พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยคดีอาญา โดยไม่จำกัดเฉพาะประเด็นอุทธรณ์ และการพิจารณาว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งนั้นเป็นความเท็จแต่มิได้เป็นข้อสำคัญในคดี พิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยเบิกความเท็จ มีความเห็นพ้องด้วยในผล พิพากษายืน ดังนี้กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างใด และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 อีกเช่นกัน การพิจารณาคดีอาญาของศาลอุทธรณ์ไม่จำกัดอยู่เพียงในปัญหาที่คู่ความอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายทั้งปวงที่ปรากฏในสำนวนขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งสิ้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ซึ่งมาตรา 215 ให้นำมาใช้บังคับ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพราะย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นอุทธรณ์ และการพิจารณาว่าคำเบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งนั้นเป็นความเท็จแต่มิได้เป็นข้อสำคัญในคดี พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยเบิกความเท็จมีความเห็นพ้อง ด้วยในผล พิพากษายืน ดังนี้กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างใดและคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 อีกเช่นกัน การพิจารณาคดีอาญาของศาลอุทธรณ์ไม่จำกัดอยู่เพียงในปัญหาที่คู่ความอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายทั้งปวงที่ปรากฏในสำนวนขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งสิ้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ซึ่งมาตรา 215ให้นำมาใช้บังคับ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพราะย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด. (ความในวรรคแรกเป็นการวินิจฉัย มาตรา 220 ก่อนพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับ).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมสำนวน - อำนาจวินิจฉัยศาลฎีกา - ข้อเท็จจริง - ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียว กันหกสำนวนซึ่ง เกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียว กัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้อง ฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎี กาของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึง ข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่ง ต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใด ไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ไม่ส่งผลถึงอำนาจวินิจฉัย หากเลยกำหนด ผู้อุทธรณ์เสนอคดีต่อศาลได้ทันที
แม้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคสอง บัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าหากวินิจฉัยอุทธรณ์เกินกำหนดจะมีผลเป็นอย่างไร ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในกำหนด จึงไม่ทำให้อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์หมดไป เพียงแต่ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ทันทีหลังจากพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามขั้นตอนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดการรับชำระหนี้เอง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระต่อศาล แม้จะเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้บางส่วนและยกคำขอรับชำระหนี้บางส่วน แต่ความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งแก้ไขความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค: วันที่กระทำผิดต้องหลังวันที่ออกเช็ค ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเมื่อเดือนธันวาคม 2528 สั่งจ่ายเงินในวันที่ 15 มกราคม 2528 และผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็คในวันที่ 4เมษายน 2528 ในวันเดียวกันเวลากลางวัน ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค วันที่ความผิดเกิดก็คือวันที่ 4 เมษายน 2528 ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งเป็นวันที่ย้อนหลังจากวันที่จำเลยมอบเช็คให้ผู้เสียหาย จึงเป็นไปไม่ได้ที่วันที่กระทำผิดจะเกิดก่อนวันที่จำเลยมอบเช็คพิพาทให้ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นความผิด กรณีเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลพิพากษายกฟ้องได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการเลือกตั้งส.ส.: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาความเคลือบคลุมของคำร้องได้โดยไม่ต้องรอความเห็นศาลชั้นต้น
กระบวนพิจารณาคดีการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 78 และ 79 ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กฎหมายมอบหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งกระทำการแทนศาลฎีกา ส่วนความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวที่ได้ส่งมายังศาลฎีกาพร้อมกับสำนวนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอแนะต่อศาลฎีกาโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียจะโต้แย้งคัดค้านได้ และในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีศาลฎีกาก็มิได้ถูกผูกมัดโดยความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวนั้นด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร ศาลฎีกาอาจจะมีคำวินิจฉัยคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปได้โดยไม่จำต้องรอฟังความเห็นของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่ง
ในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นศาลแพ่งมีคำสั่งว่า จะพิจารณารวมสั่งเมื่อมีคำสั่ง ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเสียเองได้
