พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นเป็นประกันหนี้: ข้อบังคับบริษัทจำกัดไม่ขัดขวางการโอนเมื่อกรรมการลงนามอนุมัติ
โจทก์ ที่ 3 ลงชื่อมอบใบหุ้นในบริษัทจำกัดที่โจทก์ถือไว้แก่ธนาคาร โดยให้โอนหุ้นที่มอบไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ได้ เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารตามกำหนด ธนาคารโอนหุ้นเป็นของธนาคารและโอนต่อไปยังผู้อื่นได้ตามข้อสัญญานั้น ข้อบังคับของบริษัทที่ว่ากรรมการอาจปฏิเสธการโอนหุ้นได้นั้น ไม่ได้บังคับว่ากรรมการต้องอนุมัติก่อนจึงจะโอนหุ้นได้ เมื่อกรรมการลงชื่อในใบโอนหุ้นแล้ว จะปฏิเสธการโอนภายหลังย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คู่สัญญาโอนหุ้นมีสัญชาติอเมริกัน ตกลงกันว่าได้ทำสัญญาตามกฎหมายอเมริกันให้บังคับตามกฎหมายอเมริกัน ข้อสัญญานี้บังคับได้
คู่สัญญาโอนหุ้นมีสัญชาติอเมริกัน ตกลงกันว่าได้ทำสัญญาตามกฎหมายอเมริกันให้บังคับตามกฎหมายอเมริกัน ข้อสัญญานี้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2814/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการอนุมัติหนังสือพิมพ์และการใช้ดุลพินิจตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 27 ใช้บังคับแก่ผู้ยื่นคำขออนุญาตซึ่งมีสัญชาติอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 24(3) หรือยื่นคำขอออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษาอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 24(4) โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยื่นคำขออนุญาตออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทย จึงต้องบังคับตามมาตรา 24 วรรคแรก ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2501 ข้อ 1. ซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานการพิมพ์ใช้ดุลพินิจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรือสั่งเป็นประการอื่นตามความเหมาะสมแก่กรณีเป็นเรื่องๆ ไป ดังนั้น ที่จำเลยมีคำสั่งคำขอของโจทก์ว่า เห็นสมควรรอไว้ก่อนจนกว่าพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับใหม่จะประกาศใช้ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 มาตรา 33 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเรื่องภูมิลำเนาไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ขอเช่า หากการอนุมัติไม่ได้ขึ้นอยู่กับภูมิลำเนา
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำร้องต่ออำเภอเพื่อขอเช่าที่พิพาทตามคำร้องของจำเลยระบุว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเลขที่ 229 หมู่ที่ 5 ตำบลบัวชุมอำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรีโดยเช่าห้องของนายเฉื่อย คำทองแท้ และ จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมาก่อน พ.ศ. 2499 ซึ่งความจริงจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลสระกรวด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ นายอำเภออนุมัติให้จำเลยเช่าที่พิพาท แต่การที่นายอำเภอจะพิจารณาให้ผู้ใดเช่าที่ดินโครงการผังเมืองลำนารายณ์ซึ่งรวมถึงที่พิพาทรายนี้ด้วยนั้นนายอำเภอเป็นผู้มีอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดเช่าได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ขอเช่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุมัติให้เป็นผู้เช่าและโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติให้เช่านั้นจึงไม่ได้เป็นผลมาจากการที่จำเลยระบุในคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ความเสียหายของโจทก์มิได้สืบเนื่องมาจากข้อความอันเป็นเท็จนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาการศึกษาและทำงานชดใช้เงิน - การอนุมัติลาต่อต้องทำสัญญาเป็นหลักฐาน
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาหลังได้รับอนุมัติลาศึกษาต่อ และผลของการไม่ทำสัญญาเพิ่มเติม
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้นต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกันส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกันส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจฐานะนิติบุคคลแยกต่างหาก ไม่ผูกพันระเบียบราชการ เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติ
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97 เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐ ไม่ผูกพันตามระเบียบราชการ เว้นแต่มีมติคณะกรรมการอนุมัติ
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97 เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ไม่ผูกพันระเบียบราชการ เว้นแต่จะอนุมัติเอง
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97. เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้.
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้. เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการ.ไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย.
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้. เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการ.ไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายข้าวเกินราคาที่ตกลงในที่ประชุม ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศเดิม หากทางการอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงได้
ข้าหลวงประจำจังหวัดในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว ได้ออกประกาศกำหนดราคาข้าวสารที่ 1 กระสอบละ 115 บาทต่อมาข้าวมีราคาสูงขึ้นถึงกระสอบละ 180-190 บาทข้าหลวงประจำจังหวัดพร้อมทั้ง คณะกรรมการจังหวัดและเจ้าของโรงสีต่างๆมาประชุมพร้อมกันตกลงขอให้เจ้าของโรงสีขายข้าวช่วยเหลือข้าราชการในราคาถูกก่อน คือ ข้าวที่ 1 กระสอบละ 145 บาท ส่วนประชาชนขอให้ลดลงไปบ้างหลังจากที่ได้ตกลงในที่ประชุมแล้ว จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่ ร.ต.ต.สุนทร ราคากระสอบละ 180 บาท ต่อจากนั้นมาได้มีประกาศยกเลิกประกาศเดิมที่ให้ขายข้าวสาร ที่ 1 กระสอบละ 115 บาทเสีย ดังนี้ เป็นที่เห็นได้ว่าโดยมติที่ประชุมดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าทางการอนุมัติมิต้องปฏิบัติตามคำสั่งกำหนดราคาข้าวเดิมนั้นแล้วจะว่าจำเลยเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8691/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับหลัง สัญญาเป็นอันสิ้นผลเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่ตกลง
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีความเข้าใจตรงกันและมีเจตนาที่แท้จริงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันว่า ถ้าการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิก มิได้หมายความถึงว่าต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยกเลิกสัญญารับเหมาก่อสร้างกับบริษัท ย. ก่อน จึงจะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิกดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด การที่ข้อตกลงในการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่าหากการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เป็นสินค้าของโจทก์ให้ถือว่าใบสั่งสินค้าเป็นอันยกเลิกนั้น ถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง เมื่อต่อมาการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง