พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกประโยชน์จากตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องได้ และการแบ่งแยกที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาประโยชน์ที่อ้างว่าตัวแทนได้รับไว้จากการที่โจทก์มอบหมายให้ไปทำการแทนดังนั้น ถึงการตั้งตัวแทนนั้นจะไม่ได้ทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือ โจทก์ก็ย่อมฟ้องได้ไม่ตกเป็นโมฆะ
(อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 418/2501)
เอกสารมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ. โจทก์ก็นำสืบได้ว่าที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของที่พิพาทนั้นได้กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์หาใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่
(อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 1290/2501)
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 79 บัญญัติว่าเมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินแล้วประสงค์จะแบ่งแยกที่ดินเป็นบางส่วน ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้นและพนักงานอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้นไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินเมื่อได้รังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว ถ้าจะต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสียก่อน แล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่ให้ดังนั้นการที่คู่ความชี้เขตให้พนักงานศาลทำแผนที่แบ่งเขตที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ และศาลพิพากษาให้เป็นไปตามนั้น จึงไม่ชอบ ชอบที่จะให้ถอนชื่อจำเลยออกและใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้มีชื่อในโฉนด
(อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 418/2501)
เอกสารมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ. โจทก์ก็นำสืบได้ว่าที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของที่พิพาทนั้นได้กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์หาใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่
(อ้างฎีกาที่ 640/2489 และ 1290/2501)
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 79 บัญญัติว่าเมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินแล้วประสงค์จะแบ่งแยกที่ดินเป็นบางส่วน ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้นและพนักงานอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนั้นไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินเมื่อได้รังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว ถ้าจะต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก็ให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสียก่อน แล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่ให้ดังนั้นการที่คู่ความชี้เขตให้พนักงานศาลทำแผนที่แบ่งเขตที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ และศาลพิพากษาให้เป็นไปตามนั้น จึงไม่ชอบ ชอบที่จะให้ถอนชื่อจำเลยออกและใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้มีชื่อในโฉนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมต้องทำเป็นหนังสือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารทำไม่ได้ และอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน เมื่อหย่าขาดจากกัน จำเลยยอมเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และทำหนังสือสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งอาจจะมีขึ้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ซึ่งกฎหมายบังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยขอนำสืบว่า โจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยปากให้จำเลยชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้สัญญาประนีประนอม เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ ที่จำเลยขอนำสืบข้อต่อสู้นั้นจึงเป็นการขอนำสืบนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งจำเลยยอมจ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมเมื่อจำเลยไม่ปฏบัติตามสัญญา โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เอง
จำเลยขอนำสืบว่า โจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยปากให้จำเลยชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้สัญญาประนีประนอม เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ ที่จำเลยขอนำสืบข้อต่อสู้นั้นจึงเป็นการขอนำสืบนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งจำเลยยอมจ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมเมื่อจำเลยไม่ปฏบัติตามสัญญา โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263-264/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินตามหลักฐานหนังสือ การใช้เงินต้องพิสูจน์ตามที่กฎหมายกำหนด
