พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่หน่วยงานรัฐในการเวนคืนที่ดินและสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และนโยบายของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 2เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวง ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวง การดำเนินการสำรวจเพื่อเวนคืนที่ดินตาม พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 ก็เพื่อให้ได้ที่ดินมาสร้างทางหลวง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสองตามนโยบายของรัฐ เมื่อเวนคืนแล้วพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ. 2532 มาตรา 4 ให้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตกเป็นของจำเลยที่ 2 เงินค่าทดแทนที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินงบประมาณของจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับจากรัฐ เหตุที่กฎหมายกำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพราะจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลไม่อาจแสดงเจตนาและกระทำการเองได้ จำเป็นต้องแสดงเจตนาและกระทำโดยอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการของจำเลยทั้งสองนั่นเอง ส่วนที่ต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนค่าทดแทนของอสังหาริมทรัพย์ และคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ค่าทดแทนนั้น เป็นเพียงกลไกของกฎหมายเพื่อกลั่นกรองงานเสนอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนและรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พิจารณาสั่งการให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกจากนี้การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนถือว่าเป็นการกระทำในทางปกครองอย่างหนึ่ง และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ก็มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ หาใช่คดีมีข้อพิพาทในทางแพ่งสามัญทั่ว ๆ ไปที่ต้องคำนึงถึงการโต้แย้งสิทธิไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้นและไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีโดยเห็นว่ายังไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้ฟ้องผู้ใดก็ย่อมหมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนซึ่งก็คือจำเลยทั้งสองนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนผู้อื่นของนิติบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การประเมินราคาชดเชย, ดอกเบี้ย, และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 ซึ่งขณะนั้นคดีนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ดังนั้นการฟ้องคดีนี้ของโจทก์ผู้ถูกเวนคืนยังไม่เสร็จเด็ดขาดในขณะที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนโดยอาศัยกฏเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่ให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 ได้ มิต้องพิจารณาเฉพาะมาตรา 21 (2) หรือ (3) ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และไม่ต้องคำนึงถึงปัญหาว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขราคาค่าทดแทนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยคำนึงถึงเฉพาะ (2) และ (3) ของมาตรา 21 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินโดยไม่ได้คำนึงถึงมาตรา 21 (1) (4) และ (5) ประกอบด้วย จึงยังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองและสังคมนั้นเป็นการถูกต้องแล้ว
เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่า ต้นไม้ของโจทก์จะให้ผลประโยชน์ประมาณปีละ 9,000 บาท ขอคิดค่าเสียหาย 5 ปี เป็นเงิน 45,000 บาทโดยไม่ได้นำสืบว่าต้นไม้ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ฯ เป็นจำนวนเงินเท่าใด การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมพืชพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดการกำหนดเงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้รับเงินค่าทดแทนก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 184 (พ.ศ.2533) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) และฉบับที่ 182 (พ.ศ.2533) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยกำหนดว่าเงินได้พึงประเมินประเภทเงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โดยใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปี 2532 เป็นต้นไปเมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนในปี 2531 จำเลยที่ 1 จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณที่จ่ายจากเงินค่าทดแทนที่จ่ายแก่โจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) โจทก์จึงเรียกคืนภาษีเงินได้นั้นไม่ได้
เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัย หรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามวรรคท้ายของมาตรา 21แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ต้องเป็นความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนแต่ดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมที่โจทก์อ้างว่าเพื่อนำใช้ปลูกบ้านใหม่นั้นมิใช่ความเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ในฐานะดังกล่าวจำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ซึ่งเป็นกฎหมายจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างทางพิเศษ จำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และการดำเนินการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 2 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 โดย พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมพ.ศ.2534 มาตรา 3 และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างว่าการกำหนดค่าทดแทนแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน... และวรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21วรรคหนึ่งที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่งเท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามเป็นอันใช้ไม่ได้
เดิมที่ดินของโจทก์ก่อนถูกเวนคืนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังถูกเวนคืนแล้วคงเหลือเนื้อที่ 73 ตารางวา เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีด้านหนึ่งเป็นรูปเรียวแหลม และเมื่อทางพิเศษตัดผ่านซึ่งเป็นทางสัญจรของรถยนต์ที่ก่อให้เกิดเสียงดังและควันจากท่อไอเสีย ทำให้สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี ย่อมต้องเสื่อมราคาลงตามสภาพดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนในส่วนนี้ด้วย
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า อัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเงินฝากประเภทฝากประจำในวันที่มีการจ่ายมีอัตราเท่าไร และจะต้องคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องว่ามีจำนวนเท่าไรเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีก็ตามแต่หากโจทก์เสียค่าขึ้นศาลมาไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนได้ และแม้การที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลไว้ให้ครบเป็นการคลาดเคลื่อน ก็คงทำให้ผิดพลาดเฉพาะในการเรียกค่าธรรมเนียมศาลขาดเท่านั้น แต่หาได้กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่น ๆ หรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผลบังคับแต่อย่างใดไม่
