พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายรังนกอีแอ่นและการมีไว้ในครอบครองโดยมิชอบเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การริบของกลางกรณีผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาย
ที่เกิดเหตุเป็นเกาะมีถ้ำที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเขตห้ามตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติเป็นเขตห้าม พ.ศ. 2485 บริษัทรังนกแหลมทอง (สยาม) จำกัด ผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสัมปทานเก็บรังนกอีแอ่นบนเกาะดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในขณะเกิดเหตุนั้น มาตรา 5 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ อันสามารถอาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่นหรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อาศัยไปจากเกาะที่ทำรังอยู่ตามธรรมชาติหรือกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่น บรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ มาตรา 7 บัญญัติว่า ผู้ใดจะเก็บรังนกอีแอ่นบรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ ต้องได้รับอนุญาตและเสียเงินอากรตามวิธีการซึ่งจะได้กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 9 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นอันตนรู้ว่าได้มาโดยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จึงเห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นต้องมีเจตนาในการกระทำต่อรังนกอีแอ่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นกรณีที่อาศัยเจตนาอย่างหนึ่ง ส่วนการมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นนั้น เป็นการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาในการยึดถือเพื่อตนซึ่งรังนกอีแอ่น การกระทำผิด ทั้งสองฐานดังกล่าวอยู่ในมาตราเดียวกันก็เป็นเพียงการบัญญัติลักษณะของการกระทำผิดต่าง ๆ มากำหนดโทษไว้ในที่แห่งเดียวเพราะมีอัตราโทษเท่ากันเท่านั้น แม้จำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำผิดของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซอง และปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลางที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตายในที่เกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญา มาฟ้อง ย. ย่อมระงับไป ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 ศาลจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซอง และปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลางที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตายในที่เกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญา มาฟ้อง ย. ย่อมระงับไป ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 ศาลจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ลดโทษรายกระทงก่อนแล้วค่อยรวมโทษ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโทษโดยไม่สมเหตุผล
ฎีกาของจำเลยที่ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีเพียง 2 เม็ด จำเลยมิได้นำมาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นฎีกาที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากร และการลดโทษจำคุกเป็นรายกระทงตามกฎหมายอาญา
การลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้นั้นค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย และเนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกัน เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว อันถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 225
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335-4339/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาที่ระบุสถานที่เกิดเหตุไม่ชัดเจนและไม่ได้อ้างมาตราในกฎหมาย แต่บรรยายลักษณะความผิดครบถ้วน ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
แม้คำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าเหตุเกิดที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ โดยไม่ได้ระบุตำบลเกิดเหตุให้ชัดเจน ก็ถือว่าคำฟ้องได้บรรยายถึงสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ แล้ว ทั้งจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และรูปคดีเป็นที่เข้าใจว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดที่ตำบลอะไรนั้นจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมีบทบัญญัติเพียง 11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียวที่บัญญัติการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆล้วนบัญญัติในเรื่องอื่น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงชื่อกฎหมายไม่ได้ระบุมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดก็ตาม แต่ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ จึงไม่อาจเป็นการกระทำความผิดตามมาตราอื่นได้อีก มีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมีบทบัญญัติเพียง 11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียวที่บัญญัติการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆล้วนบัญญัติในเรื่องอื่น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงชื่อกฎหมายไม่ได้ระบุมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดก็ตาม แต่ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ จึงไม่อาจเป็นการกระทำความผิดตามมาตราอื่นได้อีก มีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: เจตนาฆ่าและความรับผิดทางอาญา
จำเลยกับพวกช่วยกันถีบผู้ตายกับผู้เสียหายที่ 1ตกจากรถยนต์โดยสารขณะที่กำลังแล่นด้วยความเร็วประมาณ60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ตายอาจไปกระแทกผู้เสียหายที่ 2 ที่ยืนอยู่ตรงบันไดตกจากรถไปด้วยกันและศีรษะกับลำตัวของผู้ตายหรือของผู้เสียหายทั้งสองอาจกระแทกกับพื้นถนนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสองตกจากรถทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบตัวและมอบของกลางหลังก่อเหตุเป็นเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78
แม้เหตุในคดีนี้จะเกิดในเวลากลางวันต่อหน้าคนจำนวนมากและโจทก์มีพยานหลักฐานที่สามารถนำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้โดยไม่ต้องอาศัยคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยมาประกอบการพิจารณาเลยก็ตาม แต่หลังเกิดเหตุจำเลยยังคงหลบซ่อนอยู่ในบริเวณอาคารที่เกิดเหตุจนเจ้าพนักงานตำรวจพูดเกลี้ยกล่อมให้จำเลยมอบตัว จำเลยจึงยอมมอบตัวและนำอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนที่ยังเหลืออยู่อีก 2 นัด ไปมอบให้พนักงานสอบสวนยึดเป็นของกลาง หากจำเลยไม่ยอมมอบตัวก็ยังมีอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนในสภาพที่พร้อมจะก่อเหตุร้ายต่อไปได้อีก การที่จำเลยยอมมอบตัวและมอบอาวุธปืนและกระสุนปืนเป็นของกลาง ทั้งให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนถือได้ว่าเป็นการรู้สึกความผิดและลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีอาญา: พยายามฆ่าและฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องในข้อ 1 ว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแล้วแยกการกระทำเป็นข้อ ก. และข้อ ข. โดยข้อ ก. เป็นเรื่องพาอาวุธปืน ข้อ ข. เป็นเรื่องพยายามฆ่าผู้เสียหายและฆ่าผู้ตายรวมกัน โดยบรรยายว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและผู้ตายหลายนัด กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย และกระสุนปืนที่จำเลยยิงดังกล่าวยังไปถูกผู้ตายหลายแห่งแสดงว่า มีการยิงผู้เสียหายและผู้ตายหลายนัดในคราวเดียวโดยกระทำต่อเนื่องกัน โจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อ ข. โดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิด2 กรรม คือพาอาวุธปืนกรรมหนึ่ง พยายามฆ่าผู้เสียหายและฆ่าผู้ตายรวมกันมาอีกกรรมหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายและฐานฆ่าผู้ตายแยกออกจากกันเป็น 2 กรรม จึงเป็นการลงโทษเกินฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ชอบที่ศาลฎีกาจะแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าความผิดฐานพยายามฆ่าและฆ่าผู้อื่นเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องอาญาหมดอายุ: จำหน่ายคดี ไม่ใช่ยกฟ้อง
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้ว ศาลควรจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มิใช่พิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนผู้ถูกคุมขังอาญา: ต้องมีกฎหมายรองรับและไม่ใช่คดีแพ่ง
จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับเงินค่าทดแทน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุด จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ทั้งไม่อาจถือว่า การยื่นฎีกาเป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว
การขอให้จ่ายค่าทดแทนการถูกคุมขังตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 246 บัญญัติให้สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติเมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ สิทธิดังกล่าวของจำเลยจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้ไม่ใช่คดีแพ่ง จะนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็กระทำมิได้
การขอให้จ่ายค่าทดแทนการถูกคุมขังตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 246 บัญญัติให้สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติเมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ สิทธิดังกล่าวของจำเลยจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้ไม่ใช่คดีแพ่ง จะนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็กระทำมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: ความสมบูรณ์ของคำฟ้อง, ดุลพินิจศาลในการลดโทษ, และการรับสารภาพ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 เป็นดุลพินิจของศาลถ้าเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นดุลพินิจที่เห็นว่าจำเลยที่ 1 อายุ 19 ปีเศษ รู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้โดยไม่จำต้องกล่าวถึงข้อกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่เกิดเหตุ และว่ามีคนร้ายลักเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำฟ้องโจทก์มิได้ระบุโดยชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดและสถานที่กระทำผิดอยู่ที่ใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องระบุถึงสถานที่เกิดเหตุในข้อต่อมาว่าเหตุทั้งหมดเกิดที่ใด และภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป ขณะที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง และจำเลยได้เป็นคนร้ายร่วมกันลักทรัพย์ดังกล่าวของผู้เสียหายไปโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ มิได้หลงต่อสู้ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่เกิดเหตุ และว่ามีคนร้ายลักเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำฟ้องโจทก์มิได้ระบุโดยชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดและสถานที่กระทำผิดอยู่ที่ใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องระบุถึงสถานที่เกิดเหตุในข้อต่อมาว่าเหตุทั้งหมดเกิดที่ใด และภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป ขณะที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง และจำเลยได้เป็นคนร้ายร่วมกันลักทรัพย์ดังกล่าวของผู้เสียหายไปโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ มิได้หลงต่อสู้ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ชอบแล้ว