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น มีบทบัญญัติกฎหมายบังคับไว้เป็นพิเศษ ว่าผู้กู้จะนำสืบการใช้เงินได้เฉพาะเท่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้นจำเลยจะสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระต้นเงินกู้แล้วแต่โจทก์ไม่คืนสัญญากู้ให้ไม่ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้ต้นเงินตามที่กฎหมายบัญญัติไว้มาแสดงต่อศาลจำเลยก็ต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระดอกเบี้ยและเงินที่ได้รับจริง แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือ ก็ทำได้ตามกฎหมาย
จำเลยขอสืบพยานบุคคลว่า ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ไปแล้วได้ แม้จะไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2
จำเลยขอสืบว่า เวลาจำนองโจทก์จ่ายเงินให้เพียง 50,000 บาท หักเอาไว้เป็นดอกเบี้ยเสีย 10,000 บาท (แต่ทำสัญญาจำนองเป็นเงิน 60,000 บาท)่ จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แต่เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ย
จำเลยขอสืบว่า เวลาจำนองโจทก์จ่ายเงินให้เพียง 50,000 บาท หักเอาไว้เป็นดอกเบี้ยเสีย 10,000 บาท (แต่ทำสัญญาจำนองเป็นเงิน 60,000 บาท)่ จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แต่เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินทดรองจ่ายทำศพโดยไม่มีหลักฐานหนังสือเป็นหนังสือ สิทธิเรียกร้องขาดอายุความและไม่มีอำนาจฟ้อง
ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายในการทำศพแทนจำเลยนั้นเป็นลักษณะกู้ยืม เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วก็ไม่มีอำนาจฟ้องแม้จะถือเอาคำให้การและคำเบิกความของจำเลยในการสู้คดี ซึ่งรับว่าได้รับเงินจริง ก็จะบังคับแก่จำเลยไม่ได้ เพราะขณะฟ้องโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินกู้ยืมและการนำสืบพยานบุคคลเรื่องดอกเบี้ย: หลักฐานหนังสือไม่ครอบคลุมดอกเบี้ย
การนำสืบการใช้เงินว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง นั้นหมายความเฉพาะถึงการใช้ต้นเงินที่กู้ยืมไปเกินกว่า 50 บาท เท่านั้น ไม่กินความถึงการใช้ดอกเบี้ยด้วยการชำระดอกเบี้ยย่อมนำสืบด้วยพยานบุคคลได้ไม่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2503)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
การที่จำเลยขอยืนเงินที่โจทก์จะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ไปใช้แก้ขัดก่อนนั้น ถือว่าเป็นการกู้ยืม มิใช่เป็นเรื่องการรับมอบของตัวแทน เมื่อการกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทขึ้นไปมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
การที่จำเลยขอยืมเงินที่โจทก์จะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ไปใช้แก้ขัดก่อนนั้นถือว่าเป็นการกู้ยืม มิใช่เป็นเรื่องการรับมอบของตัวแทนเมื่อการกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทขึ้นไปมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายให้ซื้อที่ดินแทน แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือก็มีผลผูกพันได้ หากพิสูจน์ได้ว่ามีการมอบหมายจริง
ฟ้องว่าตั้งตัวแทนให้นำเงินไปชำระค่าที่ดินแทนตัวแทนเอาเงินนั้นไปชำระให้ผู้ขายแต่เพียงบางส่วนซ้ำยังใส่ชื่อตนเองเป็นผู้ซื้อที่ดินเสียด้วยจึงขอให้ศาลบังคับตัวแทนยอมให้ตัวการลงชื่อเป็นเจ้าของที่ดินหรือถ้าบังคับไม่ได้ก็ให้บังคับให้คืนเงินให้ดังนี้กรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 จึงไม่จำต้องมีหลักฐานการตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ (เทียบฎีกาที่ 640/2489).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมในนิติกรรม: หน้าที่การนำสืบและข้อจำกัดการอ้างหลักฐานหนังสือ
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นมาว่าภรรยาโจทก์ไปทำสัญญาประนีประนอมกับจำเลยโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมด้วยแล้วข้อโตเถียงกันเช่นนี้หน้าที่นำสืบต้องตกอยู่แก่จำเลยต้องนำสืบว่าโจทก์ได้รู้เห็นยินยอม
ในเรื่องการยินยอมของโจทก์ มิได้มีหนังสือใช้ไม่ได้ตาม ม.1476 เมื่อโจทก์มิได้ยกประเด็นโต้เถียงมาแต่ศาลชั้นต้น โจทก์เพิ่งมายกปัญหาข้อนี้โต้เถียงมาในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกาศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้.
ในเรื่องการยินยอมของโจทก์ มิได้มีหนังสือใช้ไม่ได้ตาม ม.1476 เมื่อโจทก์มิได้ยกประเด็นโต้เถียงมาแต่ศาลชั้นต้น โจทก์เพิ่งมายกปัญหาข้อนี้โต้เถียงมาในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกาศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้.