ้าหนี้ – การเดินสะพัดทางบัญชี
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัด ในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ และนับแต่นั้นมา ลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีก โดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงิน แต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลย ซึ่งนับเป็นร้อย ๆ รายการ อันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้น ส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับตั้งแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด เจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมา ที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม 2528 จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน4,664 บาท ในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน 2529 รวม 2 ครั้งเป็นเงิน 30,000 บาท และ 3,162 บาท ตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อย และได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธ และรายการถอนเงินในวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 จำนวน 20,000 บาท ก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกัน ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใด และที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำนวน 1,375 บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร 2 ฉบับ ฉบับละ 500,000 บาท ในวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2531 แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษร-ภาษาอังกฤษ "LOAN" จำนวน 1,000,000 บาท โดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไร หรือไม่ ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้น นับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว เจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไป ถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญา คือวันที่ 19 สิงหาคม 2528 หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัดในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่19สิงหาคม2528ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64บาทซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้และนับแต่นั้นมาลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีกโดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงินแต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลยซึ่งนับเป็นร้อยๆรายการอันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้นส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดเจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมาที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม2528จำนวน1ครั้งเป็นเงิน4,664บาทในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน2529รวม2ครั้งเป็นเงิน30,000บาทและ3,162บาทตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อยและได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธและรายการถอนเงินในวันที่16กรกฎาคม2530จำนวน20,000บาทก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกันซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใดและที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่12มิถุนายน2530จำนวน1,375บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร2ฉบับฉบับละ500,000บาทในวันที่23กุมภาพันธ์2531แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษรภาษาอังกฤษ"LOAN" จำนวน1,000,000บาทโดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไรหรือไม่ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้นนับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไปถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญาคือวันที่19สิงหาคม2528หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป