พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล vs. ประกันชีวิต: สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายและการเข้ารับช่วงสิทธิ
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตของ ส. เป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่ง การใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายในส่วนนี้ที่โจทก์จ่ายไปจำนวน 100,000 บาท ส่วน ค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บของ ก. และค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของ ส. ที่โจทก์จ่ายไปรายละ50,000 บาท เป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลง คุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ ก. และ ส. ได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ ก. และ ส.แล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิจากก.และส. มาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสามได้ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ คำพิพากษานี้จึงมีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน180,300 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 380,300 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 200,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง5,000 บาท การที่จำเลยที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์429,617.51 บาท เป็นเงิน 10,640 บาท จึงไม่ถูกต้องต้องคืนค่าขึ้นศาล ส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเป็นต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์ลูกจ้างและทางการที่จ้าง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์มีส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัย แต่ตามคำเบิกความของ ส.พยานโจทก์ไม่ได้ความว่าทราบความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ตามที่เบิกความมาในทางใด เป็นเพียงแต่เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นสนับสนุน แม้แต่ร้อยตำรวจโทจ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งผู้สอบสวนและผู้รับแจ้งเหตุคดีนี้ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้เลยดังนั้นข้อนำสืบของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและได้กระทำการในทางที่จ้างของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมี หน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัย ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียวศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายสะพานจากอุบัติเหตุ พิจารณาความเสียหายจริงและการไม่ซ่อมแซมเนื่องจากการปรับปรุงถนน
ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่จะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 วรรคแรก ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และ ความร้ายแรงแห่งละเมิด เมื่อความเสียหายของสะพานลอยคนข้าม ที่ถูกรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับชนเป็นรอยโก่ง ขึ้นเท่านั้น และเอกสารเสนอราคาค่าซ่อมแซมสะพานที่มีราคาสูงถึง 364,800 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่ารถยกตัวสะพานลง และขึ้นและค่าไม้สำหรับทำนั่งร้านรองรับตัวสะพาน ส่วนค่าซ่อมตัวสะพานจุดที่จะต้องตัดต่อและเปลี่ยน เหล็กโครงสร้างใหม่เป็นเงินเพียง 56,560 บาท แต่อย่างไรก็ตามโจทก์ก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมสะพานดังกล่าว เนื่องจากโจทก์ได้ปรับปรุงขยายถนนบริเวณดังกล่าวเป็น 10 ช่องจราจรจึงได้รื้อถอนสะพานออกไป การกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ให้โจทก์ 70,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการมอบหมายให้พนักงานขับรถแทน
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารชนรถจักรยานยนต์โจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจะระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งผู้โดยสาร โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 4 พนักงานขับรถ ใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารขับรถยนต์โดยสารไปส่งผู้โดยสารแทนนั้น เป็นการแสดงออกชัดว่าจำเลยที่ 4 ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนตนในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 , 425 , 427 , 797 และ 820 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งมอบหมายงานพิเศษหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัย นายจ้างมีอำนาจออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณีของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษ ผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ลูกจ้างทำความสะอาดรถหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช่การลงโทษทางวินัย นายจ้างมีสิทธิออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือทางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณี ของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ศาลยืนโทษจำคุกไม่รอลงโทษ
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงบนถนนที่ลื่นเพราะผิวจราจรเปียกและมีเศษดินตกอยู่ทั่วไปแล้วแซงรถยนต์คันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนชนรถที่แล่นสวนทางมาเป็นการขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเมื่อเป็นเหตุให้ผู้ขับและผู้ที่โดยสารอยู่ในรถที่แล่นสวนทางมาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับอันตรายสาหัส 4 คน และถึงแก่ความตายในวันเกิดเหตุ 4 คน โดยที่ผู้ได้รับอันตรายสาหัสรายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นกะโหลกศีรษะแตกร้าวมีเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองและตับแตก จึงสมควรที่จะต้องลงโทษจำเลยในสถานหนัก ส่วนการที่จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแต่เพียงบางส่วนและช่วยออกค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายผู้เสียหายและโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 นั้น พอถือเป็นเหตุปรานีให้รับโทษสถานเบาได้ แต่ไม่อาจถือเป็นเหตุรอการลงโทษให้ได้เพราะไม่อาจชดเชยกับความสูญเสียและความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เกิดแก่บรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติพี่น้องของผู้ตายและผู้ได้รับบาดเจ็บได้ ทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
