คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สืบพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกประเด็นใหม่ในฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ และการสืบพยานนอกคำให้การ
ปัญหาที่ว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็น แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณา ก็เป็นการสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้ง เท่ากับเป็นการฎีกาให้รับฟังพยานหลักฐานของจำเลยว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ แต่ได้ทำสัญญากู้เงินเพื่ออำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนของโจทก์ในกองทุนของจำเลยอันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลายเรื่องการยื่นสำเนาบันทึกถ้อยคำพยาน ทำให้ศาลไม่รับเป็นหลักฐาน และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป
การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำพยานให้จำเลยก่อนวันนัดพิจารณาคดีตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ถือว่ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย ข้อ 14 วรรคสอง ย่อมทำให้โจทก์มิได้รับประโยชน์ในกระบวนพิจารณาส่วนนี้ ศาลล้มละลายกลางชอบที่จะไม่ยอมรับบันทึกถ้อยคำพยานโจทก์นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแทนการซักถามพยานโจทก์ และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยตามที่นัดไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย การยื่นบันทึกถ้อยคำพยาน และผลกระทบต่อการสืบพยานหลักฐาน
โจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ข้อ 14 วรรคสอง และคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องการยื่นบันทึกถ้อยคำของพยานบุคคลต่อศาลพร้อมทั้งส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำนั้นให้จำเลยก่อนวันนัดพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน ย่อมทำให้โจทก์มิได้รับประโยชน์ในกระบวนพิจารณาส่วนนี้ตามที่โจทก์ร้องขอ โดยศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่ยอมรับบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแทนการซักถามพยานโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นยังจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยในวันนัดพิจารณาตามที่นัดไว้ ซึ่งโจทก์ได้นำพยานบุคคลมาศาลด้วยแล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานกระทบคำพิพากษา จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับไปในตัวด้วย แต่จำเลยเลี่ยงไปอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาด้วย แม้จะเป็นสิทธิของจำเลยที่กระทำได้โดยชอบ ซึ่งจำเลยได้ประโยชน์ที่ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ โดยเสียเพียงค่าอุทธรณ์คำสั่ง 200 บาทเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ทำให้มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้องหลังสืบพยาน: เหตุผลอันควรและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุผลว่าคำฟ้องของโจทก์บกพร่องเกี่ยวกับวันที่เกิดเหตุเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาด ขอแก้คำว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2541 เป็นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 เป็นการยื่นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เพราะอาจเกิดบกพร่องพิมพ์ผิดพลาดเช่นนั้นได้ ประกอบกับเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่ 26 ตุลาคม 2541 จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิมจำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9743/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเมื่อมีเหตุจำเป็นทางการแพทย์ ศาลฎีกาพิพากษากลับ
ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีสองนัดแรกมีสาเหตุมาจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่จะมาเบิกความจำสถานที่นัดหมายผิดพลาด และจำเวลานัดหมายคลาดเคลื่อนมิใช่เกิดจากทนายโจทก์เพิกเฉย ทอดทิ้งคดี หรือไม่ตระเตรียมพยานมาเบิกความต่อศาลส่วนวันนัดครั้งที่สามเมื่อศาลไม่อนุญาตให้ทนายโจทก์เลื่อนคดีทนายโจทก์ก็ได้อ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยาน เมื่อเบิกความเสร็จก็ได้พยายามติดต่อกับโจทก์ จนกระทั่งทราบว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่จะนำเข้าเบิกความอยู่ระหว่าง การตั้งครรภ์และเจ็บป่วยไม่สามารถมาเบิกความในช่วงเช้าได้ จึงขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์ออกไปก่อน กรณีดังกล่าว นับว่ามีเหตุจำเป็น แม้ทนายโจทก์จะเคยแถลงต่อศาลว่าจะไม่ขอเลื่อนคดีอีกหากไม่มีพยานมาศาลก็ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีก ต่อไปก็ตาม ศาลก็ไม่อาจนำคำแถลงดังกล่าวมาเป็นเหตุไม่อนุญาตให้ทนายโจทก์เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่โดยศาล การไม่เปิดโอกาสสืบพยาน และผลกระทบต่อการวินิจฉัย
ตามคำฟ้องและคำให้การคดีมีประเด็นข้อพิพาทอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยแกล้งบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ฟ้องขับไล่โจทก์และเบิกความเท็จในคดีหมายเลขดำที่ 20091/2531 ต่อศาลแพ่งหรือไม่ แต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ โดยโจทก์และจำเลยต่างไม่คัดค้าน ถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สละประเด็นข้อพิพาทนี้แล้ว และโจทก์ไม่จำเป็นต้องนำสืบพยานในประเด็นข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นมากำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นมาใหม่ในวันนัดฟังคำพิพากษาและได้เลื่อนไปอ่านคำพิพากษาไปโดยไม่ได้ให้โจทก์นำสืบพยานในประเด็นดังกล่าว แล้วนำประเด็นนี้มา วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานมานำสืบย่อมไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การสืบพยานโดยศาล และการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ต้องคืน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่ ศาลภาษีอากรกลางเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบโดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและไม่มีสิทธิ นำพยานเข้าสืบก็ตาม
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับ ระยะเวลานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสองบัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับ วันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน" ดังนั้นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง จึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ปกติโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งการที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท และการพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
การสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 นั้น เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องเมื่อโจทก์ประสงค์จะสืบพยานเพียงใดก็เป็นสิทธิของโจทก์ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อโจทก์ติดใจสืบพยานเพียงเท่านั้นและศาลเห็นว่าพยานโจทก์ที่สืบมาเป็นที่พอใจศาลและฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง กรณีหาจำเป็นต้องสืบพยานเพิ่มเติมตามที่จำเลยฎีกาไม่
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยมีเจตนากระทำความผิดต่อบิดาผู้เสียหาย เป็นความผิดกรรมหนึ่ง ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตามมาตรา 277 วรรคสองและความผิดฐานพาเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
of 98