พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงหลังสัญญาซื้อขายหุ้น การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และอำนาจฟ้องของเจ้าของกิจการ
บรรยายฟ้องว่า บริษัทค. เป็นหนี้โจทก์ 1,811,515.90เหรียญฮ่องกงเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 บริษัทค. บริษัทบ.และจำเลย ได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นกัน โจทก์จำเลยและ บริษัทค. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แทนบริษัทค.เป็นเงิน 1,700,000เหรียญฮ่องกง หนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นการบรรยายเกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหาโดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว หาจำต้องบรรยายว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เนื่องมาจากการแปลงหนี้ใหม่หรือการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ส่วนที่ระบุชื่อโจทก์ในฟ้องว่า "นายสุทินฟุ้งสาธิต ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการผู้มีอำนาจรามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี และในฐานะส่วนตัว" นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและกิจการค้าใช้ชื่อทางการค้าว่ารามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี โดยโจทก์เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้จัดการมีอำนาจเต็มอ่านโดยตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของกิจการดังกล่าวซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การประกอบธุรกิจทางการค้า ผู้ประกอบธุรกิจจะตั้งชื่อร้านหรือกิจการของตนได้โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์เป็นเจ้าของกิจการจึงมีอำนาจฟ้องในฐานะส่วนตัว หนังสือสัญญาระบุว่า จำเลยตกลงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ภายใน 90 วันนับจากวันที่ทำสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัทค. และบริษัทบ. กับจำเลย เมื่อ บริษัทค. บริษัทบ. และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกันแล้วตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526ข้อที่จำเลยอ้างว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะไม่สามารถโอนหุ้นกันได้เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาหาอาจนำมาอ้างกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ไม่ ข้อตกลงจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526การนับระยะเวลา 90 วัน จึงเริ่มนับแต่นั้นเป็นต้นไป และครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยเป็นคนไทยจะชำระหนี้เป็นเงินเหรียญฮ่องกง ปกติจำเลยก็ต้องไปซื้อเงินเหรียญฮ่องกงจากธนาคาร อัตราแลกเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามอัตราขายของธนาคาร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การคิดคำนวณหนี้ที่จำหน่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 196: การคิดคำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการซื้อขายตั๋วเครื่องบิน การคิดราคาตามอัตราปัจจุบัน และสัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสัญญาซื้อขาย, หนี้ค่าตั๋วโดยสาร, สิทธิปฏิเสธการชำระหนี้บางส่วน, สัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทาง กรุงเทพมหานคร-ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้นตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วนจำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการซื้อขายตั๋วเครื่องบิน: การคิดราคาตามอัตราปัจจุบันเมื่อรับชำระเป็นเงินบาท
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย.
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลิฟท์ต่างประเทศ: การปรับราคาตามอัตราแลกเปลี่ยนและความรับผิดของผู้ขาย
จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาซื้อลิฟท์จากโจทก์ในราคา 1,420,000บาท โดยมีข้อตกลงว่าราคานี้ขึ้นอยู่กับค่าภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เป็นอยู่ในวันที่เสนอราคานี้และขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เป็นอยู่ในขณะทำสัญญา ถ้ามีการตีราคาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใหม่ ราคาของวัสดุที่นำเข้าก็จะต้องปรับใหม่ตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เป็นอยู่ในวันที่นำเอกสารต่าง ๆ ไปขึ้นเงินกับธนาคารเมื่อจำเลยต้องการจะซื้อลิฟท์ของโจทก์ที่สั่งมาจากอเมริกา ซึ่งใช้เงินดอลล่าร์แต่โจทก์สั่งลิฟท์จากโรงงานประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันที่เป็นสาขาของโจทก์และใช้เงินฟรังค์และดอยซ์มาร์คตามลำดับเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินดังกล่าวเพิ่มขึ้นระหว่างการส่งและติดตั้งลิฟท์ ทำให้ค่าของเงินดอลล่าร์และเงินบาทลดลง ก็เป็นความผิดของโจทก์เอง จำเลยหาต้องรับผิดชำระราคาลิฟท์ที่เพิ่มขึ้นตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินฟรังค์และดอยซ์มาร์คตามฟ้องโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: สิทธิปรับราคาตามอัตราแลกเปลี่ยน และผลของการไม่ยินยอมปรับราคา
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้า กับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกันและอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างประเทศ การปรับราคาเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน และสิทธิของผู้ขาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้ากับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกัน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, อายุความหนี้, การชำระหนี้, การพ้นวิสัย, สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
อันอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามที่กฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังออกประกาศหรือกฎกระทรวงในการที่ทางราชการรับซื้อหรือออกขายนั้น เป็นเรื่องอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลังจะถือปฏิบัติอย่างไรเท่านั้น หาใช่กฎหมายที่จะบังคับใช้แก่ประชาชนไม่ ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนหรือควรจะได้ทำการแลกเปลี่ยนและความเสียหายที่โจทก์จะได้รับก็คือ ความเสียหายในเวลาที่มีการผิดนัดชำระหนี้ และต้องคิดคำนวณลงเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คือ เป็นเงินไทยในขณะนั้น จะถือว่าเสียหายเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงตลอดไปไม่ได้
แม้จะมีกฎหมายว่า ไม่นำเงินตราต่างประเทศมาขายเป็นผิดอาญาก็ตาม แต่เป็นการบังคับให้ขายเงินตราต่างประเทศอีกส่วนหนึ่งในภายหลังต่างหาก ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะขอให้จำเลยต้องผูกพันอยู่เดิม อายุความจึง 10 ปี หาใช่ 5 ปี โดยถืออัตราโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นหลักตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรกไม่
การที่ต่างประเทศมีกฎหมายห้ามนำเงินตราออกนั้น ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้พ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้
แม้จะมีกฎหมายว่า ไม่นำเงินตราต่างประเทศมาขายเป็นผิดอาญาก็ตาม แต่เป็นการบังคับให้ขายเงินตราต่างประเทศอีกส่วนหนึ่งในภายหลังต่างหาก ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะขอให้จำเลยต้องผูกพันอยู่เดิม อายุความจึง 10 ปี หาใช่ 5 ปี โดยถืออัตราโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นหลักตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรกไม่
การที่ต่างประเทศมีกฎหมายห้ามนำเงินตราออกนั้น ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้พ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้