คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักกลบลบหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืม, หักกลบลบหนี้รายได้, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยถูกต้อง, ค่าทนายความ
จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์และโจทก์ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้บริหารหน่วยงานขายประกันชีวิตของโจทก์แก่ผู้ขอเอาประกันชีวิต โดยจำเลยได้รับเงินเดือนและแบ่งปันผลประโยชน์จากเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตจากลูกค้าที่จำเลยขายได้ เหลือรายได้สุทธิโจทก์ต้องจ่ายให้จำเลยโดยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ค้างชำระ ดังนี้ เมื่อคำให้การจำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมจนถึงวันที่ 16 มกราคม2537 เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยทบต้นถึงวันฟ้อง แสดงว่าหนี้เงินที่ค้างชำระคิดถึงวันที่ 16 มกราคม 2537 แต่เงินรายได้ของจำเลยเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2539 เมื่อโจทก์รับว่าจำเลยจะต้องนำเงินรายได้ของจำเลยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยค้างชำระให้โจทก์ก่อนเช่นนี้จำเลยย่อมมีสิทธินำเงินรายได้ดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่ค้างชำระตามฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกให้ชำระต้นเงินกู้ค้างชำระเท่านั้น ส่วนหนี้ค้างชำระอื่น ๆ เช่น การเบิกเงิน เป็นต้น เป็นยอดหนี้ค้างชำระภายหลังที่โจทก์คิดยอดหนี้เงินกู้ตามฟ้องแล้วเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมาด้วย โจทก์จะนำยอดหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยขอให้นำมาหักกลบลบหนี้กับยอดหนี้ตามฟ้องไม่ได้
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 5 จะกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องทวงถามในกรณีที่จำเลยผิดสัญญา แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถามไปอย่างไร ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ชอบแล้ว
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติให้ศาลต้องสั่ง ที่หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 3 วรรคสองและข้อ 5 ระบุให้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินคดีและการบังคับการชำระหนี้ด้วยนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการตกลงให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีเพื่อหักกลบลบหนี้ต้องฟ้องในศาลเดียวกัน และคำสั่งศาลเป็นที่สุด
แม้คำร้องของจำเลยจะระบุว่าขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) แต่เนื้อหาในคำร้องเป็นการขอให้งดการบังคับคดีเพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกัน คดีนี้จำเลยฟ้องโจทก์ที่ศาลอื่นจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะหักกลบลบหนี้ได้ และเมื่อศาลมีคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวไม่ว่าจะสั่งให้มีผลในทางใด คำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด, การหักกลบลบหนี้จากเงินฝากจำนำ, และดอกเบี้ยที่ไม่ทบต้น
สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันใดโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนังสือทวงถามมีข้อความชัดเจนว่า ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ก็ให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันเลิกกันจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2536 กำหนดเวลาชำระหนี้วันสุดท้ายเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันดังกล่าวสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนด
สัญญาจำนำสิทธิการรับเงินฝากทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้สิทธิแก่โจทก์ในการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะใช้สิทธินี้ตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้ จึงต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากประจำมาหักจากยอดหนี้ ณ วันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินคงเหลือแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แปลงหนี้จากค่าแชร์เป็นกู้ยืม การหักกลบลบหนี้ และการนำสืบการชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เล่นแชร์กันโดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ เมื่อจำเลยที่ 1ประมูลแชร์ได้รับเงินไปแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ส่งค่าแชร์และดอกเบี้ยแก่โจทก์โจทก์ต้องชำระค่าแชร์ให้ผู้ประมูลได้แทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 128,500 บาทโจทก์จึงระบุยอดเงินจำนวนดังกล่าวในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อค้ำประกันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จากหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ หนี้ค่าแชร์ระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับโดยสมบูรณ์
ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าโจทก์หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการหักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการนำสืบการใช้เงินของจำเลยทั้งสองโดยเห็นว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8855/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การคืนเงินภาษี และการหักกลบลบหนี้ โดยต้องมีการแจ้งประเมินภาษีเป็นหนังสือเสียก่อน
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/2 ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 14 และมาตรา 77 และมาตรา 88/5 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเเจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 ก็ได้ การที่โจทก์เพียงแต่ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานของจำเลยยังถือไม่ได้ว่ามีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีดังกล่าว หากมีการแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระจำนวน 4,964,000 บาท และได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10) แล้ว เมื่อจำเลยยังไม่ได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเพิ่มเติม จำเลยจึงยังไม่อาจนำเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากผลการตรวจสอบดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์เนื่องจากการชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8855/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หักกลบลบหนี้ไม่ได้ หากชำระโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
เมื่อได้ความว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวน 5,964,000 บาทที่โจทก์ได้ชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามการยื่นแบบแสดงรายการเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 แต่จำเลยเห็นว่าในการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการตามปกติเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 โจทก์ต้องชำระเบี้ยปรับเพิ่มเติม 2,800,000 บาท ในการยื่นแบบเพิ่มเติมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 โจทก์ต้องชำระเบี้ยปรับ 8,050 บาทซึ่งโจทก์ชำระไว้แล้ว 3,220 บาท คงเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยจำนวน 2,804,830 บาท เบี้ยปรับนี้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 89/2 ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 14 และมาตรา 77 ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ประมวลรัษฎากร มาตรา 88/5 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี ในกรณีนี้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2ลักษณะ 2 ก็ได้ การที่โจทก์เพียงแต่ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานของจำเลย กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่ามีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีดังกล่าว อีกทั้งหากมีการแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.30) เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์ได้ชำระภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระจำนวน 5,964,000 บาท และได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10) แล้ว จำเลยจึงยังไม่อาจนำเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์เนื่องจากการชำระภาษี โดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นภายหลัง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย)มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้(จำเลย)นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้(จำเลย)ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ปัญหาว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดก่อนแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย)ได้ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้คงค้าง ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องจะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 102 นั้น จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามบัญชีเงินฝากประจำคือเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใด แล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1ได้ ผู้ร้องไม่อาจนำดอกเบี้ยของเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้ สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้หรือไม่ จะต้อง พิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้ง ดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมา หักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้
of 32