พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาต้องเป็นผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีเท่านั้น การรับรองโดยผู้ไม่มีอำนาจทำให้ฎีกาไม่ชอบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่บัญญัติให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงนั้น มีเจตนารมณ์ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นเองเป็นผู้รับรองให้ฎีกา เพราะเป็นผู้ทราบดีว่ามีเหตุสมควรที่จะรับรองให้ฎีกาหรือไม่ แต่ ส. เป็นผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยเท่านั้น อันเป็นคำสั่งภายในจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งการมีคำสั่งดังกล่าว ส.ไม่ได้เข้าไปนั่งพิจารณาคดีนั้นเลย ส.จึงไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ การที่ ส.รับรองให้ฎีกาจึงไม่ชอบ ถือว่าคดีนี้ยังคงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทน-การให้สัตยาบัน: ตัวการผูกพันตามข้อตกลงที่ตัวแทนทำ แม้มีข้อจำกัดอำนาจ
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและรับเหมาก่อสร้างบ้านกับรับเงินแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นแต่เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 มีอำนาจในการดำเนินการกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3เจรจาตกลงทำบันทึกเอกสารหมาย จ.5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผ่อนชำระเงินคืนให้โจทก์ถึง 8 งวด ตามบันทึกข้อตกลงและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว มีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผ่อนชำระเงินคืนให้โจทก์ถึง 8 งวด ตามบันทึกข้อตกลงและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว มีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด ตัวการให้สัตยาบัน ผูกพันตามสัญญา แม้มอบอำนาจจำกัด
จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โครงการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่วนใหญ่จำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 ก็จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3 เจรจาตกลงทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ
จำเลยที่ 3 ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ผ่อนชำระเงินคืนให้แก่โจทก์รวม 8 งวดต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ ธ. จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมเข้าผูกพันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เข้าทำข้อตกลงโดยพลการและมูลหนี้ที่ตกลงชำระกันเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบได้ อีกทั้งการให้สัตยาบันดังกล่าวมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด มิใช่เป็นการให้สัตยาบันเฉพาะในมูลหนี้ที่ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้ว
จำเลยที่ 3 ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ผ่อนชำระเงินคืนให้แก่โจทก์รวม 8 งวดต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ ธ. จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมเข้าผูกพันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เข้าทำข้อตกลงโดยพลการและมูลหนี้ที่ตกลงชำระกันเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบได้ อีกทั้งการให้สัตยาบันดังกล่าวมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด มิใช่เป็นการให้สัตยาบันเฉพาะในมูลหนี้ที่ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างและขอบเขตความรับผิดของบริษัทในเครือ: การพิสูจน์อำนาจและการเชิดตัวแทน
บันทึกยืนยันข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.1 มีข้อความเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งลงนามแทนโดย ส. กับ ช. แต่ในขณะตกลงว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น ส.หรือกรรมการอื่นในบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังมิได้เข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 แต่เพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 ในภายหลัง ส. จึงกระทำการในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น แต่ตามข้อบังคับบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กำหนดให้มีกรรมการบริษัท 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัท จึงจะสามารถกระทำกิจการต่าง ๆ ผูกพันบริษัทได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ ดังนั้น การที่ส.ไปเจรจาตกลงว่าจ้างโจทก์ รวมทั้งทำหนังสือยืนยันข้อตกลงโดยลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. ซึ่งขณะนั้น ช. ก็ยังไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานตามสัญญาว่าจ้างและขอเบิกเงินค่าตอบแทนกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ได้เชิด ส. ให้เป็นตัวแทนของบริษัทจำเลยที่ 2 และที่ 3 สัญญาว่าจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น
แม้เอกสารหมาย จ.7จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส.หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
แม้เอกสารหมาย จ.7จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส.หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนห้ามหักลดหย่อน แม้มีคำสั่งกรมสรรพากร เหตุไม่มีอำนาจยกเว้นตามกฎหมาย
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้น ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (5)มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งยกเว้นให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 72/2540 อธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราให้สามารถคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าวได้ ไม่มีข้อความใดยกเว้นความในมาตรา 65 ตรี (5) แต่อย่างใด ส่วนการหักค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรฯนั้น ต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้แล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 72/2540 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การสั่งให้ทำงานวันเสาร์ ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหากมีข้อบังคับเดิมกำหนดวันทำงานไว้แล้ว