คำร้องบรรยายว่า เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่คะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งในเขต 8 กรุงเทพมหานคร ทุกหน่วยจงใจนับบัตรเลือกตั้งหรือคะแนนของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่ 2 ให้ผิดไปจากความจริงหรือรวมคะแนนให้ผิดไปจากความเป็นจริง โดยกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบัตรเสียให้เป็นบัตรดีจำนวน 50 คะแนน ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับคะแนนเพิ่มไปจากความเป็นจริง 50 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้งบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 1 และกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบัตรดีให้เป็นบัตรเสียจำนวน 690 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้ง บัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 2 ทำให้ผู้ร้องได้คะแนนน้อยไปจากความเป็นจริง 690 คะแนน เช่นนี้จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งดังกล่าวได้ตามมาตรา 78 และบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องก็มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นับได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น กรณีต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โดยชอบแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่เคลือบคลุม
ในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นศาลแพ่งมีคำสั่งว่า จะพิจารณารวมสั่งเมื่อมีคำสั่ง ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเสียเองได้
คำร้องบรรยายว่า เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่คะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งในเขต 8 กรุงเทพมหานคร ทุกหน่วยจงใจนับบัตรเลือกตั้งหรือคะแนนของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่ 2 ให้ผิดไปจากความจริงหรือรวมคะแนนให้ผิดไปจากความเป็นจริง โดยกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบัตรเสียให้เป็นบัตรดีจำนวน 50 คะแนน ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับคะแนนเพิ่มไปจากความเป็นจริง 50 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้งบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 1 และกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยได้จงใจนับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบัตรดีให้เป็นบัตรเสียจำนวน 690 คะแนน ดังรายละเอียดปรากฏตามบัตรเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้ง บัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 2 ทำให้ผู้ร้องได้คะแนนน้อยไปจากความเป็นจริง 690 คะแนน เช่นนี้จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งดังกล่าวได้ตามมาตรา 78 และบัญชีท้ายคำร้องหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องก็มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นับได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น กรณีต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โดยชอบแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวินิจฉัยความผิดทางวินัยของข้าราชการ: ศาลไม่มีอำนาจแทรกแซง
การที่จำเลยพิจารณาแล้วเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดทางวินัยตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนและมีคำสั่งลงโทษโจทก์เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2518มาตรา84กรณีหาได้เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าวไม่และการที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดทางวินัยหรือไม่นั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นการใช้อำนาจของราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดใช้ดุลพินิจสั่งลงโทษโจทก์ไปตามความเหมาะสมกับสภาพความผิดเท่าที่อยู่ในอำนาจของจำเลยโดยชอบอย่างไรแล้วศาลไม่มีอำนาจจะเข้าไปชี้ขาดว่าโจทก์มีความผิดทางวินัยหรือไม่อีกข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกฟ้อง: ศาลมิอาจวินิจฉัยประเด็นความประมาทเลินเล่อของผู้เลี้ยงดู หากมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า พ. บุตรโจทก์ถูกจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ทำร้ายจนถึงแก่ความตาย ขอให้จำเลยที่ 1ที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะบิดามารดาผู้ปกครองจำเลยที่ 3 และในฐานะที่เป็นผู้รับจ้างเลี้ยงดู พ. ไม่ระมัดระวังตามหน้าที่และวิชาชีพปล่อยปละละเลยให้ พ. ถูกทำร้าย ดังนี้ ข้อสำคัญอันเป็นมูลให้โจทก์ฟ้องก็คือจำเลยที่ 3 ทำร้าย พ. เท่านั้นหาได้เลยไปถึงกรณี พ.หกล้มเองไม่ประเด็นที่ว่าพ. หกล้มจนขาหักเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในฐานะผู้รับจ้างเลี้ยงดูประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงไม่มี การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พ. หกล้มเอง มิใช่ถูกจำเลยที่ 3 ทำร้าย แต่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา พ. ตามควรแก่หน้าที่ จึง เป็นการพิพากษาในประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: อำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทและการบังคับตามกฎหมาย
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับการแต่งตั้งโดยอำนาจของกฎหมาย ให้ปฏิบัติราชการของกรมแรงงานตามที่กฎหมายกำหนดอำนาจและหน้าที่ไว้ ทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการดังกล่าวมิฉะนั้นมีความผิดและมีโทษทางอาญา คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย