คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: การหลอกลวงเพื่อรับเงินสงเคราะห์ฌาปนกิจสงเคราะห์ ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงหากไม่ได้ทรัพย์สินโดยตรง
++ เรื่อง ฉ้อโกง
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 143 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการหลอกลวงขายสินค้าเสื่อมคุณภาพ และข้อยกเว้นความรับผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
จำเลยส่งไข่ผงที่เสื่อมคุณภาพแล้วให้โจทก์ร่วม โดยหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าไข่ผงดังกล่าวเป็นนมผงตามที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อ เพื่อหวังจะได้เงินจากโจทก์ร่วมอันเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต แต่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระเงินให้จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกง แต่ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา 271
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ.ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ให้ผลิตอาหารสัตว์ตามใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 มาตรา18 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย จึงถือได้ว่าบริษัท อ.ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมาย และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยและวรรคสองบัญญัติว่า ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. จึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยส่งไข่ผงเสื่อมคุณภาพหลอกเป็นนมผง ไม่ผิดฐานขายของหลอกลวง แต่เป็นการพยายามฉ้อโกง และได้รับการคุ้มกันตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
จำเลยส่งไข่ผงที่เสื่อมคุณภาพแล้วให้โจทก์ร่วม โดยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าไข่ผงดังกล่าวเป็นนมผงตามที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อ เพื่อหวังจะได้เงินจากโจทก์ร่วมอันเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตเพียงแต่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระเงินให้จำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกง ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการขายของโดยหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดสภาพและคุณภาพแห่งของอันเป็นเท็จอีกหรือไม่ พระราชบัญญัติควบคุมอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 18 วรรคสองกำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย และมาตรา 19 วรรคหนึ่งกำหนดว่าใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยโดยวรรคสองให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย ดังนั้น การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมายจำเลยจึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ฯ มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับรถยนต์ที่ถูกลักมา และเจตนาเพื่อหลอกลวงเจ้าหน้าที่
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไปต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลยรถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนาจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอมซึ่งเป็นความผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกันโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็ เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันจึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสาม รายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะ ของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุใน เอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษ หนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้ อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิด ฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้องแต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อขอหนังสือคนประจำเรือและการมีอำนาจฟ้องของผู้ถูกหลอกลวง
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดต้องการเดินทางไปต่างประเทศโดยวิธีผิดกฎหมาย จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย แม้เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกามิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอก ให้แจ้งว่าสามารถทำหนังสือเดินทางคนประจำเรือพาโจทก์ เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า ทำให้โจทก์ หลงเชื่อว่าเป็นความจริง โจทก์จึงมิได้ร่วมกระทำความผิด กับจำเลย จึงไม่ต้องวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยต่อไป ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ มีอำนาจ ฟ้องจำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ โจทก์หลงเชื่อโอนเงินให้จำเลย
จำเลยได้มาหลอกลวงขอรับชำระหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์กู้เงินจาก ค. จากโจทก์ โดยจำเลยอ้างว่ารับแทน ค. และโจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 216,000 บาท ให้จำเลยไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการแสดงข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงให้ชำระหนี้แทนเจ้าหนี้
จำเลยได้มาหลอกลวงขอรับชำระหนี้เงินกู้จำนวน200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์กู้เงินจาก ค. จากโจทก์ โดยจำเลยอ้างว่ารับแทน ค. และโจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 216,000 บาท ให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาทุจริตเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินโดยมีการหลอกลวง ทำให้สัญญาไม่ผูกพันและเกิดความรับผิดในฐานะผู้ยึดครอง
ส.หลอกลวงให้โจทก์เข้าใจว่า ส.เป็นตัวแทนของฝ่ายจำเลยมาสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง จากโจทก์ให้นำไปติดตั้งที่บ้านจำเลย ในขณะเดียวกัน ส.ก็ทำให้จำเลยเข้าใจว่า ส.เป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศดังกล่าวและนำพนักงานมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่บ้านจำเลยตามที่ได้เสนอขายให้จำเลยไว้กรณีจึงเป็นเรื่องที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ถูก ส.หลอกลวง การกระทำทั้งหลายของส.ที่มีต่อโจทก์ย่อมไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์ แม้การกระทำของ ส.ดังกล่าวที่มีต่อโจทก์จะเข้าลักษณะซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ก็ไม่ทำให้ ส.ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในเครื่องปรับอากาศของโจทก์ อันเกิดจากการกระทำเพื่อหลอกลวงใช้โจทก์เป็นเครื่องมือดังกล่าว ส.จึงไม่มีสิทธิขายเครื่องปรับอากาศของโจทก์ให้แก่จำเลยในขณะที่เครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของพนักงานโจทก์ ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาการซื้อเครื่องปรับอากาศ ดังกล่าวจาก ส.ขึ้นยันต่อโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์ขอถอดเอาเครื่องปรับอากาศคืนไป แต่จำเลยกลับปฏิเสธและยึดเอาเครื่องปรับอากาศของโจทก์ไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาเครื่องปรับอากาศแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่เกิดจากการหลอกลวง: จำเลยต้องรับผิดชำระราคาต่อโจทก์ แม้ถูกหลอกโดยตัวการ
ส.หลอกลวงให้โจทก์เข้าใจว่าส. เป็นตัวแทนของฝ่ายจำเลยมาสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่องจากโจทก์ให้นำไปติดตั้งที่บ้านจำเลย ในขณะเดียวกันส.ก็ทำให้จำเลยเข้าใจว่าส. เป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศดังกล่าวและนำพนักงานมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่บ้านจำเลยตามที่ได้เสนอขายให้จำเลยไว้กรณีจึงเป็นเรื่องที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ถูก ส.หลอกลวง การกระทำทั้งหลายของ ส. ที่มีต่อโจทก์ย่อมไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์ แม้การกระทำของ ส.ดังกล่าวที่มีต่อโจทก์จะเข้าลักษณะซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ไม่ทำให้ ส.ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในเครื่องปรับอากาศของโจทก์ อันเกิดจากการกระทำเพื่อหลอกลวงใช้โจทก์เป็นเครื่องมือดังกล่าว ส. จึงไม่มีสิทธิขายเครื่องปรับอากาศของโจทก์ให้แก่จำเลยในขณะที่เครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของพนักงานโจทก์ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาการซื้อเครื่องปรับอากาศ ดังกล่าวจาก ส. ขึ้นยันต่อโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์ขอถอดเอาเครื่องปรับอากาศคืนไปแต่จำเลยกลับปฏิเสธและยึดเอาเครื่องปรับอากาศของโจทก์ไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาเครื่องปรับอากาศแก่โจทก์
of 50