พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นชอบด้วยระเบียบ แม้จะยื่นผ่านไปยังรัฐมนตรี
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คำสั่งศาล: ต้องยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาเท่านั้น หากศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คำสั่งศาล: จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเท่านั้น หากศาลชั้นต้นไม่รับฎีกา จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลควบคุมการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
คำสั่งของศาลที่ให้สืบตัวจำเลยในฐานะเป็นพยานของโจทก์และจำเลยพร้อมกัน หลังจากที่โจทก์นำสืบพยานโจทก์คนอื่นๆหมดแล้วนั้น หาใช่คำสั่งที่ไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานไม่ แต่เป็นคำสั่งที่ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามหน้าที่ที่เป็นผู้ควบคุมการพิจารณาคดีให้รวดเร็วและเที่ยงธรรม เป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239 เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239 เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการสืบพยานและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพื่อความรวดเร็วและเที่ยงธรรม
คำสั่งของศาลที่ให้สืบตัวจำเลยในฐานะเป็นพยานของโจทก์และจำเลยพร้อมกัน หลังจากที่โจทก์นำสืบพยานโจทก์คนอื่นๆหมดแล้วนั้น. หาใช่คำสั่งที่ไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานไม่. แต่เป็นคำสั่งที่ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามหน้าที่ที่เป็นผู้ควบคุมการพิจารณาคดีให้รวดเร็วและเที่ยงธรรม เป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว.
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี. ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้.ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239. เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น.
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ. จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้.ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2).
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งทำพร้อมกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ชอบที่จะทำรวมกันมาในคำฟ้องอุทธรณ์หรือในคำแก้อุทธรณ์ฉบับเดียวกันแล้วแต่กรณี. ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาทั้งหมดนั้นรวมในคำพิพากษาฉบับเดียวกันได้.ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239. เพราะมาตรานี้ใช้สำหรับกรณีที่อุทธรณ์คำสั่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น.
การที่คู่ความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลในเรื่องลำดับของการนำพยานเข้าสืบ. จึงแถลงว่าไม่สืบพยานเช่นนี้.ไม่ใช่กรณีที่ศาลปฏิเสธไม่สืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ค้ำประกันเมื่อคดีถึงที่สุด แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
การที่ศาลสั่งไม่รับฎีกาและผู้ฎีกาได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งโดยหาผู้ค้ำประกันมาทำสัญญาค้ำประกันค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 นั้น เมื่อศาลฎีกาสั่งยกคำร้องไม่รับฎีกาคดีที่โจทก์ฟ้องก็ถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้องปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ให้เลื่อนคดี ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความนำสืบพยาน
โจทก์ต้องโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำและโจทก์จะติดต่อกับทนายหรือพยานก็ต้องอาศัยญาติเป็นผู้แทน วันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายโจทก์ไปธุระจังหวัดอื่นไม่มีกำหนดกลับ หลักฐานดำเนินคดีอยู่ที่ทนายและยังติดต่อกันไม่ได้ด้วย โจทก์จึงขอเลื่อนคดีไป 2 เดือนเพื่อหาทนายใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เลื่อนไป 14 วัน วันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่ 2 ทนายใหม่ติดคดีที่ศาลอื่น จะมาดำเนินคดีให้โจทก์ได้ในวันที่ 1 เดือนต่อไป (อีก 16 วัน) และมีหนังสือของทนายส่งศาลเพื่อเป็นการยืนยันคำแถลงประกอบกับโจทก์ประสงค์จะให้ทนายซักถามพยานให้ดังนี้ เห็นว่าโจทก์ขอเลื่อนคดีไปด้วยความจำเป็นมีเหตุผลสมควรมิได้ประวิงคดี จึงอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานโจทก์ได้
คดีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานสืบ จึงพิพากษายกฟ้องนั้น คำสั่งที่ไม่ให้เลื่อนคดีนี้ ศาลหาได้มีโอกาสฟังคำพยานหลักฐานข้อเท็จจริงแห่งคดีนั้น เช่นนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 10 หาได้กำหนดห้ามไว้ไม่ คู่ความจึงอุทธรณ์ได้
คดีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานสืบ จึงพิพากษายกฟ้องนั้น คำสั่งที่ไม่ให้เลื่อนคดีนี้ ศาลหาได้มีโอกาสฟังคำพยานหลักฐานข้อเท็จจริงแห่งคดีนั้น เช่นนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 10 หาได้กำหนดห้ามไว้ไม่ คู่ความจึงอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องมีการโต้แย้งในศาลชั้นต้น การแถลงก่อนมีคำสั่งไม่ใช่การโต้แย้ง
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณานั้น คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ในศาลชั้นต้น จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
การที่คู่ความยกเหตุผลข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นแถลงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ไม่เรียกว่าได้มีการโต้แย้งคำสั่งศาลตามความหมายในมาตรา 226 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่คู่ความยกเหตุผลข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นแถลงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ไม่เรียกว่าได้มีการโต้แย้งคำสั่งศาลตามความหมายในมาตรา 226 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและผลกระทบต่อสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา รวมถึงการพิจารณาความรับผิดตามสัญญา
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การถือว่า ไม่มีประเด็นที่จำเลยจะสืบ ศาลคงพิจารณาเพียงว่าโจทก์นำสืบสมฟ้องหรือไม่เท่านั้น
คำสั่งศาลที่ว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยต้องโต้แย้งขอให้ศาลจดรายงานไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
คำสั่งศาลที่ว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยต้องโต้แย้งขอให้ศาลจดรายงานไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาล: ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจพิจารณารับหรือไม่รับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถือเป็นที่สุด
เมื่อศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาคำร้องนั้นแล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยทำนองว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องและสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่ พ. จะไม่ชอบก็เป็นเพียงเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อจะรับอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่เท่านั้น และผลที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นที่สุด