พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองหุ้นโดยไม่สุจริตและการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อผ่านเวลา 5 ปี
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัด แม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้นจึงถือได้ว่าผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครองเมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า5 ปี หากการโอนหุ้นเป็นโมฆะผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้ว จึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คร่วมกันและการยกเว้นความรับผิดจากการขายหุ้น
เช็คพิพาทมีผู้สั่งจ่ายสองนายลงนามร่วมกันโอนเช็คให้ผู้ทรงเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ทรงรับโอนเช็คโดยคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้สั่งจ่ายคนใดคนหนึ่งแล้วผู้สั่งจ่ายทั้งสองก็ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา989,914ผู้สั่งจ่ายจะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างกันเองปฏิเสธความรับผิดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อน เช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241, 244 และ 819 แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528) ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนเช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อนทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241,244และ819แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้นสิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา6(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528)ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น พิจารณาเจตนาในการได้มาซึ่งหุ้น และขอบเขตอำนาจประเมินภาษี
บริษัทย่อมมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรมาแบ่งปันกัน ในระหว่างผู้ถือหุ้น การได้หุ้นมาย่อมถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร รายได้จากการขายหุ้นจึงเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ว่า หุ้นนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโดยแท้จริง จึงจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลกฎหมาย รัษฎากร มาตรา 42(9) เมื่อโจทก์ได้หุ้นมาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทเนื่องจาก การรับมรดก มิใช่รับโอนหรือซื้อจากผู้ใด แม้หุ้นดังกล่าวจะไม่ใช่มรดก แต่เป็นการได้มาเนื่องจากการแบ่งมรดก หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากการจำหน่ายหุ้นจำนวนนี้ตาม มาตรา 42(9)
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นถือเป็นการค้าและต้องเสียภาษีการค้า แม้จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน
การที่โจทก์ขายที่ดินให้บริษัท ท. แล้วเอาเงินทั้งหมดไปซื้อหุ้นของบริษัท ท. ก็เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่าเช่น เงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่บริษัท ท. เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีการค้าตามรายรับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ขายที่ดินไปมีกำไรหรือขาดทุน โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร และการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้ จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าว เช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้น ที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทตัวการตัวแทน, อายุความ, การรับฟังพยานหลักฐาน, ความเสียหายจากการไม่ส่งมอบหุ้น
แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรก แต่จำเลยก็ไม่เสียเปรียบในเชิงคดีทั้ง มาตรา 87 (2) ให้ศาล มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 90 ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทน มูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยในการขายหุ้นจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในการจัดทำกิจการที่จำเลยมอบหมายแม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับดังกล่าวแต่ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวการกับตัวแทนเสียไป
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบหุ้นที่จำเลยสั่งขายให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อภายใน 4 วัน แต่จำเลยไม่ส่งมอบให้ โจทก์จึงต้องเอาหุ้นที่โจทก์มีอยู่ในครอบครองส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนต้องเสียหายเนื่องจากการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้แทนจำเลย จึงต้องคิดค่าเสียหายตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์มอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ จะถือตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์ซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนหาได้ไม่
โจทก์มิใช่เป็นพ่อค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) หรือ (7) แต่โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามมาตรา 816 วรรคท้าย ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164
แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้ถามค้าน ส. พยานโจทก์ แต่จำเลยก็ได้อ้างและนำส. เข้าเบิกความเป็นพยานจำเลย ทั้งเอกสารที่จำเลยประสงค์จะถามค้านก็มิใช่เอกสารสำคัญในการวินิจฉัยคดี จึงไม่จำเป็นต้องให้โอกาสจำเลยถามค้าน ส. อีก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทน มูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยในการขายหุ้นจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในการจัดทำกิจการที่จำเลยมอบหมายแม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับดังกล่าวแต่ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวการกับตัวแทนเสียไป
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบหุ้นที่จำเลยสั่งขายให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อภายใน 4 วัน แต่จำเลยไม่ส่งมอบให้ โจทก์จึงต้องเอาหุ้นที่โจทก์มีอยู่ในครอบครองส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนต้องเสียหายเนื่องจากการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้แทนจำเลย จึงต้องคิดค่าเสียหายตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์มอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ จะถือตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์ซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนหาได้ไม่
โจทก์มิใช่เป็นพ่อค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) หรือ (7) แต่โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามมาตรา 816 วรรคท้าย ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164
แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้ถามค้าน ส. พยานโจทก์ แต่จำเลยก็ได้อ้างและนำส. เข้าเบิกความเป็นพยานจำเลย ทั้งเอกสารที่จำเลยประสงค์จะถามค้านก็มิใช่เอกสารสำคัญในการวินิจฉัยคดี จึงไม่จำเป็นต้องให้โอกาสจำเลยถามค้าน ส. อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง, สัญญาตัวแทน, ค่าเสียหายจากการไม่ส่งมอบหุ้น, และอายุความ
แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรก แต่จำเลยก็ไม่เสียเปรียบในเชิงคดีทั้ง มาตรา 87(2) ให้ศาล มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 90 ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นมิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยในการขายหุ้นจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในการจัดทำกิจการที่จำเลยมอบหมาย แม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับดังกล่าวแต่ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวการกับตัวแทนเสียไป จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบหุ้นที่จำเลยสั่งขายให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อภายใน 4 วัน แต่จำเลยไม่ส่งมอบให้ โจทก์จึงต้องเอาหุ้นที่โจทก์มีอยู่ในครอบครองส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนต้องเสียหายเนื่องจากการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้แทนจำเลย จึงต้องคิดค่าเสียหายตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์มอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ จะถือตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์ซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนหาได้ไม่ โจทก์มิใช่เป็นพ่อค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) หรือ (7) แต่โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามมาตรา 816 วรรคท้าย ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้ถามค้าน ส. พยานโจทก์ แต่จำเลยก็ได้อ้างและนำส. เข้าเบิกความเป็นพยานจำเลย ทั้งเอกสารที่จำเลยประสงค์จะถามค้านก็มิใช่เอกสารสำคัญในการวินิจฉัยคดี จึงไม่จำเป็นต้องให้โอกาสจำเลยถามค้าน ส. อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2399/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นและสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ แม้ใบหุ้นไม่ตรงกับวันซื้อขาย
ใบหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่มี สภาพเช่นเดียวกับสังกมทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อหุ้นให้แก่จำเลยในวันที่สั่งซื้อตามคำสั่งของจำเลยแล้ว ใบหุ้นที่จะโอนให้แก่จำเลยต่อไปหาจำต้องเป็นใบหุ้นฉบับเดียวกับที่ซื้อให้แก่จำเลยไม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำใบหุ้นบริษัทเดียวกันหมายเลขใดๆ ซึ่งมีจำนวนหุ้น เท่ากันมาโอนให้แก่จำเลยได้ ถึงแม้จะเป็นใบหุ้นที่ซื้อในวันอื่นที่มีราคาแตกต่างกันก็ตาม
ถึงแม้จะมีระเบียบของตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้สมาชิกจดทะเบียนหุ้นที่ซื้อให้แก่ลูกค้าต่อบริษัทเจ้าของหุ้นภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับมอบใบหุ้นและชำระราคาก็ตาม คู่กรณีจะสมยอมไม่ปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น โดยให้สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ซื้อหุ้นให้แก่ลูกค้าและโอนลอยไว้ เป็นผลให้สามารถที่จะนำใบหุ้นฉบับใดๆมาโอนให้แก่ลูกค้า เป็นการผิดระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ก็ย่อมกระทำได้
ถึงแม้จะมีระเบียบของตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้สมาชิกจดทะเบียนหุ้นที่ซื้อให้แก่ลูกค้าต่อบริษัทเจ้าของหุ้นภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับมอบใบหุ้นและชำระราคาก็ตาม คู่กรณีจะสมยอมไม่ปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น โดยให้สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ซื้อหุ้นให้แก่ลูกค้าและโอนลอยไว้ เป็นผลให้สามารถที่จะนำใบหุ้นฉบับใดๆมาโอนให้แก่ลูกค้า เป็นการผิดระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ก็ย่อมกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอซื้อขายหุ้นต้องมีเจตนาชัดเจน หากตกลงกันไม่ได้ในราคา ถือเป็นเพียงการเจรจา ไม่เกิดสัญญาผูกพัน
โจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเดียวกันซึ่งมีข้อบังคับระบุว่า ผู้ถือหุ้นคนใดมีความประสงค์จะโอนหุ้น ต้องโอนให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเดียวกันก่อน การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าประสงค์จะขายหุ้น โดยมิได้กำหนดราคาค่าหุ้น หากแต่ให้มาติดต่อกับน. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยก่อน จึงเป็นเพียงการเชื้อเชิญมิใช่คำเสนอ และหนังสือโต้ตอบระหว่างโจทก์จำเลยในเรื่องราคาค่าหุ้น อันเป็นข้อสำคัญแห่งสัญญาซึ่งยังไม่ตกลงกัน ก็มิใช่เป็นคำเสนอและคำสนองอันทำให้สัญญาซื้อขายหุ้นเกิดขึ้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยโอนหุ้นแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายหุ้นซึ่งมีราคาปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเงิน 3,050,000 บาท เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวตามตาราง 1 ข้อ1 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายหุ้นซึ่งมีราคาปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเงิน 3,050,000 บาท เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวตามตาราง 1 ข้อ1 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง