พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันสัญญาก่อสร้าง: สิทธิริบเงินค้ำประกันและดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารมิได้กำหนดให้เงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการประกันการไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารได้สิ้นสุดลงหรือภายหลังโจทก์บอกเลิกสัญญาด้วย เงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 โจทก์มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกันได้ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 จำเลยที่ 3 ไม่ชำระถือว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528 แม้ภายหลังโจทก์จะมีหนังสือทวงถามซ้ำอีก โดยกำหนดวันที่นำเงินมาชำระใหม่อีกก็ตามก็ไม่ทำให้การผิดนัดของจำเลยที่ 3 ที่เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ชำระอากรแล้วรับฟังเป็นพยานได้ การอนุญาตชำระอากรระหว่างพิจารณาไม่เป็นเหตุฎีกา
ระหว่างพิจารณาโจทก์ส่งหนังสือค้ำประกันซึ่งติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนเป็นพยานแต่ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ได้นำไปดำเนินการเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรโดยชอบแล้วถือว่าหนังสือค้ำประกันเป็นตราสารที่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำเอกสารไปเสียภาษีอากรและเงินเพิ่มโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนเป็นการไม่ชอบ จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการต่ออายุตั๋ว
โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทว.ออกให้แก่บริษัทท.โดยจำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทว.ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยยอมชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ต่อมาเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดบริษัทว.ขอยืดเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วต่อบริษัทท.ผู้ทรงออกไปรวม 2 ครั้ง โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ใหม่ทั้งสองครั้ง โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นตามคำร้องของบริษัทว.ครั้นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดถึงกำหนด โจทก์ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่บริษัทท.ตามที่ได้รับการทวงถาม ดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ออกใหม่มีมูลหนี้มาจากตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก และตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์มีใจความว่า จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายไปในการที่โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทว.ในวงเงินที่กำหนดหาได้ระบุวันออกตั๋วและวันถึงกำหนดใช้เงินไว้ไม่ อีกทั้งสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่า หากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้งโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่โจทก์เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญา, การลดเบี้ยปรับ, ค่าเสียหายจากผิดสัญญา, หนังสือค้ำประกัน, การก่อสร้างล่าช้า
แม้ตาม สัญญาโจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ ๑ เป็นรายวันจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จโดย การกระทำของผู้รับจ้างคนใหม่แต่ ค่าปรับที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า ทั้งการที่งานก่อสร้างเสร็จล่าช้าเป็นเพราะการดำเนินการของโจทก์ด้วย ส่วนหนึ่ง ประกอบกับโจทก์จ้าง ผู้รับจ้างคนใหม่ทำงานงวดที่เหลือต่อ ในวงเงินเท่ากับที่จะต้อง ชำระให้จำเลยที่ ๑ หากจำเลยก่อสร้างเสร็จตาม สัญญา เบี้ยปรับที่จะพึงริบตามสัญญาจึงสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓
ตาม สัญญาจ้างไม่มีการวางเงินมัดจำ แต่ มีการทำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงินร้อยละ ๕ ของค่าจ้าง ซึ่ง ตาม สัญญาผู้ว่าจ้างจะคืนเงินประกันหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่ผู้รับจ้าง เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำ แต่ ถือ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐาน ผิดสัญญา.
ตาม สัญญาจ้างไม่มีการวางเงินมัดจำ แต่ มีการทำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงินร้อยละ ๕ ของค่าจ้าง ซึ่ง ตาม สัญญาผู้ว่าจ้างจะคืนเงินประกันหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่ผู้รับจ้าง เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำ แต่ ถือ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐาน ผิดสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 มีใจความว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในกำหนด 200วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น4 งวด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินค่าสิ่งของแต่ละงวดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสองมีข้อความว่าการจ่ายเงินจะจ่ายให้ตามงวดที่ผู้ขายได้ส่งของถูกต้องครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการได้ทำการตรวจรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่าการตกลงให้ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอน นับว่าเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสิ่งของสำหรับงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด200 วันได้
สัญญาซื้อขายข้อ 7 มีข้อความว่า "ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ10 (สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480 บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้..."และวรรคสองมีข้อความว่า "หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว" และสัญญาข้อ 8 วรรคสอง มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร..." จากข้อความในสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่า การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันดังที่ปรากฏในหนังสือค้ำประกันข้อ 1 วรรคสอง ซึ่งมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า(จำเลยที่ 3) ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค (จำเลยที่ 1) ต่อกรมตำรวจ (โจทก์) เป็นวงเงินไม่เกิน 1,085,480 บาท กล่าวคือ หากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายแผ่นป้ายอลูมิเนียม อัดวัสดุสะท้อนแสงและสีดำอบ แห้งที่ทำไว้กับกรมตำรวจหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งกรมตำรวจมีสิทธิริบหลักประกันหรือค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ได้แล้ว ข้าพเจ้ายอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ชำระก่อน" เมื่อข้อสัญญาเป็นดังนี้ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้วจำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาท ให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 แก่โจทก์
