คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สินล้นพ้นตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอื่นประกอบข้อสันนิษฐานเรื่องทรัพย์สิน เพื่อยืนยันฐานะหนี้สินล้นพ้นตัว
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา8(5)ที่ว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้เป็นแต่เพียงเหตุที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายมาตรา14ในศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดล้มละลายก็ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียวแต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรงจึงต้องเป็นไปโดยมีเหตุผลสมควรจริงไม่ใช่ให้ใช้กฎหมายล้มละลายเป็นเครื่องมือบีบคั้นลูกหนี้เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์74,826.66บาทซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักลำพังแต่ทางนำสืบของโจทก์ซึ่งได้ความว่าได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่ปรากฎว่าจำเลยมีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อันเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงอื่นมาสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือที่ขาดทุน ไม่ถือว่ารู้ถึงหนี้สินล้นพ้นตัว
ลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือของเจ้าหนี้โดยเจ้าหนี้ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ42.8เท่ากับว่าเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียอย่างมากการที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินเมื่อลูกหนี้ประสบปัญหาในสภาวะที่กิจการขาดทุนจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินในลักษณะชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสดำเนินธุรกิจไปตามปกติในทางการค้าซึ่งอาจจะมีกำไรได้ในภายหลังเมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะที่เจ้าหนี้ให้กู้ยืมนั้นลูกหนี้มีหนี้สินกับเจ้าหนี้อื่นใดมาก่อนอีกทั้งการกู้ยืมตลอดจนการออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่เจ้าหนี้ได้กระทำขึ้นก่อนที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย5ถึง6ปีและในขณะนั้นไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องลูกหนี้จึงยังไม่พอฟังว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องพิจารณาความจริงตามกฎหมายและข้อเท็จจริงประกอบเพื่อพิสูจน์ฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(5) และ (9) เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้น มาตรา 14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดล้มละลายก็ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียวแต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การตัดรอนมิให้ศาลในคดีล้มละลายรับฟ้องพยานหลักฐานเพราะมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ย่อมขัดต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ ดังนั้นจำเลยจึงชอบที่จะเสนอพยานเอกสารดังกล่าวเพื่อให้ปรากฏความจริง ให้ศาลรับฟังได้แม้จะไม่ได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ แม้มีข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯมาตรา14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์เพียง84,568.29บาทและยังประกอบกิจการมีรายได้อีกทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกจำเลยที่1จึงอยู่ในฐานะที่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ดังนั้นลำพังแต่ทางนำสืบของโจทก์ซึ่งได้ความตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยที่1ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม2ครั้งและจำเลยที่1เปลี่ยนชื่อสกุลย้ายที่อยู่โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงอื่นสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยที่1ว่าตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดรูปคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวพระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้ศาลมีหน้าที่พิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่การที่จำเลยที่1เสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ปรากฎความจริงดังกล่าวแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก่อนสืบพยานตามกฎหมายก็ไม่เป็นการตัดรอนศาลมิให้รับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว: การพิจารณาภูมิลำเนาและหนังสือทวงถาม
แม้จำเลยที่2จะย้ายทะเบียนบ้านที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันที่ทำกับโจทก์แต่จำเลยที่2ก็ยังเป็นเจ้าของบ้านดังกล่าวอยู่และบ้านหลังนี้ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่1ตลอดมาจึงเป็นหลักแหล่งที่ทำการงานของจำเลยที่2ให้ถือว่าเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยที่2ด้วยและถือว่าจำเลยที่2มีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา45((มาตรา38ใหม่) จำเลยที่2ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า30วันจำเลยที่2ไม่ชำระหนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่2เข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: เหตุล้มละลายต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ แม้ประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวเหมือนกัน
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องและวินิจฉัยว่ายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทราบการทวงถามให้ชำระหนี้แล้วการที่จำเลยย้ายที่อยู่มิใช่เพื่อประวิงการชำระหนี้ไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอีกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาซึ่งโจทก์ขอออกหมายบังคับคดีแล้วแต่จำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะมาชำระหนี้ได้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแม้จะมีประเด็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อนว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่แต่เป็นคนละเหตุกันซึ่งเหตุในคดีนี้ยังมิได้มีการวินิจฉัยในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกัน, การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ร่วม, และการยกข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวข้อง
ฎีกาจำเลยที่4ที่ว่าศาลไม่ชอบที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา10(2)แม้จำเลยที่4มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่4มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านี้ได้ในชั้นฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยหากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วนเมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระคำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนองจำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา6โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา10(2) จำเลยที่3และที่4เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่1และที่2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วนส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่2ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่2กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้และจำเลยที่2ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยที่2จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้จำเลยที่3และที่4ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ และผลของการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่1ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับกรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามการที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไปจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2528ซึ่งถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์และจำเลยที่1มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077และมาตรา1080จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5) ได้แบ่งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็น 2 กรณีคือ ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งก็เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามแล้ว แต่จำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบว่าจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินดังกล่าวเพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ จึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ก่อนฟ้องโจทก์ส่งหนังสือทวงถามจำเลย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์แจ้งว่าเลิกกิจการแล้ว โจทก์จึงประกาศทวงหนี้ทางหนังสือพิมพ์ จำเลยก็ไม่ติดต่อมายังโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยได้ไปเสียจากเคหสถานที่อยู่อาศัยและปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อโจทก์ให้พนักงานของโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย ปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินฝากกับธนาคารโจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้นำมาหักลดยอดหนี้แล้ว กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข.
เฉพาะยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันที่ชัดเจนระหว่างวันที่ 27กันยายน 2525 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2525 หักทอนแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์จำนวน 55,709.50 บาท หากคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราต่ำที่สุดที่โจทก์ขอมาคืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 9 ปี เป็นเงิน 130,917.33 บาทเมื่อนำเงินฝากของจำเลยจำนวน 56,337.59 บาท มาหักชำระหนี้แล้ว จำเลยก็ยังคงเป็นหนี้โจทก์อีก 74,579.73 บาท เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า50,000 บาท เข้าเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 14 ส่วนจำนวนหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระเพียงใดเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
of 16