พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อกู้ยืมเงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิม
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยขอกู้ยืมเงินผู้เสียหาย โดยจำเลยออกเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายจึงเอาเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมอบให้จำเลย แสดงให้เห็นว่า ก่อนจำเลยออกเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหายนั้นจำเลยกับผู้เสียหายมิได้มีหนี้ต่อกัน การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจำนอง: สัญญาจำนองครอบคลุมเฉพาะหนี้เดิมหรือไม่? ศาลตีความสัญญาโดยคำนึงถึงฝ่ายเสียเปรียบ
หนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความว่าผู้จำนองได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท หรือในเรื่องเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ผู้จำนองยอมรับผิดชอบทั้งสิ้นข้อความตอนแรกที่ระบุว่าการจำนองรายนี้เป็นประกันหนี้เงิน160,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลยส่วนข้อความในตอนหลังที่ระบุให้การจำนองเป็นประกันเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้านั้นไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าให้เป็นประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดหรือหนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า กรณีจึงมีข้อสงสัย ดังนั้นการตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จึงต้องฟังว่าสัญญาจำนองรายนี้ไม่ได้ประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกประเภทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดตามสัญญาประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ทำให้ลูกหนี้ต้องรับผิดตามหนี้เดิม
ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายร้อยละ 20 ของจำนวนหนี้ที่ไม่มีประกันทั้งหมด กำหนดชำระครบภายใน 2 ปี ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดได้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้ โดยเหตุที่ลูกหนี้เป็นผู้ผิดเงื่อนไข ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนอมหนี้ ลูกหนี้จะถือปฏิบัติเอาตามสัญญาประนอมหนี้ซึ่งศาลมีคำสั่งยกเลิกต่อไปอีกไม่ได้ต้องรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามหนี้เดิมเต็มจำนวนหนี้ ส่วนข้อผูกมัดเจ้าหนี้ตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483จะผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดได้ต่อเมื่อลูกหนี้มิได้เป็นผู้ผิดนัดตามข้อตกลงในสัญญาประนอมหนี้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดสัญญาประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ทำให้ต้องรับผิดตามหนี้เดิม
ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดตามคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้โดยเหตุที่ลูกหนี้เป็นผู้ผิดเงื่อนไขไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนอมหนี้ลูกหนี้จะถือปฏิบัติเอาตามสัญญาประนอมหนี้ซึ่งศาลมีคำสั่งยกเลิกต่อไปอีกไม่ได้ ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่เหลือแก่เจ้าหนี้ตามหนี้เดิมที่ยังไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนหนี้ ส่วนข้อผูกมัดเจ้าหนี้ตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483จะผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดได้ต่อเมื่อลูกหนี้มิได้เป็นผู้ผิดนัดตามข้อตกลงในสัญญาประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งต่อคดีล้มละลาย: หนี้เดิมไม่สามารถนำมาฟ้องล้มละลายได้อีก
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง จึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันตนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง มีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีแพ่งผูกพันคดีล้มละลาย หนี้เดิมไม่อาจนำมาฟ้องซ้ำได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรกเมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันคนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องมีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการระงับซึ่งหนี้เดิม ผู้ค้ำประกันมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้
มูลหนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คือหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1ได้ชำระหนี้ดังกล่าวด้วยเช็คดังนี้ มูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อได้มีการชำระเงินตามเช็คนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม ปรากฏว่าเมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินตามเช็ค แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉะนั้น มูลหนี้เดิมตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับโจทก์จึงยังไม่ระงับ โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามมูลหนี้เดิมและให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมได้ โจทก์ระบุอ้างตั๋วสัญญาใช้เงินต่อศาลไว้แล้ว แต่มิได้ส่งสำเนาให้จำเลยที่ 2 ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการรับสภาพหนี้จากการชำระด้วยเช็ค แม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ หนี้เดิมยังคงมีผล
ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ชื่อ บริษัท อ.จำกัดกับทั้งการที่โจทก์มอบอำนาจให้ ว.เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรับและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า จำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าว และแม้โจทก์จะอ้างอิงเอกสารหนังสือรับรองเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรก ก็ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีและแม้ศาลล่างทั้งสองจะรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นพ่อค้าขายเครื่องปรับอากาศฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบเครื่องปรับอากาศและอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศแก่จำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) และการที่จำเลยที่ 2 ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค 5 ฉบับผ่อนชำระหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศและอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศแทนจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่สิทธิเรียกร้องนั้นยังไม่ขาดอายุความ ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงเป็นการรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ลงในเช็คฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คฉบับสุดท้ายได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ชำระราคาสินค้าไปแล้ว 370,046 บาท คงค้างชำระ 211,408 บาทต่อมาจำเลยที่ 2 ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ด้วยเช็ค 5 ฉบับ จำนวน 194,445 บาท แต่เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ หนี้ค่าสินค้ายังคงไม่เปลี่ยนแปลง โจทก์เรียกร้องหนี้ที่ค้างได้เต็มจำนวน
โจทก์เป็นพ่อค้าขายเครื่องปรับอากาศฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบเครื่องปรับอากาศและอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศแก่จำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) และการที่จำเลยที่ 2 ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค 5 ฉบับผ่อนชำระหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศและอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศแทนจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่สิทธิเรียกร้องนั้นยังไม่ขาดอายุความ ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงเป็นการรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ลงในเช็คฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คฉบับสุดท้ายได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ชำระราคาสินค้าไปแล้ว 370,046 บาท คงค้างชำระ 211,408 บาทต่อมาจำเลยที่ 2 ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ด้วยเช็ค 5 ฉบับ จำนวน 194,445 บาท แต่เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ หนี้ค่าสินค้ายังคงไม่เปลี่ยนแปลง โจทก์เรียกร้องหนี้ที่ค้างได้เต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะโต้แย้งยอดหนี้ แต่ยอมรับหนี้เดิม
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน2528 แต่จำเลยก็รับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นโจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(2)(3) โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวนก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5313/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้เดิมเป็นหนี้กู้ยืม สัญญากู้ยืมผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์เมื่อผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืม หนี้ค่าน้ำมันและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์ รวมเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ให้แก่โจทก์จำนวน 140,000 บาท จำเลยได้รับเงินไปแล้วโดยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ปรากฏตามสัญญากู้ท้ายฟ้อง ครั้นหนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 232,400 บาท ดังนี้ ฟ้องของโจทก์แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เนื่องจากมูลหนี้ใดบ้าง เมื่อรวมหนี้ทุกประเภทจนถึงวันฟ้อง จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อีกเท่าใด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ อันเป็นการถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืมและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์จำนวน140,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินระบุหนี้เป็นจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ กรณีเป็นการที่คู่สัญญาเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้อื่น และหนี้เงินยืมมารวมผูกพันกันในลักษณะกู้ยืมตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นไว้สัญญากู้จึงผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์.
เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืมและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์จำนวน140,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินระบุหนี้เป็นจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ กรณีเป็นการที่คู่สัญญาเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้อื่น และหนี้เงินยืมมารวมผูกพันกันในลักษณะกู้ยืมตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นไว้สัญญากู้จึงผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์.