สัญญาซื้อขายข้อ 7 มีข้อความว่า "ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ10 (สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480 บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้..."และวรรคสองมีข้อความว่า "หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว" และสัญญาข้อ 8 วรรคสอง มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร..." จากข้อความในสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่า การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันดังที่ปรากฏในหนังสือค้ำประกันข้อ 1 วรรคสอง ซึ่งมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า(จำเลยที่ 3) ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค (จำเลยที่ 1) ต่อกรมตำรวจ (โจทก์) เป็นวงเงินไม่เกิน 1,085,480 บาท กล่าวคือ หากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายแผ่นป้ายอลูมิเนียม อัดวัสดุสะท้อนแสงและสีดำอบ แห้งที่ทำไว้กับกรมตำรวจหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งกรมตำรวจมีสิทธิริบหลักประกันหรือค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ได้แล้ว ข้าพเจ้ายอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ชำระก่อน" เมื่อข้อสัญญาเป็นดังนี้ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้วจำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาท ให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการบังคับใช้หนังสือค้ำประกันเมื่อผู้ขายผิดสัญญา
สัญญาซื้อขายข้อ 3 มีใจความว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในกำหนด200 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น 4 งวด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินค่าสิ่งของแต่ละงวดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง มีข้อความว่า การจ่ายเงินจะจ่ายให้ตามงวดที่ผู้ขายได้ส่งของถูกต้องครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการได้ทำการตรวจรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามสัญญาดังกล่าวการตกลงให้ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนนับว่าเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสิ่งของสำหรับงวดที่ 1 และงวดที่ 2ภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด200 วันได้ สัญญาซื้อขายข้อ 7 และข้อ 8 มีใจความว่า ในวันทำสัญญานี้ ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ 10(สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480 บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันทั้งนี้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเจตนาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน และการปิดอากรแสตมป์ที่ถูกต้อง
โจทก์มอบอำนาจให้ อ.และหรือส. ดำเนินคดีฟ้องร้องจำเลยแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน กระทำการครั้งเดียว ต้องปิดอากรแสตมป์ 5 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ก) ซึ่งใช้บังคับในขณะที่มี การมอบอำนาจ จึงเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง หนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามคัลเลอร์แลบในการซื้อเชื่อสินค้าจากโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามคัลเลอร์แลบซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คงมีแต่จำเลยที่ 1 ซึ่งใช้ชื่อร้านว่าสยามคัลเลอร์แลบ ดังนี้ จำเลยที่ 2 มีเจตนาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 เจ้าของร้านสยามคัลเลอร์แลบซื้อเชื่อสินค้าจากโจทก์และไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจะอ้างว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามคัลเลอร์แลบซึ่งไม่มีตัวตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน - สำคัญผิด - ผิดนัดชำระหนี้ - สิทธิของผู้ค้ำประกัน - อายุความ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์นามสกุลจำเลยที่ 1 "คล่องอักขระ" ผิดเป็น "คล่องอักษร" เป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อย ศาลมีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่า: การยินยอมให้ใช้เช็คแทนหนังสือค้ำประกัน ถือเป็นการสละสิทธิ
ในสัญญาเช่ามีข้อสัญญาว่าผู้เช่าต้องให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันความเสียหายในทรัพย์สินที่เช่าให้ไว้แก่ผู้ให้เช่า แต่ผู้ให้เช่ามิได้ถือว่าหน้าที่จัดให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อผู้เช่าสั่งจ่ายเช็คให้ผู้ให้เช่ายึดถือไว้แทนหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ผู้ให้เช่าก็ยินยอม กรณีจึงถือได้ว่าผู้ให้เช่าได้สละผลบังคับตามสัญญาเช่าข้อดังกล่าวเสียแล้ว ผู้เช่าย่อมไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าเพราะมิได้จัดให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกัน ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่ผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในสัญญาเช่า: การยินยอมให้ใช้เช็คแทนหนังสือค้ำประกัน ถือเป็นการสละผลบังคับตามสัญญา
ในสัญญาเช่ามีข้อสัญญาว่าผู้เช่าต้องให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันความเสียหายในทรัพย์สินที่เช่าให้ไว้แก่ผู้ให้เช่า แต่ผู้ให้เช่ามิได้ถือว่าหน้าที่จัดให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อผู้เช่าสั่งจ่ายเช็คให้ผู้ให้เช่ายึดถือไว้แทนหนังสือค้ำประกันของธนาคารผู้ให้เช่าก็ยินยอม กรณีจึงถือได้ว่าผู้ให้เช่าได้สละ ผลบังคับตามสัญญาเช่าข้อดังกล่าวเสียแล้ว ผู้เช่าย่อมไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าเพราะมิได้จัดให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกัน ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า และฟ้องขับไล่ผู้เช่า