พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-388/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ทำให้หนี้ระงับ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดยังคงต้องรับผิดชอบหนี้ของห้าง
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ส่วนการตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีนั้น ก็มีผลเพียงให้ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการต่างๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่จำกัดจำนวนตามมาตรา 1077 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความในหนี้เช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
การที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คพิพาท และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายในมูลหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทระงับสิ้นไป ไม่ว่าผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้จากการซื้อขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลเชื่อพยานบุคคลที่เป็นกลาง
โจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสองต่างเบิกความยันกันปากต่อปากว่า จำเลยทั้งสองซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากโจทก์ที่ 1 ไปขาย ยังไม่ได้ชำระเงิน ส่วนจำเลยทั้งสองยืนยันว่า ซื้อไปจริงแต่ชำระเงินแล้ว แต่โจทก์มีพยานซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่โจทก์เป็นลูกบ้านและผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยทั้งสองเป็นลูกบ้านรวมทั้งอดีตกำนันที่ทั้งสองฝ่ายเป็นลูกบ้านเบิกความในทำนองเดียวกันว่าทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันและจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าเสื้อผ้าที่ซื้อไปจากโจทก์ที่ 1 จริง โดยมีบันทึกถ้อยคำเป็นหลักฐาน และโจทก์ยังมีพนักงานสอบสวนที่ไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ที่ 1 จริง จำเลยที่ 2 จะนำที่ดินมาตีใช้หนี้ แต่ที่สุดตกลงกันไม่ได้ จึงมีบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แม้เอกสารทั้งสองฉบับจำเลยทั้งสองจะไม่ยอมลงลายมือชื่อจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีผลผูกพันจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่ก็ฟังประกอบคำเบิกความพยานของโจทก์ที่ 1 ที่ยืนยันว่ามีการเจรจากันจริง โดยพยานของโจทก์ที่ 1 ต่างเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและอดีตเจ้าพนักงานของรัฐ เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเชื่อถือในหมู่บ้านที่ทั้งสองฝ่ายอยู่อาศัยทั้งไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ถือได้ว่าเป็นพยานคนกลาง ทำให้มีน้ำหนักน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามความจริง ส่วนจำเลยทั้งสองคงมีแต่ตัวจำเลยทั้งสองเบิกความว่า ได้ชำระค่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ที่ 1 หมดแล้วไม่ได้ค้างชำระ โดยไม่มีพยานอื่นใดมาสนับสนุน แม้โจทก์ที่ 1 จะจำไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับซื้อเสื้อผ้าไปวันที่เท่าใดและมีรายการเสื้อผ้าใดบ้าง แต่จำเลยทั้งสองรับว่าการรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปขายมิได้ทำหลักฐานไว้ การที่โจทก์ที่ 1 จำไม่ได้จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ซื้อขายกันมีเป็นจำนวนมาก โจทก์ที่ 1 อาจหลงลืมได้ พยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 1 นำสืบมาจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่าพยานจำเลยทั้งสอง เชื่อว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ที่ 1 จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การโต้แย้งหนี้ตามบันทึกข้อตกลงด้วยข้อตกลงทางวาจาที่ไม่ได้รับการรับฟัง
ฎีกาของจำเลยที่บรรยายว่า ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยให้การรับว่าทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้แทนให้แก่โจทก์จริง แต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาให้จำเลยชำระหนี้น้อยกว่าที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง จำเลยจะมีพยานอื่นใดนำสืบเพราะเป็นการตกลงกันตัวต่อตัวระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีผู้ใดอยู่ร่วมรู้เห็นด้วย จำเลยยื่นคำให้การตามความเป็นจริงและปฏิบัติตามความเป็นจริงตามข้อตกลง เพราะเชื่อใจโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังคำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยบ้าง จำเลยจึงเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องฎีกา ขอศาลฎีกาได้โปรดบรรเทาและลดยอดหนี้ตามที่จำเลยยื่นคำให้การนั้น เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วไม่อาจเข้าใจได้ว่าจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใดด้วยเหตุผลอะไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหนี้ และการชำระหนี้แทนกัน สิทธิเรียกร้องระงับ
จำเลยมีความผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท กับรับผิดตามเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาท เพื่อค้ำประกันหนี้ของนาย ส. ต่อมามีการเจรจาตกลงกันให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เฉพาะตามสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 1,000,000 บาท ส่วนหนี้ตามเช็คพิพาทนั้นโจทก์จะไปเรียกร้องจากนาย ส. ตามสัญญากู้ยืมเงินเอง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 เพราะไม่ใช่สัญญาระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1,000,000 บาท มาชำระให้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทจึงระงับไป กรณีดังกล่าวนี้กฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเบี้ยประกันภัยเกิดเมื่อมีการจ่ายแทน การฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตจึงไม่ชอบ
ตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองกำหนดว่า หากจำเลยไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนองและโจทก์ได้จัดการเอาประกันภัยเอง จำเลยยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้จ่ายแทนไปมาชำระจนครบถ้วน ดังนี้หากโจทก์ยังไม่ได้ชำระเบี้ยประกันอัคคีภัยแทนจำเลย จำเลยก็ยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นไปทุก ๆ สามปี จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในหนี้อนาคตที่ยังมิได้เกิดมีขึ้นและขณะฟ้องยังไม่มีหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้โจทก์ชนะคดีน้อยกว่าเดิมทั้งที่โจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737-2751/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหนี้และการออกเช็คไม่มีเงินรองรับ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 15,467,184 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ตกลงลดหนี้แก่จำเลย 467,184 บาท ส่วนที่เหลือ 15,000,000 บาท ให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเดือนละ 1,000,000 บาท โดยทำหลักฐานเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เมื่อเช็คพิพาทลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันถึงกำหนดชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ โดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
ศาลล่างพิพากษาว่าการออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ ดังนั้น แม้ศาลล่างจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ศาลล่างพิพากษาว่าการออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ ดังนั้น แม้ศาลล่างจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและฎีกาใหม่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเดิม รวมถึงการชำระหนี้ไม่ครบถ้วนตามกฎหมายเช็ค
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันออกเช็คเพื่อชำระหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยที่ 3 จะมาโต้เพียงในชั้นฎีกาว่า มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 3 ไม่เป็นความผิดตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีกด้วย จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยทั้งสามนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค โดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหายหนี้ที่จำเลยทั้งสามออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงยังไม่ได้รับชำระครบถ้วนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 214 จึงไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะถือว่าคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ยังไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสามนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค โดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหายหนี้ที่จำเลยทั้งสามออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงยังไม่ได้รับชำระครบถ้วนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 214 จึงไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะถือว่าคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีผลบังคับใช้ แม้การกู้ยืมส่วนหนึ่งไม่เกิดขึ้น
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 500,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ติดต่อขอกู้เงินโจทก์อีก 4,000,000 บาท แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยระบุรวมเอาจำนวนเงิน 500,000 บาท ที่จำเลยกู้จากโจทก์ไปก่อนหน้านั้นเข้าไว้ด้วย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,500,000 บาท แม้การกู้เงินกันจำนวน 4,000,000 บาท ในภายหลังจะไม่เกิดขึ้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวก็ยังมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ในหนี้จำนวน 500,000 บาท ที่มีการกู้ยืมกันจริง และถือว่าโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีในหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท แล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีผลบังคับใช้ได้ แม้การกู้ยืมส่วนหนึ่งไม่เกิดขึ้นจริง หากมีการกู้ยืมเงินจริงก่อนหน้านั้น
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 500,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ติดต่อขอกู้เงินโจทก์อีก 4,000,000 บาท แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยระบุรวมเอาจำนวนเงิน 500,000 บาท ที่จำเลยกู้จากโจทก์ไปก่อนหน้านั้นเข้าไว้ด้วย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,500,000 บาท แม้การกู้เงินกันจำนวน 4,000,000 บาท ในภายหลังจะไม่เกิดขึ้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวก็ยังมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ในหนี้จำนวน 500,000 บาท ที่มีการกู้ยืมกันจริง และถือว่าโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีในหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท แล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง