พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารลักษณะคล้ายตั๋วแลกเงิน/ใบรับ ต้องเสียอากรตามประเภทที่เข้าข่าย และการใช้ดุลพินิจเรื่องเงินเพิ่ม
เอกสารที่ประกอบด้วยลักษณะของใบรับอันต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรกับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตัวแทนเงินรวมอยู่ด้วย
ตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 9 คือ ตั๋วแลกเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อทำผิดแบบก็ไม่อาจถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามอัตราดังกล่าวได้
เอกสารที่มีลักษณะของใบรับ กับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินด้วย ถ้าทำขึ้นเมื่อใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 แล้ว ก็เข้าลักษณะต้องเสียอากรอย่างตั๋วแลกเงินและต้องถือว่าไม่อยู่ในลักษณะเป็นใบรับที่ต้องเสียอากรอีกด้วย
การลดหย่อนเงินเพิ่มอากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 80 นั้นเป็นดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ จะขอให้ศาลให้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่
ตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 9 คือ ตั๋วแลกเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อทำผิดแบบก็ไม่อาจถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามอัตราดังกล่าวได้
เอกสารที่มีลักษณะของใบรับ กับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินด้วย ถ้าทำขึ้นเมื่อใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 แล้ว ก็เข้าลักษณะต้องเสียอากรอย่างตั๋วแลกเงินและต้องถือว่าไม่อยู่ในลักษณะเป็นใบรับที่ต้องเสียอากรอีกด้วย
การลดหย่อนเงินเพิ่มอากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 80 นั้นเป็นดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ จะขอให้ศาลให้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งจากใบมอบอำนาจ: เพียงพอแม้ไม่มีระบุตำแหน่งเจ้าอาวาส และปิดอากรถูกต้อง
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแพ่งนั้น ไม่ใช้มอบอำนาจให้ทำกิจการทั่วไป ปิดอากรเพียง 5 บาทเท่านั้น
เจ้าอาวาสมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อฟ้องคดีแพ่งแทนวัด แม้ในใบมอบอำนาจจะไม่มีข้อความปรากฎว่า ผู้มอบเป็นเจ้าอาวาส ก็ไม่ทำให้ผู้รับมอบไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้มอบเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นจริง ๆ
เจ้าอาวาสมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อฟ้องคดีแพ่งแทนวัด แม้ในใบมอบอำนาจจะไม่มีข้อความปรากฎว่า ผู้มอบเป็นเจ้าอาวาส ก็ไม่ทำให้ผู้รับมอบไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้มอบเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นจริง ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินตราไม่ใช่ 'ของ' ตามกฎหมายศุลกากร จึงไม่ต้องเสียอากรขาออก
นำเงินตราออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต เงินตราไม่ใช่ของอันจะต้องเสียอากรตามพ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรและขีดค่าตั๋วชมการแข่งขัน: การระบุรายละเอียดความผิดและจำนวนรายที่จำเลยกระทำ
ปิดอากรสแตมมหรสพไม่ครบและไม่ขีดค่าอากรสแตมป์ไนการแสดงมหรสพครั้ง 1 นั้น แม้จะเปนตั๋วกี่ฉบับก็ตามก็ถือว่าเปนความผิดถานปิดอากรสแตมป์ไม่ครบกะทงหนึ่งและถานไม่ขีดค่าอากรสแตมป์อีกกะทงหนึ่ง
กรนีที่ถือว่าสาลถามคำไห้การจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ได้รับตามฟ้องของโจท.
กรนีที่ถือว่าสาลถามคำไห้การจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ได้รับตามฟ้องของโจท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายน้ำตาลเมาที่มีแอลกอฮอล์เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อากรชั้นใน
โจทก์นำสืบได้ว่าน้ำตาลเมาที่จับได้จากจำเลยมีแอลกอฮอล์สามารถดื่มกินได้เมาอย่างสุรา จำเลยต้องมีผิดตาม พ.ร.บ.ข้างบน
วิธีพิจารณาอาชญา พะยาน อาชญา ม. 72
วิธีพิจารณาอาชญา พะยาน อาชญา ม. 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นการพนันนอกสถานที่ที่ได้รับอนุญาต มีความผิดตาม พ.ร.บ.อากรการพนัน
เล่นการพนันผิดที่ซึ่งได้รับอนุญาต พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ. 2461
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17822/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกค่าอากร: การคำนวณอากรผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 นำเข้าสินค้าโดยสำแดงราคาของในใบขนสินค้า 40,446.57 บาท แต่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าราคาต่ำไปจึงให้เพิ่มราคาเป็น 159,228.63 บาท จำเลยที่ 1 ก็ระบุราคาของเพิ่มไว้ในใบขนสินค้าแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์พบว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับการลดอัตราอากรจากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 5 จึงแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอากรเพิ่ม โดยคิดอัตราร้อยละ 40 ของราคา 40,446.57 บาทแทนที่จะใช้ราคา 159,228.63 บาท ย่อมเห็นได้ว่าเหตุที่จำนวนเงินค่าอากรขาเข้าที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเพิ่มขาดจำนวนไปตามที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีนี้นั้น เกิดจากกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์คิดค่าอากรจากฐานราคาสินค้าผิดพลาด มิใช่เหตุจากการที่จำเลยที่ 1 สำแดงราคาของผิดพลาด สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตามมาตรา 10 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกำหนด 2 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดเกี่ยวกับไม้หวงห้าม เลื่อยโซ่ยนต์ และการนำเข้าหลีกเลี่ยงอากร ศาลพิจารณาองค์ประกอบความผิดและแก้ไขโทษ
เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 83 แห่ง ป.อ. หาทำให้คำฟ้องบกพร่องจนศาลไม่อาจจะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ไม่ เพราะตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด..." ซึ่ง ป.อ. มาตรา 83 มิใช่บทมาตราที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดแล้ว แม้จะไม่ได้ระบุมาตรา 83 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8708/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าอากร: การสำแดงพิกัดสินค้าผิดพลาดไม่ใช่การคำนวณผิดพลาด อายุความ 10 ปี
กรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบอันเป็นผลให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องชำระอากรเพิ่มเติม แต่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมิได้กระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือสำแดงเท็จ แต่ได้สำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าหรือใบขนสินค้าขาออกเป็นเหตุให้จำนวนเงินอากรขาดไป เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะสำแดงประเภทพิกัดของสินค้าพิพาทเป็นเท็จดังที่โจทก์อ้างในฟ้อง กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในการชำระค่าอากรที่ขาดเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาท แต่ต้องด้วยกรณีที่ไม่ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มเมื่อมีการชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 102 ตรี (3) เนื่องจากมีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ตามมาตรา 10 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของกรมศุลกากรที่จะเรียกเก็บเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นั้นให้มีอายุความ 10 ปี แต่ในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิดให้มีอายุความ 2 ปี ทั้งนี้นับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออก" เมื่อการชำระอากรขาดเกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าไม่ถูกต้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่นำของเข้าตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 นำเข้าสินค้าพิพาทในคดีนี้ ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เมื่อนับถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ตามมาตรา 10 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของกรมศุลกากรที่จะเรียกเก็บเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นั้นให้มีอายุความ 10 ปี แต่ในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิดให้มีอายุความ 2 ปี ทั้งนี้นับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออก" เมื่อการชำระอากรขาดเกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าไม่ถูกต้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่นำของเข้าตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 นำเข้าสินค้าพิพาทในคดีนี้ ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เมื่อนับถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า "อากร" ใน พ.ร.บ.ศุลกากร และการปรับปรุงฐานภาษีเพื่อลงโทษปรับที่ถูกต้อง
คำว่า "อากร" ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองนำค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยสำหรับรถยนต์ของกลางมารวมเป็นค่าอากรอีกจำนวนหนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225