พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาหลังฟ้องล้มละลาย สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หากมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด
แม้จำเลยจะเพิ่งได้รับโอนที่ดินมาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายแล้วย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หามีกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนฟ้องคดีล้มละลายไม่ จำเลยจึงไม่ใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาค้ำประกัน เจตนาสำคัญกว่าตัวอักษร และให้ประโยชน์แก่ผู้ต้องเสีย
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 171 และในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามมาตรา 11
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของลูกหนี้ร่วม: พิจารณาหนี้สินและทรัพย์สินเป็นรายบุคคล
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อโจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ต้องข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยจำเลยที่ 2 มิได้นำพยานเข้าสืบให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่นจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และการที่จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทผู้จัดการมรดกในหนี้สินของเจ้ามรดก และการฟ้องล้มละลาย
ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ หากจะมีผลผูกพันจากการรับสภาพหนี้ กองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยที่ 4 ยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินหลังทำละเมิด เป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้
++ เรื่อง เพิกถอนการฉ้อฉล ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 227418 และ 227419 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้ กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4
++ เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม2538 จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2,049,389 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย จ.11
++ วันที่ 5 และวันที่ 18 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา
++
++ ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่
++
++ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย
++ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด
++ ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ
++ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ 1ว่า จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด14 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง
++ ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้
++ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 มีอยู่
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน 2,000,000 บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วย มิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
++ จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.9 ปรากฏข้อความในวรรคสามว่า บุตรของจำเลยที่ 1ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด
++ ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง
++
++ จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ
++ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ 1 ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน
++ ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และการที่บุตรจำเลยที่ 1 หาเงินมาไถ่ถอนจำนองก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม
++
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 นั้น
++ เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
++ สำหรับฎีกาจำเลยทั้งสี่ในประการอื่นไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 227418 และ 227419 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้ กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4
++ เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม2538 จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2,049,389 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย จ.11
++ วันที่ 5 และวันที่ 18 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา
++
++ ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่
++
++ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย
++ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด
++ ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ
++ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ 1ว่า จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด14 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง
++ ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้
++ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 มีอยู่
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน 2,000,000 บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วย มิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
++ จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.9 ปรากฏข้อความในวรรคสามว่า บุตรของจำเลยที่ 1ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด
++ ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง
++
++ จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ
++ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ 1 ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน
++ ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และการที่บุตรจำเลยที่ 1 หาเงินมาไถ่ถอนจำนองก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม
++
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 นั้น
++ เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
++ สำหรับฎีกาจำเลยทั้งสี่ในประการอื่นไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องเรียกหนี้กองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องเรียกร้องหนี้สินกองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องเรียกหนี้สินกองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดกแล้ว
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการตายของลูกหนี้ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ได้ กรณีเช่นว่านี้โจทก์อาจขอให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาแก้คดีแทนลูกหนี้ที่ตายนั้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 83 และ 87 ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก่อน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาดจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ใหม่
การที่ศาลออกหมายบังคับคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 คงมีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ หามีน้ำหนักไม่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การที่ศาลออกหมายบังคับคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 คงมีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ หามีน้ำหนักไม่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้สินและการสะดุดหยุดของอายุความจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ แต่ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ ผู้คัดค้านสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยื่นคำร้องว่าตนได้รับความเสียหายจากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าว ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา146 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้อง มีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามโดยต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 119 วรรคสาม ผู้ร้องย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่ามิได้เป็นหนี้ได้อีกทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งแรกดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้ และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อนเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้ และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อนเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่