เกิดเหตุรถชนแล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถคู่กรณีหลบหนีไปส่อแสดงพิรุธว่าเป็นฝ่ายกระทำผิดจริง และยังต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แม้ฝ่ายโจทก์จะมิได้นำสืบ น. ซึ่งเป็นพยานคู่กับโจทก์ที่ 1ในคราวเดียวกันก็ดี แต่ศาลย่อมใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยานดังกล่าวแล้วได้กฎหมายมิได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟัง ร้อยตำรวจเอกป.เป็นพนักงานสอบสวนผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุการพบร่องรอยตลอดจนเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุจึงเป็นประจักษ์พยานไม่ใช่เป็นพยานบอกเล่า สำเนาใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาลออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเอกสารดังกล่าวจริง ดังนี้แม้ฝ่ายโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่กรณีเห็นได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรคสอง และมาตรา 444 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ ผู้ทำละเมิดจึงต้องใช้ค่าขาดรายได้อันเป็นค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้อีกส่วนหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 กล่าวคือ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นเงิน 40,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 29,564 บาทค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนเพราะทุพพลภาพเป็นเงิน 60,000 บาท และค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเงิน 120,000 บาท รวมค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 249,564 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กลับพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 209,564 บาท กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากความผิดพลาดหรือผิดหลงในการรวมคำนวณยอดค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ให้ถูกต้องได้ ส.มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานของคนขับรถของจำเลยที่ 1 หากคนขับไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับส.สามารถเสนอเรื่องให้กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงโทษได้นอกจากนี้ด้านข้างของรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุระบุตัวอักษรชื่อย่อของจำเลยที่ 1 อีกทั้งภายหลังเกิดเหตุ ส. พนักงานของจำเลยที่ 1 ยังไปติดต่อขอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะเกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น และมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้แก่จำเลยทั้งสองทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน การประเมินค่าเสียหาย และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปตามถนนแจ้งวัฒนะจากสี่แยกหลักสี่มุ่งหน้าไปห้าแยกปากเกร็ดเมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุออกจาก ช่องทางเดินรถไปบนไหล่ทางด้านซ้ายซึ่งเป็นทางสำหรับคนเดินเท้าและเสียหลักตกไปในคูน้ำข้างถนน โดยทับร่างของผู้ตายทั้งสองขณะเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายดังกล่าวตกไปในคูน้ำข้างถนนด้วยเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายว่าผู้ตายทั้งสองเดินอย่างไร เดินจากไหนไปไหน เดินหันหน้าหรือหันหลังให้รถขณะที่ถูกเฉี่ยวชนก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสองสำนวนจะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนผู้ตายทั้งสองเหตุรถชนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางถนน และถนนด้านซ้ายมีไหล่ทางมีรถยนต์ปิกอัพจอดบนไหล่ทาง ไหล่ทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างซึ่งรถยนต์สามารถจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อถนนที่เกิดเหตุมีไหล่ทางและจุดที่ผู้ตายทั้งสองเดินขณะถูกชนก็ไม่มีรถยนต์จอดและเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองกำลังเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายด้วยกันมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 103 ที่บัญญัติเกี่ยวกับคนเดินเท้าว่า ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน ดังนั้นเหตุที่จำเลยที่ 1ขับรถชนผู้ตายทั้งสองจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายทั้งสองไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย บันทึกข้อความตามหนังสือของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพนักงานสอบสวนแนะนำถึงวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนให้คู่กรณีในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เจรจาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายกันโดยให้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับฐานะการเงินและความสามารถของผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในคดีนั้น ๆ เป็นราย ๆ ไปด้วยนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีไปฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อศาลเท่านั้น บันทึกข้อความดังกล่าวมิใช่หลักปฏิบัติที่ศาลต้องปฏิบัติตาม การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงชอบแล้วไม่จำต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถชำระของฝ่ายที่ทำละเมิดด้วย แม้ชั้นสอบสวนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เจรจากับจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามที่พนักงานสอบสวนช่วยไกล่เกลี่ยและผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ยอมลดค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องลงเหลือ 3,000,000 บาท แต่จำเลยเสนอให้เงินช่วยเหลือเพียง70,000 บาท เมื่อการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตกลงกันไม่ได้ จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจรจากันย่อมสิ้นผลไปด้วย และไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำนวนดังกล่าว ดังนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนซึ่งเห็นว่าควรจะได้ตามกฎหมายแม้ค่าสินไหมทดแทนที่ฟ้องจะมากกว่าจำนวนที่เจรจากัน ก็ไม่เห็นการใช้สิทธิที่ขัดต่อศีลธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความเมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี เหตุที่โจทก์จำต้องใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกอบกับการดำเนินคดีของจำเลยแล้วใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เต็มตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมฟ้องคดีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์หลายครั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายมีรายละเอียดแห่งข้อหาแต่ละข้อตามฟ้องเกิดต่างวันต่างเวลากันทั้งข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุแตกต่างกันการนำสืบพยานหลักฐานต่างๆย่อมไม่สะดวกต่อการพิจารณาของศาลและการที่รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยคันหนึ่งละเมิดชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายก็มิได้หมายความว่ารถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้อีกคันหนึ่งจะต้องรับผิดต่อรถยนต์โดยสารของโจทก์คันอื่นด้วยเป็นการแสดงชัดแจ้งว่าข้อหาแต่ละอย่างตามฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกันแม้จะเป็นมูลหนี้เรียกค่าเสียหายมีลักษณะประเภทเดียวกันก็ตามโจทก์จะนำมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันหาได้ไม่