พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก ส่วนราชการผู้จ่ายมีหน้าที่วินิจฉัยสิทธิ และถือเป็นผู้ผิดนัดเมื่อปฏิเสธการจ่าย
บำเหน็จตกทอดมิใช่ทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ 6
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวที่จะต้องหักเงินและนำส่งโดยมิพักต้องมีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหน้าที่สถานธนานุเคราะห์: การกระทำโดยทุจริตของเจ้าหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีหน้าที่จัดการและดูแลทรัพย์สินของสถานธนานุเคราะห์ได้ร่วมกันใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่จัดการดูแลทรัพย์สินที่รับจำนำไว้ และมีหน้าที่นำทรัพย์สินมาให้ผู้จำนำไถ่คืน ส่วนจำเลยที่ 2ทำหน้าที่ผู้จัดการมีหน้าที่รับจำนำและมีหน้าที่ให้การไถ่ถอนทรัพย์สินแก่ประชาชนที่นำทรัพย์สินไปจำนำ ผู้จำนำจะต้องนำทรัพย์สินที่จะจำนำมายื่นให้จำเลยที่ 2ตรวจดูสภาพทรัพย์สินและตีราคา แล้วจำเลยที่ 2 จะเขียนข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินรวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ แล้วส่งให้พนักงานข้อมูลพิมพ์ตั๋วจำนำอันเป็นการยืนยันว่าการตรวจสภาพและตีราคาทรัพย์จำนำ เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 2 ทั้งหลังจากทราบเหตุคดีนี้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานสรุปว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ โดยร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 นำสืบปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดคนเดียวโดยจำเลยที่ 2 อ้างข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นข้อต่อสู้คดีได้โดยถูกต้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 2 จึงมิได้หลงต่อสู้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างครูเอกชนเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ และการใช้ความหมายของคำว่า 'ทุจริต' ตามพจนานุกรม
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 34 กำหนดว่า ผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ครูซึ่งเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1)ทุจริตต่อหน้าที่ ฯลฯ และระเบียบดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ทั้งมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่มีบัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34 (1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34 (1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างครูเนื่องจากทุจริตหน้าที่: การตีความคำว่า 'ทุจริต' และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 กำหนดว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ครูซึ่งเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ ฯลฯ และระเบียบดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ ทั้งมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต"ตามที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34(1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34(1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่ชำระเงินตามเงื่อนไข แม้ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรง
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์จำเป็นต้องขอให้ผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ก็เพื่อให้ผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีผลให้ผู้ขายคือจำเลยที่ 4 มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอนเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิต กล่าวคือ เมื่อมีการเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น หากผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศของผู้ร้อง และมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศในภายหน้าด้วยเหตุนี้การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัด ห้ามผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4 ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4 ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: หน้าที่ธนาคารจ่ายเงินเมื่อเอกสารครบถ้วน แม้มีข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ก็เพื่อให้ธนาคารผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินอันมีผลให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอนเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยนำเอกสารต่าง ๆซึ่งถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตมาเสนอต่อธนาคารเพื่อการรับเงิน ธนาคารผู้ร้องจึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขก่อนจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น นอกจากนั้นเลตเตอร์ออฟเครดิตฉบับนี้มีเงื่อนไขให้จำเลยที่ 4 สามารถนำเอกสารและตั๋วแลกเงินไปเสนอขอรับเงินจากธนาคารใดธนาคารหนึ่งก่อนได้ ซึ่งมีผลให้ธนาคารที่รับซื้อเอกสารและตั๋วแลกเงินไว้นั้น (NegotiatingBank)เป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารผู้ร้องที่กรุงนิวยอร์กได้หากธนาคารผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศและการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งยังก่อให้เกิดผลเสียต่อเนื่องถึงธนาคารหรือบุคคลอื่นที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกันในอีกหลายกรณีด้วย การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัดห้ามธนาคารผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน: กรณีที่ยังไม่ได้เริ่มทำงาน และการซื้อของส่วนตัวไม่อยู่ในขอบเขตของหน้าที่
การที่โจทก์ออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่และประสบอุบัติเหตุในระหว่างเดินทาง โจทก์ยังไม่ได้ลงมือทำงานให้แก่นายจ้าง ที่โจทก์ต้องกลับบ้านไปบอกให้ครอบครัวทราบว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันเกิดเหตุทำให้โจทก์ต้องเดินทางออกจากบ้านมายังที่ทำงานก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ไม่เกี่ยวกับงานที่โจทก์ต้องทำ และการที่โจทก์ตั้งใจแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่โจทก์เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทาง ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้มีคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์กระทำเอง ไม่ได้ทำตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์มิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องฎีกาไปยังศาลฎีกา – ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาอธิบายคำพิพากษาศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและคำร้องของจำเลยดังกล่าวไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของจำเลยเสียเองหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในกรณีเช่นนี้ได้ แต่เมื่อคดีมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งไปโดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออธิบายคำพิพากษาศาลฎีกาไปยังศาลฎีกา และอำนาจศาลฎีกามีคำสั่งเองได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาอธิบายคำพิพากษาศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและคำร้องของจำเลยดังกล่าวไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่ง ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของจำเลยเสียเองหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในกรณีเช่นนี้ได้ แต่เมื่อคดีมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งไปโดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาใหม่