พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกันตามเช็คที่ออกโดยได้รับมอบอำนาจ
เช็คพิพาทสั่งจ่ายโดย ช. ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 และประทับตราของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเช็คนั้น ส่วนจำเลยที่ 2ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีจำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2) ย่อมต้องรับผิดตามเช็คนั้นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ช.เป็นผู้ลงลายมือชื่สั่งจ่ายและประทับตราแทนห้างจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะเป็นการนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ช.เป็นผู้ลงลายมือชื่สั่งจ่ายและประทับตราแทนห้างจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะเป็นการนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วมกับหนี้ห้างหุ้นส่วน: การขอให้ล้มละลายแม้การถอนตัวยังไม่จดทะเบียน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070, 1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อผลละเมิดของลูกจ้าง
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากการละเมิดดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างฯ แม้ยังไม่ผิดนัด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.94
จำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) แม้เจ้าหนี้ยังไม่เคยทวงถามและห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นเพียงเหตุที่เจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ยังไม่ได้ตามมาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 เท่านั้นซึ่งในกรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตามฯลฯ" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นเงิน 987,881.78 บาท จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนนั้นจากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนจดทะเบียน: ห้างหุ้นส่วนสามัญ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งไปให้ตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ยังมิได้ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญอยู่จนกว่าจะได้จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน ดังนั้น จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 อันมีอยู่ต่อโจทก์ก่อนที่ได้จดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต่อหนี้ของห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดผิดนัดชำระหนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดให้รับผิดชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนหรือล้มละลายก่อนหรือจะต้องปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดกิจการ และขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก.ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในเช็คของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และอำนาจกรรมการลงลายมือชื่อ
จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยมูลหนี้อะไร และโจทก์ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังที่จำเลยให้การตัดฟ้อง จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายหรือนำสืบถึงมูลหนี้เช็คตามฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่บริษัทโจทก์จดทะเบียนว่า กรรมการสองนายมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท หมายความว่า กรรมการ 2 คน ไม่ว่าชายหรือหญิงร่วมกันลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ได้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จำเลยจึงต้องรับผิดตามเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2), 900
การที่บริษัทโจทก์จดทะเบียนว่า กรรมการสองนายมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท หมายความว่า กรรมการ 2 คน ไม่ว่าชายหรือหญิงร่วมกันลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ได้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จำเลยจึงต้องรับผิดตามเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2), 900
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในคดีจัดการห้างหุ้นส่วน: การโอนทรัพย์สินชำระหนี้เป็นอำนาจจัดการของหุ้นส่วนผู้จัดการ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโอนขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัดเพื่อชำระหนี้จำนองของห้าง เป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ที่จะทำได้
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าว เพราะการฟ้องคดีเป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจที่จะฟ้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าว เพราะการฟ้องคดีเป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจที่จะฟ้อง