คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ และรั้วเข้าข่าย 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณะไม่ตกอยู่ในบังคับว่าด้วยการให้ผู้อุทิศอาจทำหลักฐานเป็นหนังสืออุทิศที่ดินหรืออุทิศโดยปริยายก็มีผลทำให้ที่ดินที่อุทิศตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วหาจำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้ให้คำอธิบายคำว่า "อาคาร" หมายความว่าตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพคลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงรั้ว ฯลฯ ดังนั้นรั้วเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น จึงเป็นอาคารตามความหมายแห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดข้อบัญญัติ: การเว้นที่ว่างด้านหลังอาคาร
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารด้านหลังตึกแถวจนไม่มีที่ว่างด้านหลังตึกแถว แม้ที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวจะอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยที่ปลูกสร้างทาวน์เฮาส์อีกแปลงหนึ่ง และได้เว้นพื้นที่ด้านหลังทาวน์เฮาส์ไว้กว้าง 2 เมตรแล้ว ก็ถือว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวโดยมิได้เว้นที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4)ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ต่อเติมผิดข้อบัญญัติดังกล่าวออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาไม่เป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร หากไม่เข้าเกณฑ์ระยะห่างและขนาด/น้ำหนักที่กฎกระทรวงกำหนด อำนาจฟ้องจึงไม่เกิด
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะ จะถือว่าเป็นอาคารก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ2 ประการ คือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่งจะมีการออกกฎกระทรวงภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้ว ซึ่งจะนำมาใช้บังคับคดีนี้มิได้ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นอาคาร ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจตามมาตรา 40 และมาตรา 42(เดิม) ที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอน รวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาไม่ใช่ 'อาคาร' หากไม่มีกฎกระทรวงกำหนดขนาด/น้ำหนัก ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจสั่งรื้อถอน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะจะถือว่าเป็นอาคารก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ 2 ประการคือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่งจะมีการออกกฎกระทรวงภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้ว ซึ่งจะนำมาใช้บังคับคดีนี้มิได้ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1จึงไม่เป็นอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจตามมาตรา 40 และมาตรา 42(เดิม)ที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนรวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาเป็น 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดขนาด/น้ำหนัก ผู้มีอำนาจสั่งรื้อไม่มีอำนาจฟ้อง
ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะ จะถือเป็นอาคารตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ 2 ประการคือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ในขณะเกิดเหตุยังไม่มีกฎกระทรวงใช้บังคับ ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นอาคารตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนรวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน-อาคาร, การยกกรรมสิทธิ์, สิทธิครอบครอง, ข้อตกลงเพิ่มเติม, การรื้อถอนอาคาร
คำฟ้องที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารดังกล่าวให้จำเลยทั้งสอง ต่อมาโจทก์มีความประสงค์จะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยขัดขวางไม่ยอมรื้อถอนอาคารพิพาทออกจากที่ดินขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์และใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ย่อมมีหน้าที่นำสืบในประเด็นข้อพิพาทนี้
คำให้การของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเพราะโจทก์ได้แสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยตลอดชีวิต พอแปลได้ว่าเป็นข้อต่อสู้ว่านอกจากโจทก์จะยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยแล้ว ยังมีข้อตกลงต่างหากให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารพิพาท ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ตลอดชีวิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการอยู่อาศัยในที่ดินของผู้อื่น: การยกกรรมสิทธิ์อาคารกับการสิทธิเหนือพื้นดิน
คำฟ้องที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารดังกล่าวให้จำเลยทั้งสอง ต่อมาโจทก์มีความประสงค์จะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยขัดขวางไม่ยอมรื้อถอนอาคารพิพาทออกจากที่ดินขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์และใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ย่อมมีหน้าที่นำสืบในประเด็นข้อพิพาทนี้ คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเพราะโจทก์ได้แสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยตลอดชีวิตพอแปลได้ว่าเป็นข้อต่อสู้ว่านอกจากโจทก์จะยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยแล้ว ยังมีข้อตกลงต่างหากให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารพิพาท ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ตลอดชีวิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารเกินแบบที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคาขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48 ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30,76,83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารชั่วคราวบนที่สาธารณะ: นิยาม 'อาคาร' และ 'ก่อสร้าง' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 คำว่าอาคารหมายความถึง ตึก บ้าน เรือน โรง แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ จำเลยปลูกเพิงหลังคามุงสังกะสีและตีฝาด้วยสังกะสี ขนาดกว้าง6 เมตร ยาว 6 เมตร เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการค้าขายขึ้นในที่ดินในเขตเทศบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะใช้วัสดุค้ำหลังคาไว้ อันมีลักษณะเป็นการชั่วคราวสามารถรื้อถอนได้โดยง่ายก็ตาม ก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ส่วนคำว่าก่อสร้าง นั้น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามไว้ว่า หมายถึงสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมจะนำเอาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมดจึงเป็นการก่อสร้างอาคารแม้จะเป็นการชั่วคราวก็ไม่อาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย และการพิจารณาคำอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพาณิชย์2 ชั้นต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10มิถุนายน 2528 กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบริเวณบางส่วนของตำบลป่าตองอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารรายนี้ด้วย ต่อจากนั้นจำเลยจึงได้มีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้ เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นสูงเกิน 5 เมตร ซึ่งต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งของจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ไม่มีเหตุที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน60 วัน แต่ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยโดยไม่ได้ให้ตัวจำเลยเข้าสืบก่อนพยานปากอื่น แต่จำเลยเป็นนิติบุคคล พยานจำเลยที่นำเข้าสืบเป็นเจ้าพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาคำร้องของโจทก์ และทนายจำเลยได้แถลงเหตุขัดข้องของพยานที่จะนำเข้าสืบในแต่ละนัดไว้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้าน ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นำพยานปากใดเข้าสืบก่อนหลัง การสืบพยานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
of 12