คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัยการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกทรัพย์ของพนักงาน – อำนาจฟ้อง – ความผิดส่วนตัว vs. ความผิดที่อัยการฟ้องเองได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอกทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314, 319 (1) (3), 63 โดยบรรยายฟ้องวา จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่าง ๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ 3 ใบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อจำเลยเอาหม้อน้ำรถยนต์ไปขายแล้วยักยอกเงินนั้นเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (1) อันเป็นความผิดส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ 2 อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงตาม พ.ร.บ. 2499: บทบาทอัยการและผู้ว่าคดี, ศาลต้องรับฟ้อง
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวง ธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์ (ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรี และพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราว คงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เมื่อพนักงานอัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญา ศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (2) ที่ให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเอง แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 เท่านั้น ที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ. 2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงตาม พ.ร.บ.ศาลแขวงฯ พ.ศ.2499: บทบาทผู้ว่าคดีและอัยการ
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์(ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรีและพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราวคงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เช่นนี้เมื่ออัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญาศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(2) ที่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเองแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 เท่านั้นที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบคดีให้พนักงานอัยการฟ้องร้อง ไม่จำต้องมีเอกสารแสดงอำนาจ
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ความชัดตามฟ้องและชั้นพิจารณาว่า เจ้าทุกข์ผู้เสียหายได้แจ้งความมอบคดีต่อเจ้าพนักงานให้จัดการฟ้องร้องจำเลยได้ ก็เป็นการปฏิบัติชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) แล้ว ไม่จำต้องแสดงต่อศาลถึงเอกสารการมอบอำนาจหรือมอบคดีให้อัยการฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดเดิม: ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องไม่สมบูรณ์ อัยการไม่มีสิทธิฟ้องซ้ำ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยพยายามฆ่าคน ศาลชั้นต้นเห็นว่า ฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะมิกล่าวเวลาและสถานที่ซึ่งจำเลยกระทำผิด ศาลให้โจทก์แก้ฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์ยืนยันไม่แก้ ศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161, 185 ดังนี้ อัยการจะฟ้องจำเลยคนเดียวกันฐานพยายามฆ่าคนอีกไม่ได้ เพราะศาลได้ยกฟ้องเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้องแล้ว ตามมาตรา 39 (4)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดพยายามฆ่า: ศาลยกฟ้องแล้ว อัยการไม่มีสิทธิฟ้องอีก
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยพยายามฆ่าคน ศาลชั้นต้นเห็นว่า ฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะมิกล่าวเวลาและสถานที่ซึ่งจำเลยกระทำผิด ศาลให้โจทก์แก้ฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์ยืนยันไม่แก้ ศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161,185 ดังนี้ อัยการจะฟ้องจำเลยคนเดียวกันฐานพยายามฆ่าคนอีกไม่ได้ เพราะศาลได้ยกฟ้องเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้องแล้วตามมาตรา 39(4)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาญาแผ่นดินฐานเสื่อมเสียอิสรภาพ: สิทธิฟ้องของอัยการไม่ต้องอาศัยการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ความผิดฐานเสื่อมเสียอิสระภาพตาม กฎหมายอาญามาตรา268วรรคสามเป็นความผิดอาญาแผ่นดินโดยตรง มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวโดยปกติพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิจะฟ้องร้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการร้องทุกข์ของผู้เสียหายเพียงแต่โจทก์บรรยายฟ้องถึงเรื่องข่มขืนกระทำชำเราด้วยเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ตามรูปเรื่องซึ่งความจริงเรื่องข่มขืนกระทำชำเรานั้นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปแล้วย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะถอนได้แต่เฉพาะเรื่องที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นไม่เกี่ยวกับความผิดอันเป็นอาญาแผ่นดินโดยตรงประการใดเลยและไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องคดีของโจทก์ในเรื่องความผิดฐานเสื่อมเสียอิสระภาพดังกล่าวมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอัยการแทนโจทก์เดิม & ฟ้องซ้ำ: ศาลมีดุลยพินิจอนุญาตถอนฟ้องได้หากประเด็นยังไม่สิ้นสุด
คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่หลานฟ้องปู่เป็นคดีอุทลุมโดยอ้างเหตุว่าไม่มีอำนาจฟ้องยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นไม่ตัดสิทธิที่จะให้หลานขอให้พนักงานอัยการดำเนินคดีเป็นโจทก์แทน ฟ้องของอัยการโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องของโจทก์ร่วมกระทบสิทธิฟ้องของอัยการในคดีอาญา
คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ คดีถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ๆ พิพากษาลงโทษจำเลย ๆ ฎีกาแล้วต่อมาผู้เสียหายได้ขอถอนฟ้องเสีย ศาลฎีกาย่อมทำคำพิพากษาให้ยกฟ้องของอัยการเสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องของโจทก์ร่วมส่งผลให้สิทธิฟ้องของอัยการระงับตามกฎหมาย
คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ คดีถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาแล้ว ต่อมาผู้เสียหายได้ขอถอนฟ้องเสีย ศาลฎีกาย่อมทำคำพิพากษาให้ยกฟ้องของอัยการเสียด้วย
of 11