พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำให้การนอกกรอบเวลาและผลกระทบทางกฎหมาย การส่งหมายเรียกผ่านญาติ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำให้การ เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228(3), 247
ตามรายงานเจ้าหน้าที่ของพนักงานศาลได้ระบุว่า ว. เป็นพี่ชายจำเลยมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 ทั้งในหมายเรียกก็ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้จำเลยทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลภายใน 8 วัน ฉะนั้น เหตุที่จำเลยกล่าวอ้างว่าในวันที่เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกนั้น จำเลยไม่ได้อยู่บ้านเพราะสามีซึ่งป่วยไปรักษาตัวที่กรุงเทพมหานคร ว. ซึ่งเป็นญาติและอยู่บ้านเดียวกับจำเลยเป็นผู้รับหมายเรียกไว้ ครั้นเมื่อ จำเลยนำสามีกลับมาถึงบ้านตรงกับวันที่ครบกำหนดยื่นคำให้การ จึงโทรขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปอีก 7 วัน เพื่อไปติดต่อหาทนายความ ที่กรุงเทพมหานครแก้ต่างให้นั้น ไม่เป็นเหตุให้รับคำให้การของจำเลยได้
กรณีของจำเลยเป็นการยื่นคำให้การพ้นกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้มิใช่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 จึงรับคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาในฐานะที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 199 ไม่ได้
ตามรายงานเจ้าหน้าที่ของพนักงานศาลได้ระบุว่า ว. เป็นพี่ชายจำเลยมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 ทั้งในหมายเรียกก็ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้จำเลยทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลภายใน 8 วัน ฉะนั้น เหตุที่จำเลยกล่าวอ้างว่าในวันที่เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกนั้น จำเลยไม่ได้อยู่บ้านเพราะสามีซึ่งป่วยไปรักษาตัวที่กรุงเทพมหานคร ว. ซึ่งเป็นญาติและอยู่บ้านเดียวกับจำเลยเป็นผู้รับหมายเรียกไว้ ครั้นเมื่อ จำเลยนำสามีกลับมาถึงบ้านตรงกับวันที่ครบกำหนดยื่นคำให้การ จึงโทรขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปอีก 7 วัน เพื่อไปติดต่อหาทนายความ ที่กรุงเทพมหานครแก้ต่างให้นั้น ไม่เป็นเหตุให้รับคำให้การของจำเลยได้
กรณีของจำเลยเป็นการยื่นคำให้การพ้นกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้มิใช่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 จึงรับคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาในฐานะที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 199 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความจำเลยร่วม: เริ่มนับจากวันที่หมายเรียกเข้า ไม่ใช่ฟ้องเริ่มต้น
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาแต่มูลละเมิดภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรกแล้วก็ตามแต่เมื่อได้ขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)ปรากฏว่าล่วงพ้นกำหนดอายุความดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงเป็นอันขาดอายุความฟ้องร้องเพราะกำหนดอายุความย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแก่ลูกหนี้แต่ละคนโดยเฉพาะ
กรณีดังกล่าวจำเลยร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58วรรคแรกหาได้มีสิทธิเท่ากับจำเลยไม่ จำเลยร่วมจึงมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้และกำหนดอายุความสำหรับจำเลยร่วมต้องถือตามวันที่โจทก์ขอให้หมายเรียกเข้ามาในคดีมิใช่ถือตามคำฟ้องเริ่มต้นคดี
กรณีดังกล่าวจำเลยร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58วรรคแรกหาได้มีสิทธิเท่ากับจำเลยไม่ จำเลยร่วมจึงมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้และกำหนดอายุความสำหรับจำเลยร่วมต้องถือตามวันที่โจทก์ขอให้หมายเรียกเข้ามาในคดีมิใช่ถือตามคำฟ้องเริ่มต้นคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การส่งหมายเรียก และการระบุประเภทรายได้ที่ต้องเสียภาษี
เจ้าพนักงานนำหมายเรียกไปส่งยังสถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันซึ่งโจทก์เคยประกอบการค้าแต่ไม่มีผู้รับจึงทำการปิดหมายเรียกไว้ณ ที่นั้นเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งเลิกกิจการค้าหรือย้ายสำนักงานที่ประกอบการค้านั้นไปที่อื่นจะถือว่าการส่งหมายเรียกไม่ชอบไม่ได้และการที่โจทก์ไม่นำส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีมาให้เจ้าพนักงานตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในหมายเรียกเจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)
รายได้จากการรับฝากรถต้องเสียภาษีการค้าประเภทคลังสินค้า
