คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะพนักงานสอบสวน: การมีอำนาจสอบสวนไม่ขึ้นอยู่กับ 'การเข้าเวร' แต่ขึ้นอยู่กับ 'ตำแหน่ง'
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นยังดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ใดจะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ ไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้นแม้ในขณะที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วม ร้อยตำรวจเอก ป. ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป.มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมการสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แม้ไม่ได้เข้าเวร ย่อมมีอำนาจสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็น พนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามที่เกิดนอกเขตท้องที่
การที่จะพิจารณาว่าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่จะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจประกอบด้วย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16เมื่อตามระเบียบกรมตำรวจและประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบฯของหน่วยราชการในกรมตำรวจ ระบุไว้ในข้อ 7ว่า กองกำกับการ 7 มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ฯลฯทั่วราชอาณาจักรซึ่งเป็นข้อบังคับว่าด้วยอำนาจ และ หน้าที่ของตำรา ดังนั้น พนักงานสอบสวน ในกองกำกับการ 7 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดี ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งเหตุเกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: แม้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงในชั้นพิจารณา ก็ไม่กระทบอำนาจเดิม
ป.ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ.โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่างจากฟ้อง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความจริง
ป. ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ. โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาบนเรือไทย และการรับฟังพยานจำเลย
เหตุเกิดขึ้นในเรือไทย เป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรพนักงานสอบสวน กองปราบปราม กรมตำรวจ มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร จึงมีอำนาจสอบสวน ส.เบิกความเป็นพยานจำเลย หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.อ. มาตรา 232 ไม่ คำเบิกความของส.นำมารับฟังเพื่อประกอบดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: สถานที่เกิดเหตุเป็นที่ตั้ง
จำเลยจะเดินทางกลับประเทศไทย ผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลัง แล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การยักยอกทรัพย์ การกำหนดสถานที่เกิดเหตุและอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ผู้เสียหายฝากทรัพย์สินกับจำเลยที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเพื่อให้จำเลยนำมาให้ภริยาของผู้เสียหายในประเทศไทย เมื่อผู้เสียหายกลับมาประเทศไทยจึงทราบว่าจำเลยไม่ได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้กับภริยาผู้เสียหาย และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากผู้เสียหายจึงร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยมูลแห่งความผิดทางอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามข้อนำสืบของโจทก์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ อันแสดงถึงเจตนาทุจริตเบียดบังทรัพย์เป็นของตน เหตุจึงเกิดที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย มิใช่เกิดที่ประเทศซาอุดิอาระเบียพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้เมื่อได้มีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และการไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายของความเห็น
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนการนำพยานมาให้สอบสวนและยกคำร้องขออนุญาตนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนใหม่ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หามีผลบังคับไม่ ศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์โดยตรง
คดีอาญาซึ่งมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์ พนักงานสอบสวน ก็ มีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคหนึ่ง เมื่อทำการสืบสวน หรือสอบสวนไปทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนได้แล้ว พนักงานสอบสวนไม่จัดให้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 123,124,125 ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นเสียไป พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้
of 19