คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วนผู้จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนและหุ้นส่วนผู้จัดการในการซื้อขายไม้: ศาลฎีกาวินิจฉัยอำนาจฟ้องและขอบเขตความรับผิด
จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ซื้อไม้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระราคาไม้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้จากโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมาย จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการพิสูจน์สถานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งสืบเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้สินแทนจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจต่อสู้หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้แพ่งสะดุดหยุดลงจากการยอมรับหนี้โดยการสั่งจ่ายเช็คใหม่ และการร่วมรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 สั่งซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์หลายคราวแล้วสั่งจ่ายเช็คจำนวน 25 ฉบับ ลงวันที่สั่งจ่ายระหว่างเดือนมิถุนายน 2528 ถึงเดือนสิงหาคม 2529 ให้โจทก์เพื่อชำระค่าสินค้า เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ก็ได้สั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่แทนฉบับเดิมพร้อมดอกเบี้ยตลอดมาและเมื่อเช็คที่เปลี่ยนถึงกำหนด โจทก์เรียกเก็บธนาคารตามเช็คก็ปฏิเสธการจ่ายเงินอีก การกระทำดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยที่ 1 กระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความในการเรียกร้องค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ย่อมสะดุดหยุดลงและอายุความจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ลงในเช็คแต่ละฉบับอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คเป็นต้นไป เมื่อเช็คฉบับหลังสุดที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจำนวน 531,134 บาท ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 โจทก์นำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2530 จึงยังไม่เกิน 2 ปี หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงไม่ขาดอายุความ การที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และศาลพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าเป็นเช็คประกันหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อนั้น เป็นเรื่องวินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าไม่มีหนี้สินต่อกันประกอบกับการฟ้องคดีเช็คทางอาญานั้น ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ดังนั้นในการพิจารณาคดีแพ่งศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในการสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน และผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ตามหนังสือรับรองปรากฏว่า ส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ และ ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลย ดังนี้ ข้อที่โจทก์อ้างว่าการสลักหลังดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ เพราะ ส. ลงลายมือชื่อไปโดยไม่ได้ปรึกษาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งและต้องประทับตราของโจทก์นั้นเป็นข้อจำกัดอำนาจที่มิได้ปรากฏในหนังสือรับรอง จึงไม่อาจยกขึ้นยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้จากการเชิดตัวแทนสั่งซื้อสินค้า และขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยทั้งสองได้เชิดช.ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนสั่งซื้อวงกบประตู หน้าต่างจากโจทก์ และค้างชำระหนี้ค่าสินค้าโจทก์ตามฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าวงกบประตู หน้าต่างที่ค้าง ปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นฎีกาจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ และเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายไปยังสำนักทำการงานของหุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 1ซึ่งระบุไว้ในหนังสือรับรองนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทถือว่าเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2ที่สำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา ทั้งทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังขาดนัดพิจารณา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจากเหตุหุ้นส่วนผู้จัดการประพฤติผิดสัญญาและมีเหตุให้ห้างฯ ดำรงอยู่ไม่ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ประพฤติผิดสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดนับว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมสามารถฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ตามกฎหมายขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และจำเลยได้โดยตรงโดยหาจำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยไม่ เมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะแทนโจทก์ที่ 1 และคำขอบังคับก็ได้ระบุขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงโจทก์ที่ 1 ด้วย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้หาเคลือบคลุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของผู้สั่งจ่ายเช็คและหุ้นส่วนผู้จัดการเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าวโดยได้รับมอบเช็คมาจากผู้มีชื่อซึ่งนำมาชำระหนี้ ต่อมาธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ สภาพแห่งข้อหาก็คือจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่ผู้ถือเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ทรง จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งโจทก์ได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยไว้แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายไว้ว่าจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดในฐานะใด โจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากใคร ชำระหนี้ค่าอะไร นั้นมิใช่สภาพแห่งข้อหาคงเป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายไว้ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุไว้เพียงว่า ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 53,750 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าให้จำเลยทั้งสองรับผิดดังกล่าวก็ตาม แต่คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุว่าขอยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองไว้โดยชัดแจ้งทั้งบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำบรรยายในตอนต้นนั้นเอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้องจึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการรับเงินของหุ้นส่วนผู้จัดการหลังผู้จัดการอีกคนเสียชีวิต เงินฝากเป็นของห้างฯ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งนำเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดไปฝากไว้กับจำเลย ในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนดังกล่าวถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งย่อมมีอำนาจรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้สั่งจ่ายเช็คในนามห้างฯ และการยกข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้ต้องพิสูจน์การโอนเช็คโดยฉ้อฉล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และมาตรา 1087ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน จำกัด เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),900 วรรคแรก การที่จำเลยให้การว่า จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. เป็นการตอบแทนในการที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะไม่ยื่นซองประมูลงานแข่งกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างผู้สั่งจ่ายคือจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ในกรณีเช่นนี้ จำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ต่อเมื่อได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916เท่านั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่ามีการโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
of 13