พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความ แม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงความรับผิดชอบ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้. โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง.
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย. ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญา. หรือผู้กู้ถึงแก่กรรม. หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย. ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น. ยังแปลไม่ได้ว่า. แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้.
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย. ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญา. หรือผู้กู้ถึงแก่กรรม. หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย. ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น. ยังแปลไม่ได้ว่า. แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และผลกระทบต่ออายุความของหนี้เงินกู้
ทายาทของลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี (อ้างฎีกาที่ 1887/2506)
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี (อ้างฎีกาที่ 1887/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ส่งผลต่ออายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทายาทของลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย. ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้.
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง. อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี. (อ้างฎีกาที่ 1887/2506).
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง. อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี. (อ้างฎีกาที่ 1887/2506).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่ขึ้นเงินไม่ถือเป็นการชำระหนี้ เงินกู้ยังไม่ระงับ ไม่ขาดอายุความ
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ เมื่อไม่มีการใช้เงินตามเช็ค หนี้เงินกู้ก็ยังไม่ระงับ มูลหนี้คงเป็นหนี้เงินกู้ตามเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้เงินกู้ไม่สำเร็จ หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับ ไม่ขาดอายุความ
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ เมื่อไม่มีการใช้เงินตามเช็ค หนี้เงินกู้ก็ยังไม่ระงับ มูลหนี้คงเป็นหนี้เงินกู้ตามเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ค่าจ้างเป็นหนี้เงินกู้ และข้อจำกัดการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อมีหนี้ต่อกันแล้วคู่กรณีก็อาจแปลงหนี้อย่างหนึ่งเป็นหนี้อีกอย่างหนึ่งได้ในภายหลัง โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้หนี้เงินค่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยผูกพันกันในรูปเป็นหนี้เงินกู้ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในหนี้เงินกู้ ในการกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อจะนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วจะนำพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีใช้หนี้ที่ดินจำนองไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปโดยมีผู้อื่นจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์ฟ้องจำเลยและผู้จำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินกู้และดอกเบี้ย ถ้าไม่ใช้ให้ผู้จำนองใช้แทนโดยให้ไถ่ถอนจำนองหรือชายทอดตลาดที่ดินเอาเงินใช้ จำเลยไม่ใช้และไม่มีทรัพย์ให้ยึด โจทก์จึงยึดที่ดินที่จำนอง แต่ยังไม่ทันขายทอดตลาด ผู้จำนองได้ตกลงโอนที่ดินที่จำนองให้โจทก์เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่ง หักแล้วยังมีหนี้ค้างชำระอยู่อีก การที่ผู้จำนองโอนที่ดินจำนองให้โจทก์นี้เป็นการเอาที่ดินจำนองตีใช้หนี้ระหว่างโจทก์ผู้รับจำนองกับผู้จำนอง ไม่ใช่กรณีเอาทรัพย์จำนองหลุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 หรือเอาออกขายทอดตลาดตามมาตรา 728 จึงนำมาตรา 733 มาบังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้ไปเพียงบางส่วนเท่านั้น ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้เงินกู้ชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ เมื่อจำเลยยังเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่า 1,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินให้ยึดมาชำระหนี้ ศาลก็พิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดได้
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42/2505
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีใช้หนี้ที่ดินจำนอง ไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับ เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปโดยมีผู้อื่นจำนองที่ดินเป็นประกันโจทก์ฟ้องจำเลยและผู้จำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินกู้และดอกเบี้ย ถ้าไม่ใช้ให้ผู้จำนองใช้แทนโดยให้ไถ่ถอนจำนองหรือขายทอดตลาดที่ดินเอาเงินใช้ จำเลยไม่ใช้และไม่มีทรัพย์ให้ยึดโจทก์จึงยึดที่ดินที่จำนอง แต่ยังไม่ทันขายทอดตลาดผู้จำนองได้ตกลงโอนที่ดินที่จำนองให้โจทก์เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่ง หักแล้วยังมีหนี้ค้างชำระอยู่อีกการที่ผู้จำนองโอนที่ดินจำนองให้โจทก์นี้เป็นการเอาที่ดินจำนองตีใช้หนี้กันระหว่างโจทก์ผู้รับจำนองกับผู้จำนอง ไม่ใช่กรณีเอาทรัพย์จำนองหลุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 729 หรือเอาออกขายทอดตลาดตามมาตรา 728 จึงนำมาตรา 733 มาบังคับไม่ได้เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้ไปเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ก็ย่อมมีสิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้เงินกู้ชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ เมื่อจำเลยยังเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่า 1,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินให้ยึดมาชำระหนี้ ศาลพิพากษาในพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อายุความหนี้เงินกู้, และการรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้ไว้แก่ธนาคารในวงเงินที่กำหนดไว้และมีระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปนั้น กำหนดให้ถือตามบัญชีกระแสรายวันของธนาคารแล้วมีผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวนั้นจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำว่า "เบิกเงินเกินบัญชี" ย่อมหมายความเป็นการเบิกเงินเกินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด การเข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้ จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่และหนี้ในอนาคตในวงเงินที่ค้ำประกันในระยะ 2 เดือนนั้นด้วย
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหนี้เงินกู้และการแจ้งยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 119
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้เงินกู้ (ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคหนึ่ง) เป็นแต่เพียงหนังสือทวงหนี้หาใช่หนังสือยืนยันหนี้สินอันจะเป็นการแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสี่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง(ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสอง)ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง(ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสอง)ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง