พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องเป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยเทียบเคียงกับสินค้าประเภทเดียวกัน
คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่47/2531เป็นระเบียบภายในของจำเลยเท่านั้นจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้มีหรือประเมินราคาไปนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยไม่คำนึ่งถึงบทกฎหมายไม่ได้เพราะ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"มีบทวิเคราะห์ศัพท์ในพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2วรรคสิบสองเมื่อสินค้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเทียบเคียงราคากับสินค้าพิพาทไม่ได้เป็นเหล็กประเภทและชนิดเดียวกันขนาดหน้าตัดและความยาวของเหล็กก็ต่างกันมาไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้ย่อมไม่อาจหักล้างว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนตามดัชนีราคาผู้บริโภค การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และการพิจารณาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
โรงเรือนตามรายการที่ 9 มีเครื่องจักรเป็นเครื่องทดลองเครื่องซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องซ่อมเครื่องช่างไม้ และมีอุปกรณ์การซ่อมเครื่องไฟฟ้าตั้งอยู่ ดังนั้น โรงเรือนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นโรงเรือนธรรมดา แต่เป็นโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการทำหรือกำเนิดสินค้าถือได้ว่าเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ มีสิทธิได้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 แล้ว บทบัญญัติดังกล่าวมิได้จำกัดไว้แต่เพียงว่าต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้กระทำหรือกำเนิดสินค้าเท่านั้นหากเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญเป็นเครื่องจักรหรือกลไก เพื่อใช้ในการดำเนินการอุตสาหกรรมแม้จะไม่ใช่เป็นเครื่องกระทำหรือกำเนิดสินค้าก็อยู่ในความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งกองระดับราคากรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่มหมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษา หมวดยานพาหนะ หมวดการบันเทิง การอ่าน-และการศึกษา และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการตรวจสอบระดับราคาผู้บริโภคตามหมวดต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งค่าเช่าเคหสถาน และได้บันทึกข้อมูลไว้เป็น หลักฐานเพื่อใช้อ้างอิง การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า และ ค่ารายปีที่ปรากฏในดัชนีราคาผู้บริโภค หมวดเคหสถานจึงเป็น อัตราที่มีเหตุผล และที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว นั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสีย ในปีต่อมา" นั้น มีความหมายเพียงว่า ให้นำค่ารายปีที่ ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักหรือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปีต่อมา เท่านั้น มิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป ในคดีนี้สำหรับโรงเรือนตามรายการในตารางที่ 2 และที่ 3 การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์ยอมรับและไม่ได้โต้แย้ง นั้น โจทก์ได้นำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปี 2530 แล้ว ส่วนโรงเรือนอื่นนอกจากนี้การประเมินค่ารายปีในปี 2529 โจทก์จำเลยยังโต้แย้งอยู่ไม่ยุติ จึงไม่อาจที่จะนำค่ารายปีของปี 2529 มาเป็นหลักการในการคำนวณภาษีของปี 2530 ได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ในปี 2522 และในปี 2527 สำหรับโรงเรือนที่เหลือซึ่งโจทก์จำเลยไม่ได้โต้แย้งและยุติแล้วตามลำดับมาเป็นหลักในการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 18 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 1 นำมาคำนวณค่ารายปียังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเป็นการเหมาะสมถูกต้องและเมื่อไม่มีหลักเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมพอจะใช้เป็นหลักในการคำนวณได้ การที่โจทก์นำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณในคดีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่ถือได้ว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร การกำหนดค่ารายปีและการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ประจำปี 2530ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7226/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอใบอนุญาตมัคคุเทศก์และการมีอำนาจฟ้องร้อง เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
โจทก์ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กรุงเทพมหานครจึงไม่อาจออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้แก่โจทก์ได้
เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2536) โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่ผลจากการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่เร่งรัดออกกฎกระทวงแต่เป็นผลจากการที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2536) โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่ผลจากการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่เร่งรัดออกกฎกระทวงแต่เป็นผลจากการที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6799/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดอัตราอากรเครื่องจักรประหยัดพลังงาน ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ก.คลังฯ 58613/2526 ไม่ใช่ระเบียบภายในของกรมศุลกากร
เมื่อสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงานหรือที่รักษาสิ่งแวดล้อมและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมพิจารณา และขอลดอัตราอากรโดยระบุว่า ไม่เป็นของเก่าใช้แล้วหรือซ่อมแซมขึ้นใหม่และเป็นของใหม่ กรมศุลกากร จำเลยที่ 1ก็ต้องอนุมัติให้โจทก์ได้ลดอัตราอากรศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 จะไม่อนุมัติโดยอ้างว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 และประเมินเพิ่มให้โจทก์เสียแก่จำเลยทั้งสองโดยไม่ลดหย่อนอัตราอากรศุลกากรให้โจทก์ไม่ได้อำนาจในการอนุมัติขึ้นอยู่กับสินค้าที่นำเข้านั้นว่า เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.9/2526 กับหลักเกณฑ์ของเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 หรือไม่ หาได้ขึ้นอยู่กับจำเลยที่ 1 หรือตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 โดยเด็ดขาดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การฟ้องละเมิดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การยื่นฟ้องต่อศาล
มูลคดีตามฟ้องเกี่ยวกับละเมิด มิได้ฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหา-ริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตของศาลชั้นต้นและมูลคดีที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดในเขตของศาลชั้นต้นเช่นกัน แม้โจทก์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น โจทก์ก็ไม่อาจยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียน: หลักเกณฑ์และข้อพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดำเนินการจดทะเบียนให้นั้นคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยให้การว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้ว่า คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ย่อมมีความหมายจำกัดเฉพาะประเด็นที่โต้เถียงกันในคำฟ้องคำให้การเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้วเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริตแม้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันก็ตาม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 18คำวินิจฉัยของจำเลยในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ให้รับจดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนประกอบ 3 ส่วน ส่วนบนเป็นอักษรโรมันคำว่า "ANCHORBRAND" มีลักษณะโค้งเลี้ยวเป็นวงกลมคว่ำลง ส่วนกลางเป็นรูปสมอเรือและส่วนล่างเป็นอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราสมอ" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นอักษรโรมัน 2 คำ อยู่ตรงบรรทัดเดียวกัน คำหนึ่งว่า "ULYSSE"อีกคำหนึ่งว่า "NARDIN" ระหว่างคำทั้งสองนี้มีรูปภาพสมอเรือตั้งเอียงไปทางขวาเล็กน้อย ลักษณะภาพสมอเรือเองตัดกับอักษรโรมันเป็นรูปกากบาท เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนแล้ว ลักษณะโครงสร้างหรือการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองรายต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งของโจทก์เป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ตั้งอยู่บนข้อความอักษรโรมันว่า "SPERA"แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนทั้งในภาพรวมตัวรูปสมอเรือ การวางรูป ข้อความภาษาโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่คล้ายกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 180 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้ 2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า "...ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวก รวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว..." ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออก แล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1
สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1 กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ144.1 นี้เช่นกัน
เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1 กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ144.1 นี้เช่นกัน
เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษ พ.ร.บ.การพนัน: ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.เอง ไม่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา
พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 14 ทวิ (2) เป็นบทบัญญัติในการเพิ่มโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. การพนันที่กำหนดไว้เป็นพิเศษต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตราดังกล่าว จะนำหลักเกณฑ์ในเรื่องการเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ราคาสินค้าฯ การออกประกาศแก้ไขหลักเกณฑ์ความผิดไม่ยกเลิกความผิดที่กระทำสำเร็จแล้ว
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 คือการฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ประกาศดังกล่าวเป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่ถือว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการฝ่าฝืน อันเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด มิใช่กำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 เมื่อคณะกรรมการฯ ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนความในข้อ 5 ของประกาศนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 43 แม้ต่อมามีประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528ก็เป็นเพียงการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดมิใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยที่ 2จึงมิใช่ผู้ที่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.