คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน่วงเหนี่ยวกักขัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้าประเวณี, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, ความผิดฐานค้ามนุษย์, การกระทำความผิดหลายบท, การลงโทษ
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการสถานค้าประเวณีรับตัวนางสมจิตรผู้เสียหายไว้ แล้วบังคับให้ค้าประเวณี. ครั้นนางสมจิตรไม่ยินยอมก็ถูกผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่. เมื่อขัดขืนต่อไปอีกก็ถูกจำเลยที่ 1 ตบหน้า. และบางครั้งเมื่อนางสมจิตรถูกชายดึงเข้าไปในห้องแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ใส่กุญแจห้องข้างนอกและคอยเฝ้าอยู่. ทั้งยังตะโกนบอกชายที่มาเที่ยวว่าให้ตบตีได้ถ้านางสมจิตรไม่ยอม. ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น. เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยใช้กำลังประทุษร้าย. อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283 แล้ว. แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 282.เพราะนางสมจิตรอายุเกิน 18 ปี. และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 284. เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น. มิใช่เพื่อสำเร็จความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน.
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 รับตัวนางสาววรรณาผู้เสียหายอายุ 16 ปี ซึ่งถูกหลอกลวงมาไว้เป็นโสเภณีในสำนักของตน ก็ได้ชื่อว่าเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของชายที่มาเที่ยว. และจำเลยที่ 1 ได้เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งนางสาววรรณา อันเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 แล้ว. โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ.ใช้กำลังประทุษร้าย. ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม. หรือใช้วิธีข่มขืนใจประการอื่น. ทั้งไม่จำเป็นต้องให้มีผู้อื่นมาสำเร็จความใคร่กับนางสาววรรณาเสียก่อน.
สำหรับการที่จำเลยที่ 1 กระทำแก่นางสมจิตรผู้เสียหายโดยผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่. ในเมื่อนางสมจิตรไม่ยินยอม. และบางครั้งปิดประตูใส่กุญแจข้างนอก ขังนางสมจิตรไว้กับชายที่มาเที่ยวแล้วคอยเฝ้าอยู่. ย่อมเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังนางสมจิตรให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดต่อเสรีภาพ: ข่มขืนใจ-หน่วงเหนี่ยวกักขัง ต้องมีเจตนาและพฤติการณ์ชัดเจน
การฟ้องขอให้ลงโทษฐานความผิดต่อเสรีภาพนั้น สำหรับมาตรา 309 วรรคแรกจะต้องมีข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าจำเลยได้ข่มขืนใจ โดยทำให้กลัวว่า จะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ฯลฯ และสำหรับมาตรา 310 นั้น ก็จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้มีเจตนา หน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือทำให้ปรากฏตามฟ้องว่า โจทก์มีทางเข้าออกได้ แต่ไม่สะดวกและปลอดภัย เท่ากับทางเข้าออกทางประตู้เดิม ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ยังไม่พอแสดงถึงการกระทำของจำเลยอันจะเป็นผิดทางอาญาได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องสมคบหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อเรียกค่าไถ่ แม้ไม่มีรายละเอียดการกระทำของจำเลยแต่ละคน ก็ไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความผิดฐานสมคบหน่วงเหนี่ยวกักขังคนเพื่อสินไถ่นั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้ง 5 สมคบกันกระทำผิดเริ่มแต่วันที่ 13 ธ.ค. ถึง 17 ธ.ค.95 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนอันเป็นเวลาระหว่างที่จำเลยลักพาเด็กไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้เพื่อสินไถ่ ไม่จำต้องระบุว่าจำเลยคนใดทำอะไรความละเอียดนอกจากนี้เป็นข้อที่นำสืบจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นการฟ้องเคลือบคลุม
แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าจำเลยคนไหนเป็นผู้กักขังหน่วงเหนี่ยวและไม่มีพยานโจทก์เห็นผู้เสียหายถูกกักขังอยู่ในลังเมื่อเหตุอื่นๆ ฟังได้ว่าจำเลยสมคบกันหน่วงเหนี่ยวกักขังจริงจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉุดคร่าอนาจาร-หน่วงเหนี่ยวกักขัง: การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระ รวมกระทงลงโทษได้
จำเลยฉุดคร่าผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและเมื่อพาไปถึงบ้านผู้อื่นแล้วจำเลยยังได้บังอาจหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้อีกดังนี้เป็นการกระทำผิด 2 ตอนต่างกรรมต่างวาระกัน จำเลยย่อมมีผิดฐานฉุดคร่าอนาจารและฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 276,270 เป็นสองกระทง และศาลมีอำนาจให้รวมกระทงลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉุดคร่าอนาจารและการหน่วงเหนี่ยวกักขัง ศาลรวมกระทงลงโทษได้