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2531 นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 16 มีนาคม 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝาก-ประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนช่วงเวลาใดมีอัตราดอกเบี้ยที่ต้องใช้ในการคำนวณอัตราเท่าใดเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะเป็นผู้ดำเนินการในชั้นบังคับคดี
เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่า ต้นไม้ของโจทก์จะให้ผลประโยชน์ประมาณปีละ 9,000 บาท ขอคิดค่าเสียหาย 5 ปี เป็นเงิน 45,000 บาทโดยไม่ได้นำสืบว่าต้นไม้ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ฯ เป็นจำนวนเงินเท่าใด การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมพืชพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดการกำหนดเงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้รับเงินค่าทดแทนก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 184 (พ.ศ.2533) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) และฉบับที่ 182 (พ.ศ.2533) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยกำหนดว่าเงินได้พึงประเมินประเภทเงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โดยใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปี 2532 เป็นต้นไปเมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนในปี 2531 จำเลยที่ 1 จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณที่จ่ายจากเงินค่าทดแทนที่จ่ายแก่โจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) โจทก์จึงเรียกคืนภาษีเงินได้นั้นไม่ได้
เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัย หรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามวรรคท้ายของมาตรา 21แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ต้องเป็นความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนแต่ดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมที่โจทก์อ้างว่าเพื่อนำใช้ปลูกบ้านใหม่นั้นมิใช่ความเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ในฐานะดังกล่าวจำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ซึ่งเป็นกฎหมายจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างทางพิเศษ จำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และการดำเนินการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 2 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 โดย พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมพ.ศ.2534 มาตรา 3 และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างว่าการกำหนดค่าทดแทนแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน... และวรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21วรรคหนึ่งที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่งเท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามเป็นอันใช้ไม่ได้
เดิมที่ดินของโจทก์ก่อนถูกเวนคืนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังถูกเวนคืนแล้วคงเหลือเนื้อที่ 73 ตารางวา เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีด้านหนึ่งเป็นรูปเรียวแหลม และเมื่อทางพิเศษตัดผ่านซึ่งเป็นทางสัญจรของรถยนต์ที่ก่อให้เกิดเสียงดังและควันจากท่อไอเสีย ทำให้สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี ย่อมต้องเสื่อมราคาลงตามสภาพดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนในส่วนนี้ด้วย
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า อัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเงินฝากประเภทฝากประจำในวันที่มีการจ่ายมีอัตราเท่าไร และจะต้องคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องว่ามีจำนวนเท่าไรเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีก็ตามแต่หากโจทก์เสียค่าขึ้นศาลมาไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนได้ และแม้การที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลไว้ให้ครบเป็นการคลาดเคลื่อน ก็คงทำให้ผิดพลาดเฉพาะในการเรียกค่าธรรมเนียมศาลขาดเท่านั้น แต่หาได้กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่น ๆ หรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผลบังคับแต่อย่างใดไม่
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2531 นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 16 มีนาคม 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝาก-ประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนช่วงเวลาใดมีอัตราดอกเบี้ยที่ต้องใช้ในการคำนวณอัตราเท่าใดเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะเป็นผู้ดำเนินการในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การออกประกาศเรียกเก็บเงินสมทบ, และการใช้ประกาศที่ถูกต้องตามช่วงเวลา
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา17ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไว้หลายประการเช่นมาตรา17(18)ให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจำหน่ายน้ำตาลทรายและเพื่อไว้บริโภคในราชอาณาจักรและกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายดังกล่าว(30)ให้อำนาจกำหนดระเบียบอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งระเบียบดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกฉบับที่1(พ.ศ.2528)ประกาศเมื่อวันที่26มีนาคม2528ระเบียบในข้อ5มีความว่าให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจหน้าที่(6)กำหนดจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบและ(7)ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดทำบัญชีเรียกว่า"บัญชีเงินจ่ายคืนผู้ผลิต"เพื่อนำเงินสมทบที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเรียกเก็บจากโรงงานน้ำตาลทุกโรงงานตามจำนวนที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายกำหนดดังนั้นการที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531เมื่อวันที่23มีนาคม2531โดยอาศัยอำนาจตามข้อ5แห่งระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวไม่ได้ ประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทรายที่เรียกเก็บเงินสมทบเป็นประกาศที่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531ที่พิพาทกันในคดีนี้จะนำประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่5พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตในปีต่อๆไปอันเป็นระยะเวลาภายหลังฤดูการผลิตปี2530/2531มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย: อำนาจหน้าที่, องค์ประชุม, คุณสมบัติกรรมการ, และคดีมีทุนทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 10 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของข้าราชการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องไม่เป็นชาวไร่อ้อย กรรมการผู้จัดการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของโรงงานเท่านั้น