โจทก์ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ให้พนักงานทั่วไปทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน และมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน คือวันอาทิตย์ การที่โจทก์ให้พนักงานบางแผนกหยุดสลับกันในวันเสาร์โดยมิได้ประกาศหรือมีคำสั่งว่าวันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดแต่อย่างใดยังถือไม่ได้ว่า โจทก์มีเจตนาเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยให้วันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดสัปดาห์เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างการที่โจทก์ประกาศให้ลูกจ้างมาทำงานทุกวันเสาร์ จึงเป็นการสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันทำงานตามปกติ ลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันข้อตกลงสภาพการจ้าง แม้ลงลายมือชื่อภายหลัง และขอบเขตอำนาจตัวแทนลูกจ้าง
โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 แต่โจทก์ลงลายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวในภายหลังก่อนที่จำเลยจะยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้าง ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเจรจาและตกลงกันได้ ทั้งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มิได้ห้ามลูกจ้างลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง ดังนั้นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องย่อมมีผลผูกพันโจทก์ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องของทั้งนายจ้างและลูกจ้างย่อมมีทั้งการขอให้เพิ่มและลดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างและทำงานซึ่งนายจ้างและลูกจ้างต่างก็มีสิทธิกระทำได้ตามเงื่อนไขและขั้นตอนในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อต่างฝ่ายต่างได้ยื่นข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเช่นนี้ แต่ละฝ่ายอาจจะได้สิทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามที่เจรจาต่อรองกันมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้สิทธิเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียวโดยลดลงไม่ได้การกระทำของผู้แทนลูกจ้างที่ได้ร่วมเจรจากับนายจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จึงอยู่ภายในขอบอำนาจและผูกพันลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องของทั้งนายจ้างและลูกจ้างย่อมมีทั้งการขอให้เพิ่มและลดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างและทำงานซึ่งนายจ้างและลูกจ้างต่างก็มีสิทธิกระทำได้ตามเงื่อนไขและขั้นตอนในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อต่างฝ่ายต่างได้ยื่นข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเช่นนี้ แต่ละฝ่ายอาจจะได้สิทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามที่เจรจาต่อรองกันมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้สิทธิเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียวโดยลดลงไม่ได้การกระทำของผู้แทนลูกจ้างที่ได้ร่วมเจรจากับนายจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จึงอยู่ภายในขอบอำนาจและผูกพันลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลาง และการพิสูจน์ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ธ. กระทำการแทนผู้ร้อง โดยให้มีอำนาจยื่นคำร้องขอรับรถของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1769/2542 ของศาลจังหวัดนราธิวาสคืน อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งให้ ป. และ ธ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องได้ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องไม่ได้จำกัดว่าผู้รับมอบอำนาจแต่ละคนจะต้องกระทำการร่วมกันตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งจึงสามารถยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมโดยไม่มีหมาย และการพิจารณาความผิดฐานฆ่าโดยใช้อาวุธร้ายแรง
เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดคดีนี้ เจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่มีอำนาจจับจำเลยได้โดย ไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 66 (2) ส่วนข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเป็นข้อตกลงในทางปฏิบัติเท่านั้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ ทำให้การจับจำเลยเสียไป เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การใช้ลูกระเบิดในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเป็นลักษณะที่จะทำให้ตายโดยใช้อาวุธร้ายแรงมีอำนาจแห่งการทำลายกว้างขวาง มิได้มีการกระทำอันแสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษแต่ประการใด กรณีจึงไม่เข้าลักษณะการกระทำโดยทารุณโหดร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 289 (5)
การใช้ลูกระเบิดในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเป็นลักษณะที่จะทำให้ตายโดยใช้อาวุธร้ายแรงมีอำนาจแห่งการทำลายกว้างขวาง มิได้มีการกระทำอันแสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษแต่ประการใด กรณีจึงไม่เข้าลักษณะการกระทำโดยทารุณโหดร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 289 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อทราบข้อจำกัด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยบางส่วน โดยวินิจฉัยว่าจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก เป็นการเสียเปรียบแก่ทายาทของเจ้ามรดกและผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน ทั้งโจทก์รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยทราบดีอยู่แล้วว่าทายาทของเจ้ามรดกและผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทหลายปีแล้ว และควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าจำเลยกระทำในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยถูกรอนสิทธิ แต่โจทก์ทราบถึงสิทธิของผู้ก่อกวนการรบกวนในที่ดินพิพาทแล้วในเวลาซื้อขาย จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 476 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามส่วนที่ถูกเพิกถอนการซื้อขาย