ความผิดฐานฉุดคร่าอนาจารนั้น เมื่อได้ฉุดคร่าไปถึงที่หมายปลายทาง ได้ที่พักพิงเรียบร้อยแล้ว ความผิดฐานฉุดคร่าสำหรับตัวผู้ฉุดคร่าก็เป็นอันถึงที่สุด ถ้ายังมีการหน่วงเหนี่ยวกักตัวผู้ถูกฉุดคร่าไว้ต่อไป ก็เป็นความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพขึ้นอีกกระทงหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจรวมกระทงลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้เสื่อมเสียอิสสระภาพ ต้องพิจารณาพฤติการณ์ครบถ้วนตามกระบวนการ
คดีได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า จำเลยบอกว่าจะจับตัวไปส่งสถานีตำรวจ แล้วจำเลยก็คุมตัวผู้เสียหายไป และเตะผู้เสียหายในระหว่างทาง แล้วหาส่งตัวผู้เสียหายต่อกำนันหรืออำเภอไม่ เพียงเท่านี้ ศาลจะด่วนยกข้อหาฐานทำให้เสื่อมเสียอิสสระภาพตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 270 เสียโดยไม่พิจารณาให้สิ้นกระแสร์ความตามกระบวนพิจารณาหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำร้ายร่างกาย และเสื่อมเสียอิสรภาพ ศาลต้องพิจารณาข้อหาอย่างครบถ้วน
คดีได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า จำเลยบอกว่าจะจับตัวไปส่งสถานีตำรวจ แล้วจำเลยก็คุมตัวผู้เสียหายไป และเตะผู้เสียหายในระหว่างทาง แล้วหาส่งตัวผู้เสียหายต่อกำนันหรืออำเภอไม่ เพียงเท่านี้ ศาลจะด่วนยกข้อหาฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพตาม กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 270 เสียโดยไม่พิจารณาให้สิ้นกระแสความตามกระบวนพิจารณาหาชอบได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กำลังควบคุมตัวเกินความจำเป็นของกำนัน แม้ผู้ถูกควบคุมแสดงกิริยาไม่เคารพ ถือเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง
+มาแสดงวาจาไม่เคารพกำนันในขณะทำการตามหน้าที่ซึ่งกำนันเห็นว่าเป็นความผิดจึงเข้าปล้ำจับกุม+โซ่ล่ามมือไว้ดังนี้กำนันมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามกฎหมายอาญา ม.270 +ควบคุมผู้ถูกจับจะต้องไม่ทำเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22741/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ปล้นทรัพย์-หน่วงเหนี่ยวกักขัง ศาลฎีกาแก้ไขกระทงโทษ
ความผิดฐานปล้นทรัพย์และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง โจทก์บรรยายฟ้องความผิดทั้งสองฐานรวมมาในฟ้องข้อ ค. ว่า เหตุที่จำเลยทั้งสี่กระทำการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 นั้น ก็เพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาหรือเพื่อให้ยื่นให้ทรัพย์นั้น หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงเป็นกรรมเดียวกัน ที่ศาลล่างเรียงกระทงลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความเสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาให้ได้รับประโยชน์ดุจจำเลยที่ 3 ผู้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยทรมาน, ลักทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, ร่วมกันทำลายศพ: ศาลแก้โทษและกระทงความผิด
จำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตลอดว่าจะทำอย่างไรต่อไปไม่ใช่เพียงแต่ร่วมทางไปโดยจำยอม แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ใช่ผู้ลงมือทำร้ายและฆ่าผู้ตายทั้งสอง แต่เป็นผู้ควบคุมตัวผู้ตายที่ 2 อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังและขับรถอีกคันหนึ่งติดตามไปตลอดทาง อันมีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้การกระทำความผิดทั้งหมดสำเร็จผล จึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังที่จำเลยที่ 3 ฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายที่ 2 และฆ่าผู้ตายที่ 2 โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้ประหารชีวิต ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) แล้วคงจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่อาจนำโทษความผิดฐานอื่นมาลงแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อีกและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ข้อนี้นั้นไม่ถูกต้อง ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 ที่บัญญัติว่า สำหรับความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งจะกระทำไม่ได้เฉพาะโทษประหารชีวิตที่โดยสภาพแล้วไม่อาจกำหนดโทษอื่นได้อีกเท่านั้น กรณีจึงต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วก็คงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตลอดชีวิตตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษและเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
of 6