รายได้จากการรับฝากรถต้องเสียภาษีการค้าประเภทคลังสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องแย้งและการนับระยะเวลาให้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ต้องเริ่มนับเมื่อได้รับหมายเรียก ไม่ใช่วันอ่านคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลย ส่วนฟ้องแย้งสั่งไม่รับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นต้องสั่งให้ส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในแปดวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคแรก และระยะเวลาแปดวันนั้นต้องนับตั้งแต่โจทก์ได้รับหมายเรียกแล้วมิใช่นับตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้รับฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดออกหมายเรียกให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องแย้งและการกำหนดระยะเวลาทำคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลต้องส่งหมายเรียกและกำหนดเวลาจากวันที่โจทก์ได้รับหมายเรียก
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลย ส่วนฟ้องแย้งสั่งไม่รับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นต้องสั่งให้ส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในแปดวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคแรก และระยะเวลาแปดวันนั้นต้องนับตั้งแต่โจทก์ได้รับหมายเรียกแล้ว มิใช่นับตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้รับฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดออกหมายเรียกให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไต่สวนของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาล
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์ผู้อุทธรณ์มาไต่สวนได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 32
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2), 33
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2), 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยภาษี
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์ผู้อุทธรณ์มาไต่สวนได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 32
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2),33
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์รับหมายเรียกแล้วไม่ไปชี้แจงและรับการไต่สวนโดยไม่มีเหตุสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2),33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงส่งเอกสารบัญชีตามหมายเรียก ทำให้เจ้าหน้าที่ประเมินภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนดได้
โจทก์พยายามหลีกเลี่ยงไม่ส่งบัญชีเอกสารหลักฐานแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อตรวจสอบตามหมายเรียกเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายตาม มาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการนำส่งหมายเรียก ทำให้ศาลสั่งทิ้งฟ้อง แม้จะอ้างเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกให้จำเลยแก้คดีภายใน 7 วัน กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อทราบไว้แล้ว โจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนหรือพิจารณาคดีใหม่ว่า ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้องหลังจากวันที่ศาลสั่งให้นำส่งหมายเรียกถึง 34 วัน ข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ฟังไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องไต่สวน
การที่ทนายจำเลยมาศาลและลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกนั้น เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนั้น โจทก์ก็ต้องนำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาล
การที่ทนายจำเลยมาศาลและลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกนั้น เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนั้น โจทก์ก็ต้องนำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม: สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิของเจ้าของทรัพย์สิน
โจทก์ได้เช่าตึกพิพาทจาก ส. แต่เข้าครอบครองตึกชั้นล่างไม่ได้เพราะจำเลยครอบครองอยู่ จึงได้มีการฟ้องคดีกันระหว่างโจทก์จำเลยหลายคดี ในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในตึกพิพาทชั้นล่าง จนสิ้นเดือนมีนาคม 2519 แต่ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ก็มาฟ้องคดีนี้ขอให้ศาลหมายเรียก ส.เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย เช่นนี้ จำเลยอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมิได้รบกวนขัดขวางสิทธิโจทก์และไม่ได้โต้แย้งสิทธิของ ส. เมื่อโจทก์ให้จำเลยอาศัยเอง และหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องหรือถูก ส. ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ทดแทน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี กรณีจึงไม่ชอบที่จะหมายเรียก ส. เข้ามาในคดีตามมาตรา 549 ประกอบด้วยมาตรา 477 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามาตรา 57(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลจึงบังคับให้ขับไล่จำเลยตามคำขอของ ส. ไม่ได้