พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ สัญญาใหม่ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้เช่าไม่อาจอ้างสิทธิขยายสัญญาเดิม
สัญญาเช่ากำหนดเวลาสิ้นอายุไว้ และมีว่าถ้าไม่ทำสัญญากันใหม่เป็นหนังสือ ผู้เช่าจะไม่อ้างเหตุใด ๆ ขยายอายุสัญญาออกไป ผู้เช่ายกเหตุที่มีสัญญาให้ผู้เช่าได้เช่าใหม่ขึ้นอ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ตึกส่วนควบของที่ดิน: สัญญาเช่ากำหนดให้ตึกตกเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ
เช่าที่ดินปลูกตึกกำหนด 10 ปี มีข้อสัญญาว่า เมื่อสัญญาสิ้นอายุผู้ให้เช่าเรียกให้โอนตึก ผู้เช่าต้องจดทะเบียนโอนให้ทันที ดังนี้ ตึกตกเป็นของผู้ให้เช่าที่ดินตาม มาตรา107 โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152-2167/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ
ผู้ให้เช่าแผงลอยไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าฟ้องขับไล่ผู้เช่าเมื่อสัญญาสิ้นอายุแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ การรับเงินหลังฟ้อง ไม่สร้างสัญญาเช่าใหม่ ฟ้องขับไล่ได้
การที่โจทก์รับเงินจากจำเลยไว้เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว เงินดังกล่าวไม่ว่าจะเรียกเงินค่าเช่าหรือค่าเสียหาย ก็จะถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ไม่ได้ ในเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่จะปรับกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ และเมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาเช่ากันไว้แน่นอน สัญญาเช่าสิ้นกำหนดแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดอายุ
โจทก์กับ ส. สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่ายังอยู่ต่อ ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดเวลาเช่าแน่นอนในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3 เหรียญอเมริกัน แต่มีสัญญาข้อหนึ่งระบุว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ถ้าผู้เช่ายังขืนอยู่ต่อไปอีก ผู้เช่ายอมเสียค่าเช่าเดือนละ 20 เหรียญอเมริกัน เว้นแต่จะได้ทำสัญญาทำใหม่ สัญญาข้อนี้แสดงเจตนาของคู่สัญญาว่า ถ้าผู้เช่ายังขืนอยู่ต่อไป เป็นการอยู่โดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอม ผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่ามากกว่าค่าเช่าปกติที่ตกลงไว้ ค่าเช่านี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หาใช่เงื่อนไขการเช่าที่มีผลให้ผู้เช่าได้เช่าตึกต่อไปหลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้ว โดยไม่มีกำหนดเวลาไม่
หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาได้ 8 วัน ผู้ให้เช่าก็ยื่นฟ้องขอให้ขับไล่ผู้เช่า ถือว่าผู้ให้เช่าทักท้วงไม่ยอมให้เช่าต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีอำนาจฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าอีก
หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาได้ 8 วัน ผู้ให้เช่าก็ยื่นฟ้องขอให้ขับไล่ผู้เช่า ถือว่าผู้ให้เช่าทักท้วงไม่ยอมให้เช่าต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีอำนาจฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุแล้วยังอยู่ต่อ ค่าเช่าที่สูงขึ้นไม่ใช่ค่าเช่าใหม่ แต่เป็นเบี้ยปรับ ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ทันที
สัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลาเช่าแน่นอน ค่าเช่าเดือนละ 3 เหรียญและมีข้อสัญญาอยู่ข้อหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วถ้าผู้เช่ายังขืนอยู่ต่อไป ผู้เช่ายอมเสียค่าเช่าเดือนละ 20 เหรียญ เว้นแต่จะได้ทำสัญญากันใหม่ ดังนี้ หมายความว่าค่าเช่าเดือนละ 20 เหรียญนี้ เป็นเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ค่าเช่าหรือเงื่อนไขที่มีผลให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และเมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าได้ 8 วัน ผู้ให้เช่าก็ฟ้องขับไล่ผู้เช่า ย่อมถือว่าผู้ให้เช่าทักท้วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 แล้ว ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาเช่ากันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อสัญญาหมดอายุ
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน. ถ้าไม่ชำระ.ยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระเงินคืนใน 30เมษายน 2495 ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว. โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่30 เมษายน 2495. หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927-1957/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ สิทธิเช่าต่อขึ้นอยู่กับความยินยอมของผู้ให้เช่า ไม่ผูกพันตามสัญญาเดิม
ข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า เมื่อหมดอายุสัญญาเช่านี้ผู้เช่ามีความประสงค์เช่าต่อต้องทำหนังสือสัญญาเช่ากันใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันหมดอายุสัญญาเช่า. หากพ้นกำหนดผู้เช่าไม่ไปทำสัญญาเช่าต่อ. ถือว่าผู้เช่าสละสิทธินั้น. หาได้มีความหมายว่า โจทก์จะต้องยินยอมให้จำเลยทำสัญญาต่ออายุการเช่าใหม่ไม่. เพราะไม่มีข้อความแสดงว่าผู้ให้เช่าจำต้องยอมให้ผู้เช่าทำการเช่าตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขของสัญญาเดิมแต่อย่างใด. ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อ. แม้จำเลยจะได้แจ้งความประสงค์ต่อโจทก์แล้วก็ตาม.
แม้สัญญานี้จะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยมิได้แสดงให้ศาลเห็นว่าสัญญาต่างตอบแทนรายนี้มีกำหนดเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี. สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีกำหนดเวลาเพียง 3 ปี เท่าที่ปรากฏในสัญญาเช่านั้นเท่านั้น.
แม้สัญญานี้จะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยมิได้แสดงให้ศาลเห็นว่าสัญญาต่างตอบแทนรายนี้มีกำหนดเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี. สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีกำหนดเวลาเพียง 3 ปี เท่าที่ปรากฏในสัญญาเช่านั้นเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าทรัพย์สินและการคิดค่าเสียหายจากการใช้สถานที่หลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาเช่าข้อ 2 มีความว่า สัญญาเช่ามีกำหนด 15 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2504 และแทนการชำระค่าเช่าในระหว่างการเช่าดังกล่าวนี้ ผู้เช่าตกลงซ่อมแซมโรงและหน้าโรงในส่วนที่จำเป็นเพราะทรุดโทรมไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ประมาณเงิน 200,000 บาท เป็นการตอบแทนแทนค่าเช่า ฯลฯ สัญญาข้อ 10 มีความว่าถ้าหมดสัญญาเช่า ผู้เช่า ไม่อาจจะดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะกิจการไม่เจริญตามความคาดหมาย แต่เพื่อมิต้องขนย้ายทรัพย์สินที่ซื้อมาจากบริษัท ค. ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าต่อสัญญาโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แต่ให้คิดหักเป็นรายเดือนออกจากเงิน 170,000 บาท เป็นจำนวนเดือนละ 5,000 บาท จนครบจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว เมื่ออยู่ต่อไปจนครบจำนวนเงิน 170,000 บาทที่จ่ายไปแล้ว ผู้เช่ายินยอมโอนทรัพย์สมบัติรายนี้ให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งนี้ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของผู้เช่าว่าจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาเช่าข้อ 2 ข้อ 10 ประกอบกันแล้ว ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะที่ทำสัญญาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้การเช่าระยะแรกกับระยะหลังติดต่อกันไป คำว่า "ต่อสัญญา" ในข้อ 10 นั้น ในที่นี้ไม่มีทางแปลเป็นอย่างอื่นนอกจากต่อจากกำหนดเวลาเช่าระยะแรก ข้อความในสัญญาข้ออื่นก็ไม่มีตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะเว้นระยะการเช่าสองระยะนั้นให้ห่างจากกันในกรณีใด ฉะนั้นเมื่อการเช่าระยะแรกครบกำหนด 15 เดือนในวันที่ 15 มิถุนายน 2505 การเริ่มต้นนับกำหนดเวลาเช่าระยะที่ 2 จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 16มิถุนายน 2505 ตามสัญญา และเมื่อคำนวณจำนวนเงินค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท หักกับจำนวนเงิน 170,000 บาท ตามสัญญาข้อ 10 แล้ว การเช่าระยะที่ 2 มีกำหนด 34เดือน และครบกำหนดในวันที่ 15 เมษายน 2508
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนตร์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนตร์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนตร์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนตร์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนตร์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนตร์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่