ส่วนมาตรา 11 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยคุณสมบัติ ฯลฯ(5) ไม่เป็นข้าราชการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง (6) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง การแต่งตั้งข้าราชการแม้เป็นวุฒิสมาชิกแต่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 จึงมิได้มีข้อห้ามในการเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กรรมการที่มาจากข้าราชการ 3 กระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งนั้นพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการนั้น ๆ และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะทั้งตามระเบียบบริการราชการแผ่นดินการแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใด ย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆ และเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่ง ไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้นหากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ การแต่งตั้งจึงชอบแล้ว การออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบ หรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 แม้ชื่อระเบียบดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเงินรางวัลนำจับแต่ข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดระเบียบการจ่ายเงินรางวัลนำจับ การแจ้งความและการรับเงินรางวัลนำจับไว้โดยละเอียดแล้วและการกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับดังกล่าวเนื่องจากพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17(25) บัญญัติให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการจึงมีอำนาจที่จะกำหนดระเบียบที่สอดคล้องและไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่คณะกรรมการได้นำข้อความตามมาตรา 44 บางส่วนมากำหนดเป็นระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในมาตรา 17(25) และการกำหนดเบี้ยปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นบทบังคับทางแพ่งเฉพาะโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และกำหนดให้ชำระเฉพาะเงินเบี้ยปรับ มิได้มีการลงโทษทางอาญาแต่ประการใด ส่วนพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เป็นบทบังคับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมทั้งโรงงานซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายด้วยและบทบังคับมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับอันเป็นโทษทางอาญา ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับจึงมิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ได้มีการนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการ จึงได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบถึงการออกระเบียบดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ดังกล่าวจึงถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนตามตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังไม่มีสถาบันชาวไร่อ้อยที่จะเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อย ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 แต่งตั้งผู้ซึ่งปลูกอ้อยเพื่อขายให้แก่โรงงานเป็นผู้แทนชาวไร่อ้อยและมาตรา 11 วรรคสี่ การเสนอและการถอดถอนผู้แทนชาวไร่อ้อยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อมารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ยังไม่มีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะกรรมการชุดเดิมจึงมีอำนาจดำเนินงานประชุมและลงมติได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้มอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน จ. รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ฉ. รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์และ ป.รองอธิบดีกรมการค้าภายในแทนอธิบดีกรมการค้าภายในทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับบัญชาในกระทรวงที่ตนสังกัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนกันโดยชอบด้วยกฎหมายบุคคลดังกล่าวจึงมีอำนาจเข้าร่วมประชุมแทนได้ โจทก์ฟ้องว่าคณะกรรมการบริหารมีมติให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเป็นเงิน 32,786,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายยกอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 58 ขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดี ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ในการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ จำเลยแถลงร่วมกันว่าให้สืบพยาน ข.ปลัดอำเภอผู้กระทำการแทนนายอำเภอ ในขณะทำพินัยกรรมฉบับพิพาทในประเด็นเดียวว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับที่จำเลยอ้างหรือไม่ หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับดังกล่าวและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงแล้วโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การจำเลยและโจทก์ยอมแพ้คดี แต่หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่า ข.เบิกความว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้ผู้ตายและพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริง ดังนี้ แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมที่ทำนอกสถานที่โดย ข.ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอในขณะที่นายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่อยู่จึงมิได้ทำพินัยกรรมโดยฐานะเป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอก็ตาม และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1658 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ เป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองก็ตาม แต่เมื่อไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ในที่ใดว่านายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอจะมอบหมายหรือสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดดำเนินการแทนไม่ได้ และเมื่อนายอำเภอได้สั่งให้ ข.ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภอ อันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข.ย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ดังนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงสมตามคำท้าของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
นายอำเภอสั่งให้ ข. ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภออันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข. จึงมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: อำนาจหน้าที่, การกำหนดค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และขั้นตอนทางกฎหมายที่ถูกต้อง
