คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หย่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์หลังหย่าและการโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับสถานะการสมรสและทรัพย์สิน
ผู้ร้อง ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดลำดับที่ 2 ถึง 37ซึ่งมีราคาประเมินรวมกัน 78,150 บาท แต่มิได้คัดค้านการอายัดเงินจำนวน70,000 บาท ที่เทศบาลเมืองพะเยาจะต้องจ่ายให้แก่ร้านพิสิษฐ์การไฟฟ้าของผู้ร้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่อายัดด้วยนั้น จึงเป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด อันเป็นการมิชอบ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนเงินที่อายัดมาด้วยในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ทั้งได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงขึ้นมา ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงจำนวน78,150 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกต ทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้น และจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้น ฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวง ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภริยากัน ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: บิดายังมีอำนาจ แม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอน
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราว ซึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 1585 และ 1586 กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้อง ก่อนที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.จดทะเบียนหย่าขาดกัน อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.ตามมาตรา1566 เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกัน มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่ 1 และ ด.ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด แต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.เพียงตกลงกันให้ ด.มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้น ไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด อำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่ 1 และ ด.ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสาม และเมื่อ ด.ตาย ป.พ.พ.มาตรา 1566 (1) ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่า ให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่ 1 โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่า ด.และพยายามฆ่า ส.โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา 1582 บัญญัติไว้ ผู้ร้องที่ 1 ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่ กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1585 ขึ้นอีกได้ เนื่องจากผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสหลังหย่าและการเสนอคำร้องต่อศาลที่ไม่ถูกต้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า น.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่า ผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว จึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับ น. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
บทบัญญัติในมาตรา 1475 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย และกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่
มาตรา 1484 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ดังนั้น สามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่ แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับ น.ไปก่อนแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับ น.จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอคำร้องจัดการสินสมรสหลังหย่าขาด เป็นคดีมีข้อพิพาท ต้องฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาลแต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าน.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่าผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวจึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับน. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง บทบัญญัติในมาตรา1475แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วยและกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่ มาตรา1484เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาดังนั้นสามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับน. ไปก่อนแล้วฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าผู้ร้องกับน. จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีกผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า: การคบชู้และพฤติกรรมไม่เหมาะสมของคู่สมรสต่อบุคคลอื่นและบุตร
โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่เพราะโจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะหึงหวงและป้องกันมิให้โจทก์ทอดทิ้งตนและบุตรจำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ให้โอนย้ายโจทก์เพื่่อให้โจทก์เลิกยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นและให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัวแต่่โจทก์มิได้ปฏิบัติตัวดีขึ้นจำเลยจึงต้องร้อยเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์อีกหลายครั้งเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์แต่โจทก์ไม่นำพาจนถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยและการที่โจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาทั้งเห็นดีเห็นชอบให้หญิงอื่นแสดงตนเทียบฐานะเสมอจำเลยโดยใช้สรรพนามแทนตนว่า"แม่"ต่อบุตรทั้งสองของโจทก์จำเลยย่อมเกินกว่าที่จำเลยจะยอมรับได้ที่จำเลยกีดกันหลบเลี่ยงมิให้โจทก์พบปะบุตรจึงมีเหตุผลที่จะกระทำได้โจทก์จะอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักกลบส่วนเกินที่ได้รับไปแล้ว
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่ง เมื่อเงินอยู่ที่โจทก์ เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไป ต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไป แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน จะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักเงินที่ได้รับเกินไปได้ และการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่งเมื่อเงินอยู่ที่โจทก์เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไปต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไปแม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533บัญญัติไว้คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากันซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันจะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อตกลงโมฆะและสิทธิในการกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องกับลูกหนี้ได้จดทะเบียนหย่ากัน และได้ทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของผู้ร้อง ส่วนที่พิพาททั้งห้าแปลงเป็นของลูกหนี้ ในชั้นสอบสวนคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 ของผู้ร้องนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังข้อเท็จจริงว่า บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ ที่ตกลงกันให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 เป็นของผู้ร้องนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องผูกพันเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์และผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอกันส่วนเงินค่าขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างว่า คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 เพียงแปลงเดียว ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกห้าแปลงที่เหลือย่อมไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่า ซึ่งเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์วินิจฉัยว่า เป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไปแล้วนั่นเอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทรัพย์สินของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายังไม่มีการแบ่งกัน ที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงตามคำร้องจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของผู้ร้องและลูกหนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินจากการหย่าและการโอนสิทธิในที่ดินหลังการหย่า ไม่ถือเป็นการฉ้อฉลหรือทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่1ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1532และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้จึงเป็นเอกสารมหาชนต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงรับฟังได้ว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วที่พิพาทจึงตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าการที่จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นทายาทของ ม. ในภายหลังมีผลเป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงหาใช่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินอันจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบและขอเพิกถอนตามมาตรา237ไม่แม้จำเลยที่1ที่3มิได้ฎีกาแต่เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้จำเลยที่1ที่3ได้รับผลจากคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งสินสมรสหลังหย่า แม้ตกลง 'เรื่องทรัพย์สินไม่มี' และการบังคับคดีกรรมสิทธิ์รวม
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า "เรื่องทรัพย์สินไม่มี" แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่ง แม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะ และคดีฟังไม่ได้ว่า ข้อตกลงหย่าเป็นโมฆียะก็ตาม
ในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ศาลล่างพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้น แม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตาม แต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวม ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น เมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่น หากมีข้อขัดข้องในชั้นบังคับคดีก็ต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 29