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางหลวงเทศบาลเชื่อมระหว่างถนนสาธรกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 63แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 ซึ่งการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาตลอดจนการกำกับตรวจตราและควบคุมทางหลวงและงานทางที่เกี่ยวกับทางหลวงเทศบาลนั้น เป็นกิจการของเทศบาลและนายกเทศมนตรีตามความในข้อ 9 และ 20 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว และ พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 10 และ 21 ซึ่งเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 ตามความในมาตรา 89 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 การเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลจึงเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 3 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 3 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 3 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 3 รักษาการตามพ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 3 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอนและแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 3 กระทำการดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 3 นั่นเองเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3
แม้ความในตอนต้นของข้อ 1 แห่งหนังสืออุทธรณ์คัดค้านเงินค่าทดแทนที่ดินจะระบุว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสี่แปลง แต่ในข้อ1.1 และข้อ 1.2 โจทก์ระบุขอค่าทดแทนเพิ่มเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 27646,27648 และ 27649 โดยมิได้ขอเพิ่มค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309 ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดค่าทดแทนให้ตารางวาละ 20,000บาท แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309 ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309 ต่อรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 3 ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติบังคับไว้ก่อนที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือว่าโจทก์ปฏิบัติผิดขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้นั้นประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 และข้อ 5 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา21 (2) หรือ (3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์มาเป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และเนื่องจากการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนดังกล่าวต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530วรรคสุดท้าย บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น คดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน เมื่อปรากฏว่าผู้ซี่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2533 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 7,768,000 บาท ภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโจทก์ลงลายมือชื่อรับเอกสารฉบับนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2533 หลังจากครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือคือวันที่ 14 มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 2มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 15 มิถุนายน 2533 จึงเป็นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยหาใช่นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2531 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ฝ่ายจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ไม่ และดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่าอัตราที่โจทก์ขอมา
แม้ความในตอนต้นของข้อ 1 แห่งหนังสืออุทธรณ์คัดค้านเงินค่าทดแทนที่ดินจะระบุว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสี่แปลง แต่ในข้อ1.1 และข้อ 1.2 โจทก์ระบุขอค่าทดแทนเพิ่มเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 27646,27648 และ 27649 โดยมิได้ขอเพิ่มค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309 ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดค่าทดแทนให้ตารางวาละ 20,000บาท แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309 ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309 ต่อรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 3 ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติบังคับไว้ก่อนที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือว่าโจทก์ปฏิบัติผิดขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 309
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้นั้นประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 และข้อ 5 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา21 (2) หรือ (3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์มาเป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และเนื่องจากการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนดังกล่าวต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530วรรคสุดท้าย บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น คดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน เมื่อปรากฏว่าผู้ซี่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2533 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 7,768,000 บาท ภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโจทก์ลงลายมือชื่อรับเอกสารฉบับนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2533 หลังจากครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือคือวันที่ 14 มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 2มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 15 มิถุนายน 2533 จึงเป็นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยหาใช่นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2531 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ฝ่ายจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ไม่ และดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่าอัตราที่โจทก์ขอมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยึดทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จึงเป็นการบังคับแก่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินนั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และมาตรา 109 และปรากฏตามบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดแล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย อันเป็นกรณีที่ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 การบังคับคดีที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ของจำเลยในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา158 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดที่เห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด จะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่ง ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ต้องกระทำในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็กนักเรียน ครูผู้ปกครองมีความผิดฐานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียนถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย